ระบบประสาทกับกาีรควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ

    
                นิวโรน หรือเซลล์ประสาท  (nerve  cell)  เป็นโครงสร้างที่เล็กที่สุดและเป็นหน่วยการทำงาน
ที่เล็กที่สุดของระบบประสาท  ซึ่งความจริงแล้วระบบประสาทส่วนกลางทั้งหมดก็ประกอบขึ้นด้วย 
นิวโรนหลายพันล้านเซลล์นั่นเอง    ส่วนเส้นประสาทนั้นเป็นเส้นที่ประกอบด้วยนิวโรนหลายพันเซลล
์มารวมกันเข้าด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน  (connective  tissue)  นิวโรนประกอบด้วย  ตัวเซลล์  (cell  body) 
ส่วนที่ยื่นออกจากเซลล์คือ  แอคซอน (axon)  และเดนไดรทส์  (dendrites
)
 
 
 
  ตัวเซลล์  
                      ภายในลำตัวของเซลล์ประสาทจะมีนิวเคลียส์  (nucleus) และสารติดสี  (nissl  body) 
เป็นจำนวนมาก  ซึ่งมีหน้าที่สะสมพลังงานของเซลล์  นอกจากนั้นภายในตัวเซลล์ยังประกอบด้วย
เส้นใยเล็ก ๆ เรียกว่า นิวโรไฟบริล (neurofibril)  ไมโตคอนเดรีย  (mitochondria)  กอลจิบอดี 
(golgi  body)  และไขมัน  เซลล์ประสาทเนื้อตายแล้วจะไม่สามารถผลิตเซลล์ใหม่ขึ้นทดแทนได้
 
  แอคซอน  
                       แอคซอนเป็นส่วนที่ยื่นออกจากเซลล์  ไปยังกล้ามเนื้อ มีหน้าที่ส่งกระแสประสาทออกจาก
เซลล์ภายในแอคซอน บรรจุด้วยนิวโรไฟบรีส  และสารติดสี  ซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อที่มีไขมันปนอยู่ 
เรียกว่า  ชวานน์เซลล์  (Schwann  cell)  เยื่อพวกนี้จะรวมตัวกันเป็นปลอกไมอีลิน (myelin  sheath) 
หุ้มเป็นปุ่ม ๆ ไปตลอดความยาวตรงที่เป็นส่วนคอด  เรียกว่า  โหนดออฟแรนเวียร์  (node  of  Ranvier) 
เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์จะมีแอคซอนเพียงอันเดียวเท่านั้น
 
  เดนไดรทส์  
 

                     ประกอบด้วยสารติดสีและนิวโรไฟบริล  เดนไดรทส์ มีหน้าที่รับกระแสประสาทเข้าสู่เซลล์ 
เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์มีเดนไดรทส์ได้หลายอัน  การแบ่งประเภทของเซลล์ประสาทแบ่งได้เป็น  2 
ลักษณะ  ลักษณะแรกแบ่งตามจำนวนหางที่ยื่นของเซลล์  ซึ่งมี  3  ชนิด คือ เซลล์ประสาทที่มีหางยื่น
มาอันเดียว  (unipolar  neuron)  เซลล์ประสาทที่มีหางยื่น  2  อัน  (bipolar  neuron)  และเซลล์ประสาทที่
มีหางหลายอัน  (multipolar  neuron)  ส่วนลักษณะที่  2  แบ่งตามหน้าที่ ซึ่งแยกเป็น  2  ชนิด คือ
ชนิดแรกรับความรู้สึกส่งไปยังสมองหรือไขสันหลัง  (afferent  neuron)  ชนิดที่สอง  รับคำสั่งจากสมอง
หรือไขสันหลังกระตุ้นที่อวัยวะนั้น ๆ (efferent  neuron)

 
โครงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร     
ต.ขุนกระทิง อ.เมือง จ.ชุมพร 86190 โทร. 0-7753-4279 โทรสาร. 0-7753-4277