ซอฟต์แวร์ระบบ คือ     ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการระบบโปรแกรมแรกที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
                                           ในตอนแรกที่เปิดเครื่อง คือ ซอฟต์แวร์ระบบ



หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบ คือ
         1 . ใช้ในการจัดการอุปกรณ์รับข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น รับข้อมูลจากคีย์บอร์ดแล้ว
              
แปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ หรือนำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือเครื่องพิมพ์
         2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ
         3. จัดสรรทรัพยากรซึ่งใช้ร่วมกัน เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ เป็นต้น
         4. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
              1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
              2. ตัวแปลภาษา (Compiler or Interpreter)

          ระบบปฏิบัติการ     เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
                                              รวมทั้งดูแลระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น

                       ดอส (DOS) การใช้งานจะใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร มีลักษณะการทำงานเป็นแบบเดี่ยว
                       วินโดวส์ (Windows) มีระบบกราฟิกสำหรับติดต่อกับผู้ใช้ มีลักษณะการทำงาน
                               เป็นแบบหลายงาน มีความสามารถในด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร
                      โอเอสทู (OS/2) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส ใช้กับเครื่อง PS/2 ของ IBM
                              เท่านั้น

                       ยูนิกส์ (Unix) ลักษณะการทำงานเป็นแบบหลายงาน และแบบหลายผู้ใช้ เหมาะสำหรับ
                               ระบบ Network ฯลฯ


              ตัวแปลภาษา    มนุษย์สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยผ่านสื่อกลางที่เรียกว่า
                                             “ภาษาคอมพิวเตอร์” ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่ใช้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์
                                            โดยนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง

ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ

       ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) มีความยุ่งยากในการเขียน รูปแบบภาษาเป็นเลขฐาน 2 เช่น ภาษาเครื่อง 1100 หมายความว่า Save ข้อมูล
       ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้ง่าย ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ภาษาระดับสูง ได้แก่
                 ภาษาปาสคาล : เหมาะกับงานด้านการคำนวณ
                 ภาษาเบสิก : ทำได้ทั้งงานคำนวณ งานธุรกิจ หรืองานออกรายงาน
                 ภาษาซี : เหมาะกับงานคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถควบคุมฮาร์ดแวร์ได้
                ภาษาฟอร์แทรน : เหมาะกับงานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์
                ภาษาโคบอล : ภาษามีคำสั่งคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษ เหมาะกับงานด้านธุรกิจฯลฯ
                ภาษาโลโก : เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโก
                      ได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก


              ตัวอย่างภาษาระดับสูง

  ภาษาวิชวลเบสิก (โปรแกรมตัดเกรด)
 
Option Explicit
Private Sub Command1_Click()
Dim score As Integer
score = Text1
If (score >= 80) Then
Label3 = "A"
ElseIf (score >= 70) Then
Label3 = "B"
ElseIf (score >= 60) Then
Label3 = "C"
ElseIf (score >= 50) Then
Label3 = "D"
Else
Label3 = "F"
End If
End Sub


       เนื่องจากภาษาระดับสูง เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์      จึงจำเป็นต้องมีตัวแปลภาษา ดังนั้น ตัวแปลภาษา มีไว้เพื่อ แปลภาษาระดับสูงไปภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ
ตัวแปลภาษามี 2 ชนิด คือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และ อินเทอร์พรีเตอร์ (Interperter)
คอมไพเลอร์ : แปลคำสั่งทั้งโปรแกรม แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งนั้น
อินเทอร์พรีเตอร์ : แปลคำสั่งทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น ภาษาระดับสูงทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษา สำหรับแปลภาษาระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่อง



         
กลับหน้าหลัก กลับหัวข้อการเรียน กลับหน้าก่อน หน้าถัดไป