การวิเคราะห์หลักสูตรแบบอิงเกณฑ์คล้ายกับการทำตารางวิเคราะห์แบบอิงกลุ่มแต่ไม่จำเป็นต้องให้น้ำหนักคะแนนตามช่องสัมพันธ์กับเนื้อหาและพฤติกรรม เพียงแต่แสดงให้เห็น โดยการทำเครื่องหมายว่าช่องนี้ต้องการปลูกฝังให้เด็กมีพฤติกรรม  และเขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมให้กระจ่าง   เพื่อใช้ในการสอนและการสอบ  ซึ่งควรแยกเนื้อหาเป็นตอน ๆ  ที่คาดว่าจะสอบย่อยครั้งหนึ่ง ๆ แล้วพิจารณาว่าเนื้อหานั้นควรมีการปลูกฝังให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมใดแล้วขีดเครื่องหมายกากบาท  (X)  ดังตัวอย่างในตาราง

 

ตัวอย่าง ตารางวิเคราะห์หลักสูตรแบบอิงเกณฑ์

 

พฤติกรรม
เนื้อหา

ความจำ

การ
นำไปใช้

การ
วิเคราะห์

การ
ประเมินค่า

1. ส่วนประกอบของตา

X

 

 

 

2. หน้าที่ของตา

X

 

 

 

3. ประโยชน์ของตา

X

X

 

 

4. การดูแลรักษาตา

X

 

X

X

 

         ตารางวิเคราะห์หลักสูตรแบบนี้เป็นเครื่องช่วยให้ผู้สอนและผู้สอบเข้าใจตรงกัน ตามความต้องการของหลักสูตร  จำนวนข้อสอบขึ้นอยู่กับผู้สอนเป็นประการสำคัญ  ควรมีข้อสอบไม่เกิน 25 ข้อ  (20 – 25 ข้อ) และใช้เวลาสอบประมาณ 20 – 25 นาที
         จากการวิเคราะห์หลักสูตรแบบอิงเกณฑ์นี้ อาจนำมาเขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมแต่ละข้อ ดังตัวอย่าง
         1. พฤติกรรมที่จะวัด                  :  ความจำเกี่ยวกับส่วนประกอบของตา
            จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม     :  เมื่อนักเรียนเรียนส่วนประกอบของตาแล้ว
              1.  นักเรียนสามารถบอกส่วนประกอบของตาได้
              2.  นักเรียนสามารถชี้ ส่วนประกอบของตาได้
         2.  พฤติกรรมที่จะวัด                 :  ความจำเกี่ยวกับหน้าที่และประโยชน์ของตา
              จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม   :  เมื่อนักเรียนเรียนหน้าที่และประโยชน์ของตา
              1.  นักเรียนสามารถบอกหน้าที่และประโยชน์ของตาได้
               2.  นักเรียนสามารถบอกหน้าที่และประโยชน์ของส่วนประกอบของตาแต่ละส่วนได้
         3.   พฤติกรรมที่จะวัด                   :  ความจำเกี่ยวกับการดูแลรักษาตา
               จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม    :  เมื่อนักเรียนเรียนการดูแลรักษาตา
               1.  นักเรียนสามารถบอกขั้นตอนในการดูแลรักษาตาได้
               2.  นักเรียนสามารถเปรียบเทียบผลเสียของการใช้ตาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
        การเขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม หรือพฤติกรรมหลักที่ต้องการให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมนั้น การเขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม ต้องเขียนให้ผู้สอนและผู้สอบสามารถปฏิบัติและสังเกตได้จริง