|
|
การสังเกต เป็นเครื่องมือวัดผลชนิดหนึ่งที่ผู้ทำหน้าที่ในการวัดใช้ประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือ
ในการเรียนการสอนสิ่งที่ครูจะสังเกตผู้เรียนคือ ผลงาน และพฤติกรรมของผู้เรียน เช่น สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในขณะที่เรียนว่ามีความสนใจในบทเรียนเพียงไร มีความขยันหมั่นเพียรหรือไม่ ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น
ประเภทของการสังเกต
การสังเกต มีการแบ่งประเภทออกเป็นหลายอย่าง โดยยึดเกณฑ์หรือลักษณะที่ใช้แบ่งดังนี้
1. แบ่งตามการเข้าร่วมในการสังเกต สามารถ แบ่งการสังเกตออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปอยู่ร่วมใน กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ได้รายละเอียดหรือข้อมูลที่แน่นอน ถูกต้องชัดเจน
1.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ แต่คอยเฝ้าดูอยู่ห่าง ๆ สามารถที่จะจดบันทึกรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการสังเกตได้
2. แบ่งตามการวางโครงสร้างการสังเกต แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
2.1 การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้างล่วงหน้า (Unstructured Observation) เป็นการสังเกตที่ไม่มีการกำหนดเรื่องราว หรือพฤติกรรมใดไว้ล่วงหน้า เป็นการสังเกตอิสระไม่มีการควบคุมเครื่องมือเครื่องใช้
2.2 การสังเกตแบบมีโครงสร้างล่วงหน้า (Structured Observation) เป็นการกำหนดเรื่องราว หรือขอบเขตของพฤติกรรมใดไว้ล่วงหน้า ผู้สังเกตจะกำหนดสถานการณ์ในการสังเกตให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทุกคนที่ถูกสังเกตจะถูกจัดให้อยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกัน
องค์ประกอบของการสังเกต
การสังเกตจะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเหล่านี้คือ
2.1 ความตั้งใจ (Attention) การสังเกตจะได้ผลดีถ้าผู้สังเกตมีความตั้งใจจริงและสนใจเฉพาะเรื่องที่กำลังสังเกต รวมทั้งพยายามตัดอคติหรือความลำเอียงต่าง ๆ ออกไป
2.2 ประสาทสัมผัส (Sensation) ได้แก่ประสิทธิภาพและความเฉียบคมของประสาทสัมผัส การสังเกตควรสังเกตในขณะที่สภาพประสาทสัมผัสของผู้สังเกตดีพอ
2.3 การรับรู้ (Perception) การรับรู้ของผู้สังเกตขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถของผู้สังเกต ผู้ที่มีประสบการณ์และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สังเกตย่อมจะรับรู้และสามารถทำความเข้าใจกับเรื่องที่สังเกตได้ดี
หลักการสังเกต
การสังเกตเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่เชื่อถือได้นั้น ต้องมีกระบวนการในการดำเนินการ โดยยึดหลักดังนี้
1. มีจุดมุ่งหมาย ผู้สังเกตต้องทราบว่าจะสังเกตพฤติกรรมในเรื่องใด พร้อมทั้งต้องแจกแจงการแสดงออกของพฤติกรรมนั้นให้ละเอียดครอบคลุมทุกแง่มุม
2. การรับรู้รวดเร็ว ผู้สังเกตสามารถมองเห็นพฤติกรรม หรืออาการที่เด็กแสดงออกมาได้อย่างรวดเร็ว
3. สังเกตหลายคนหรือหลายครั้ง จะทำให้ผลการสังเกตที่ได้เชื่อถือได้สูง
4. สังเกตให้ตรงความจริง คือพยายามสังเกตให้ได้พฤติกรรมการแสดงออกที่เป็น ธรรมชาติแท้จริงให้มากที่สุด
5. มีการบันทึกผล เพื่อจะทำให้ข้อมูลไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน วิธีบันทึกผลการสังเกตอาจมีสัญลักษณ์แทนข้อความยาว ๆ
การใช้การสังเกต
สิ่งที่จะต้องพึงระวังในการสังเกต มีดังนี้
1. ผู้สังเกตจะต้องมีความพร้อมก่อนที่จะลงมือสังเกต
2. ผู้สังเกตต้องมีความแม่นยำและรู้รายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออกครบถ้วน
3. พยายามเจาะจงไปที่พฤติกรรมที่ต้องการจะสังเกตด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว
4. ต้องกระทำโดยแนบเนียน เพื่อให้เกิดลักษณะที่เป็นธรรมชาติหรือเป็นประจำตามปกติ
5. ต้องเลือกวิธีจดบันทึกผลการสังเกตที่เหมาะสม
6. ควรวางแผนเพื่อเลือกแบบและกำหนดวิธีการที่เหมาะสม
7. ช่วงเวลาที่ใช้การสังเกตจะยาวนานเพียงใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับพฤติกรรมที่สังเกต และสภาวะเชิงเหตุการณ์
8. การสังเกตที่ดี สามารถหาวิธีตรวจสอบความเชื่อมั่นของผลการสังเกตนั้นได้ด้วย
9. ควรระวังในเรื่องอารมณ์ แรงจูงใจ อคติ สภาพทางสังคม สภาพทางร่างกาย
เครื่องมือที่จะใช้ประกอบการสังเกต
ในการสังเกตผู้สังเกตจะต้องใช้เครื่องมือประกอบการสังเกต ดังนี้
1. แบบสำรวจรายการ (Checklist) เป็นรายการที่กำหนดไว้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ต้องการให้กระทำ หรือวิธีการที่มีจุดประสงค์ว่าจะให้ทำตามนั้น การใช้แบบสำรวจเป็นการกำหนดเป็นน้ำหนักคะแนนว่า ได้ หรือ ไม่ได้ ถ้าผ่านหรือได้แสดงว่าผู้ปฏิบัติได้กระทำตามรายการนั้นถูกต้อง แต่ถ้า ไม่ได้ ก็แสดงว่าทำไม่ถูกต้องดังตัวอย่าง
|
จุดประสงค์ : เลือกซื้ออาหารกลางวันรับประทานสำหรับตนเองได้
คำชี้แจง จงทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่เหมาะสมทางด้านขวามือ
|
รายการ |
ใช่ |
ไม่ใช่ |
-
อาหารมีคุณภาพ
-
รดชาดอร่อย
-
อาหารน่ารับประทาน
-
ภาชนะใส่อาหารสะอาด
-
ภาชนะใส่อาหารเหมาะสม
-
ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ
|
………………
………………
………………
………………
………………
……………… |
………………
………………
………………
………………
………………
……………… |
|
2. มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มีลักษณะคล้ายแบบสำรวจรายการ แต่กำหนดระดับคะแนนให้แก่รายการตามความคิดเห็นของผู้สังเกตว่ารายการนั้นๆ ผู้ถูกสังเกตมีค่าตามข้อความหรือรายการนั้นอยู่ในระดับใด มาตราส่วนประมาณค่าใช้ในการตรวจสอบคุณสมบัติของผลผลิต และวิธีการปฏิบัติงานรวมไปถึงการวัดทางบุคลิกภาพ
มาตราส่วนประมาณค่ามีหลายรูปแบบดังนี้
2.1 กำหนดเป็นตัวเลข ตัวอย่างเช่น
คำชี้แจง ให้นักเรียนวาดภาพและระบายสีตามความคิดเห็นของนักเรียนเอง |
เลขที่ |
ชื่อ |
ความคิดริเริ่ม |
ความสมดุล |
การระบายสี |
ความสะอาด |
3 |
2 |
1 |
3 |
2 |
1 |
3 |
2 |
1 |
3 |
2 |
1 |
1
2
3 |
……………………………
……………………………
…………………………… |
…
…
… |
…
…
… |
…
…
… |
…
…
… |
…
…
… |
…
…
… |
…
…
… |
…
…
… |
…
…
… |
…
…
… |
…
…
… |
…
…
… |
|
2.2 เปรียบเทียบแบบมาตราส่วนประมาณค่า ตัวอย่าง เช่น
แบบประเมินการสอน
|
การเตรียมการสอน |
เทคนิคการสอน
|
2.3 การจัดอันดับ ดังตัวอย่างในแบบสอบถามข้างต้น
3. บัตรคะแนน (Score Card) ดังตัวอย่าง เช่น |
รายการ |
คะแนนเต็ม |
คะแนนที่ได้ |
-
การเลือกเมล็ดพันธุ์
-
การเตรียมดิน
-
ความคล่องแคล่วในการปลูก
-
วิธีการปลูก
-
การปฏิบัติหลังการปลูก
|
……………………………
……………………………
……………………………
……………………………
…………………………… |
…………………………
…………………………
…………………………
…………………………
………………………… |
|
4. การบันทึกเรื่องราว(Anecdotal record) ดังตัวอย่าง เช่น
|
เวลา…………….. วันที่…………………………….ชื่อ…………………………………
สถานที่……………………………………………………………………………………
เหตุการณ์และพฤติกรรม…………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะ ………………………………………………………………………….... |
|
|
|