1.   ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา  ใช้วิธีการดังต่อไปนี้
                1.1  พิจารณาความสอดคล้องกันระหว่างข้อคำถามกับเนื้อหาของรายวิชาที่นำมาสร้าง ข้อสอบ  และมีจำนวนข้อเป็นไปตามสัดส่วนของน้ำหนักในแต่ละเนื้อหาของรายวิชานั้นหรือไม่                       
                1.2   อาศัยดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเป็นผู้พิจารณา  
           2.   ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง  แบบทดสอบที่จะมีความเที่ยงตรงตามโครงสร้างนั้นเป็นแบบทดสอบที่สามารถวัดได้สอดคล้องกับคุณลักษณะตามทฤษฎีของสิ่งนั้น  ๆ  ใช้วิธีการดังนี้
               2.1   อาศัยดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาเป็นผู้พิจารณาตัดสิน
               2.2   เปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีลักษณะต้องการวัดเป็นเกณฑ์โดยการทดสอบทางสถิติ
               2.3  ใช้แบบทดสอบที่วัดคุณลักษณะเดียวกันที่เป็นมาตรฐานแล้วเป็นตัวเกณฑ์โดยหาความสัมพันธ์
          3.   ความเที่ยงตรงตามสภาพ แบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงตามสภาพเป็น แบบทดสอบที่สามารถให้ผลการวัดสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของคุณลักษณะนั้น ในขณะนั้น เช่นคนที่เก่งการคำนวณมากที่สุดในชั้น ก็ควรจะสอบข้อสอบทางสถิติได้เป็นที่  1 ในการหาความเที่ยงตรงตามสภาพความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่วัดนั้นมาหาความสัมพันธ์กัน  ถ้าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงก็แสดงว่าแบบทดสอบที่สร้างขึ้นนั้นมีความเที่ยงตรงตามสภาพ  ซึ่งใช้สูตรในการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product – Moment  Coefficient  correlation )  ดังนี้
          
                    แทน    ค่าความเที่ยงตรงตามสภาพ
                 แทน    ผลรวมของผลคูณระหว่าง X กับ Y
                   แทน    ผลรวมของคะแนน X
                    แทน    ผลรวมของคะแนน Y
                 แทน    ผลรวมของคะแนน  X  แต่ละตัวยกกำลังสอง
                  แทน    ผลรวมของคะแนน  Y  แต่ละตัวยกกำลังสอง
            N            แทน    คะแนนคนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
        หมายเหตุ   การคำนวณสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS และโปรแกรมอื่นได้
            4.   ความเที่ยงตรงตามพยากรณ์  แบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงตามพยากรณ์  เป็นแบบทดสอบที่สามารถให้
ผลการวัดสอดคล้องกับสภาพในอนาคต เช่น  คนที่ทำแบบทดสอบคณิตศาสตร์ได้ขณะนี้ต่อไปในอนาคตก็ควรจะเรียนคณิตศาสตร์ได้เก่งด้วย ในการหาความเที่ยงตรงตามพยากรณ์  หาโดยการนำผลการวัดของแบบทดสอบที่สร้างขึ้น และผล
การวัด ของแบบทดสอบในอนาคตที่เป็นวิชาเดียวกันมาหาความสัมพันธ์กัน ถ้าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงก็แสดงว่าแบบ
ทดสอบที่สร้างขึ้นนั้นมี ความเที่ยงตรงตามพยากรณ์โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเช่นเดียวกับ
ความเที่ยงตรงตามสภาพ