เป็นการวิเคราะห์ที่ใช้ทดสอบนักเรียนแล้วนำผลการสอบไปประเมินผลแบบอิงกลุ่ม ซึ่งเป็นการประเมินโดยนำคะแนนผลการสอบของนักเรียนแต่ละคนไปเปรียบเทียบกับคะแนนของนักเรียนคนอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน การประเมินผลในลักษณะนี้เกิดจากแนวความคิดที่ว่า ในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนย่อมมีความแตกต่าง เป็นรายบุคคล ดังนั้นแบบทดสอบที่ดีควรจำแนกคนเก่งออกจากคนอ่อนได้ การวิเคราะห์ข้อสอบอิงกลุ่มทำได้ 2 ลักษณะ คือการวิเคราะห์ข้อสอบเฉพาะตัวเลือกที่ถูกและการวิเคราะห์ข้อสอบทั้งตัวเลือกที่ถูกและประสิทธิภาพของตัวลวง การหาค่าความยากของข้อสอบ ความยากของข้อสอบหาได้โดยการเอาสัดส่วน หรือจำนวนร้อยละของคนที่ตอบ ข้อสอบข้อนั้นถูกกับจำนวนคนทั้งหมด เขียนในรูปสูตรได้ดังนี้ ตัวอย่าง ข้อสอบข้อหนึ่งมีคนตอบถูก 40 คน จากคนทั้งหมด 50 คน ค่าความยากของข้อสอบมีลักษณะดังนี้ 1. ค่าความยากของข้อสอบ (p) จะมีค่าอยู่ระหว่าง .00 ถึง 1.00 2. ข้อสอบที่มีค่า p มาก ข้อสอบข้อนั้นมีคนตอบถูกมาก แสดงว่าข้อสอบง่าย 3. ข้อสอบที่มีค่า p น้อย ข้อสอบข้อนั้นมีคนตอบถูกน้อย แสดงว่าข้อสอบยาก 4. ข้อสอบที่มีค่า p = .50 เป็นข้อสอบที่มีความยากปานกลาง หรือมีความยากง่ายพอเหมาะ 5. การแปลความหมายค่าความยากของข้อสอบกรณีตัวถูก มีเกณฑ์ดังนี้ ค่า P .81 - 1.00 หมายความว่า ง่ายมาก ควรตัดทิ้ง .61 - .80 หมายความว่า ง่าย พอใช้ได้ .51 - .60 หมายความว่า ค่อนข้างง่าย ดี .50 หมายความว่า ยากง่ายพอเหมาะ ดีมาก .40 - .49 หมายความว่า ค่อนข้างยาก ดี .20 - .39 หมายความว่า ยาก พอใช้ได้ .00 - .19 หมายความว่า ยากมาก ควรตัดทิ้ง 6. ค่าความยากสำหรับผู้สอบแต่ละกลุ่มจะมีค่าไม่เท่ากัน โดยปกติกลุ่มผู้สอบที่เก่งกว่าจะมีค่าความยากสูงกว่ากลุ่มอ่อน แต่หากผู้สอบแต่ละกลุ่มมีความสามารถใกล้เคียงกันแล้วก็จะมีผลให้ค่าความยากของข้อสอบใกล้เคียงกัน 7. ค่าความยากที่เหมาะสมนั้นไม่คงที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายหรือสถานการณ์ในการสอบ แต่ละครั้ง 8. การพิจารณาค่าความยาก กรณีที่เป็นตัวลวง ตัวลวงที่ดีจะต้องมีคนเลือกตอบบ้างและ ไม่มากนัก ตัวลวงใดที่ไม่มีผู้ใดเลือกตอบเลย ถือว่าเป็นตัวลวงที่ผิดจนชัดเจนเกินไปจัดเป็นตัวลวงที่ไม่ดี 9. ในทางปฏิบัติ ในแบบทดสอบฉบับหนึ่งจะประกอบด้วยข้อสอบที่ง่ายจำนวนหนึ่ง ข้อสอบที่ยากจำนวนหนึ่ง และข้อสอบที่มีค่าความยากปานกลางเป็นส่วนใหญ่ การหาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ หมายถึง ความสามารถของข้อสอบแต่ละข้อในการจำแนกคนที่อยู่ในกลุ่มเก่งออกจากคนที่อยู่ในกลุ่มอ่อนได้ นั่นคือข้อสอบข้อใดมีอำนาจจำแนกดี คนเก่งจะตอบถูก คนอ่อนจะตอบผิด สัญลักษณ์ที่ใช้แทนค่าอำนาจจำแนกคือ “ r ” ซึ่งมักจะหาได้จากสูตร ดังนี้ ตัวอย่าง ถ้าแยกผู้สอบออกเป็นกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนกลุ่มละ 40 คน ข้อสอบข้อหนึ่งมีคนตอบถูกในกลุ่มเก่ง 30 คน ในกลุ่มอ่อน 10 คนจะมีค่าอำนาจจำแนก ดังนี้ = .75 - .25 = .50 ค่าอำนาจจำแนกมีค่า เท่ากับ .50 ค่าอำนาจจำแนกจะมีลักษณะดังนี้ 1. ค่าอำนาจจำแนก (r) จะมีค่าตั้งแต่ - 1.00 ถึง +1.00 2. ข้อสอบข้อใดที่จำนวนคนตอบถูกในกลุ่มเก่งมากกว่าจำนวนคนตอบถูกในกลุ่มอ่อน ค่า r จะเป็นบวก 3. ข้อสอบข้อใดจำนวนคนตอบถูกในกลุ่มเก่งน้อยกว่าจำนวนคนตอบถูกในกลุ่มอ่อน ค่า r ติดลบ เป็นข้อสอบที่ใช้ไม่ได้ 4. ข้อสอบข้อใดจำนวนคนตอบถูกในกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนเท่ากัน ค่า r จะเป็น .00 5. การแปลความหมายค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบกรณีตัวถูก มีเกณฑ์ดังนี้ ค่า r .40 ขึ้นไป หมายความว่า จำแนกได้ดีมาก .30-.39 หมายความว่า จำแนกได้ดี .20-.29 หมายความว่า จำแนกได้พอใช้ ต่ำกว่า .20 หมายความว่า จำแนกไม่ดี ไม่ควรใช้ 6. ค่าอำนาจจำแนกสำหรับตัวถูกควรมีค่าตั้งแต่ +.20 ขึ้นไป 7. การพิจารณาค่าอำนาจจำแนกของตัวลวง ตัวลวงที่ดีนั้นจะต้องมีคนอ่อนเลือกตอบมากกว่าคนเก่งเสมอ ตัวลวงตัวใดที่คนเก่งเลือกตอบมากกว่าคนอ่อนแสดงว่าตัวลวงนั้นผิดปกติไม่ควรใช้ ตัวลวงที่ใช้ได้ควรมีค่าอำนาจ จำแนกตั้งแต่ .05 ถึง .50 การแสดงคุณภาพของข้อสอบโดยกราฟ เพื่อให้การแปลความหมายของคุณภาพข้อสอบในแง่ความยากและอำนาจจำแนกง่ายขึ้นและสะดวกในการดูคุณภาพ ของข้อสอบทั้งฉบับว่าเป็นอย่างไรอาจจะใช้วิธีการนำเอาค่าอำนาจจำแนกและค่าความยากของข้อสอบแต่ละข้อมาจุดลงใน กระดาษ กราฟ โดยให้แกนนอนเป็นค่าอำนาจจำแนก ซึ่งมีทั้งค่าบวกและค่าลบ ส่วนแกนตั้งเป็นค่าความยากซึ่งมีค่าบวกเพียงอย่างเดียวตาม ตัวอย่าง ความหมายของช่องต่าง ๆ ในกราฟ ช่อง 1 ข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกไม่ดี และง่ายเกินไป ช่อง 2 ข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกไม่ดี แต่มีค่าความยากพอเหมาะ ช่อง 3 ข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกไม่ดี และยากเกินไป ช่อง 4 ข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกดี แต่ง่ายเกินไป ช่อง 5 ข้อสอบที่มีคุณภาพดีทั้งค่าอำนาจจำแนกและค่าความยาก ช่อง 6 ข้อสอบที่มีอำนาจจำแนกดี แต่ยากเกินไป