ก) แบ่งตามการเคลื่อนไหว |
-
Static contraction ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณนั้นให้เห็น
แต่มีความตึงในกล้ามเนื้อ เช่น พยายามยกของหนักมาก ๆ มีแรงตึงเต็มที่ในกล้ามเนื้อแต่ของไม่ขยับ |
-
Dymamic contraction มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณนั้นและมีความตึงในกล้ามเนื้อ
เช่น ยกของเบา ๆ ลอยขึ้นจากพื้น มีการงอของข้อให้เห็น |
ข) แบ่งตามความตึงในกล้ามเนื้อ |
-
Isometric contraction (iso = the same, metric = muscle length)
ความตึงในกล้ามเนื้อคงที่ (constant muscle tone) และความยาวกล้ามเนื้อคงที่
(constant muscle length) จึงไม่มีการเคลื่อนไหวให้เห็น (จัดเป็น
Static contraction ก็ได้) |
-
Isotonic contraction (iso = the same, tonic = muscle tome)
ความตึงในกล้ามเนื้อคงที่ (constant muscle tone) และความยาวกล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลง
(varied muscle length) จึงมีการเคลื่อนไหวให้เห็น (จัดเป็น
dynamic contraction ก็ได้) คือสั้นลงหรือยาวขึ้น |
-
ถ้ากล้ามเนื้อหดสั้นลง เรียกว่า มี shortening contraction (อาจเรียกว่า
Concentric contraction) เช่น ยกของลอยขึ้นมาได้ มีการงอศอกให้เห็น |
-
ถ้ากล้ามเนื้อยาวออก เรียกว่า มี Lengthening contraction (อาจเรียกว่า
Eccentric contraction) เช่นพยายามวางของที่เรายกลอยขึ้นมาลง
โดยการเหยียดศอกออก ของเริ่มค่อย ๆ ลดต่ำลง ทั้ง ๆ ที่กล้ามเนื้อหดตัวอยู่
การหดตัวแบบ Eccentric contraction ทำให้เกิดการบาดเจ็บฉีกขาดเล็ก
ๆ ของใยกล้ามเนื้อได้ |
-
Isokinetic contraction เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อโดยที่ความเร็วในการหดตัวคงที่
(constant velocity of shortening or lengthening contraction)
ซึ่งมักเป็นการเคลื่อนไหวเชิงมุมต้องอาศัยเครื่องมือที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
(Isokinetic machine) (จัดเป็น dynamic contraction ก็ได้) |