รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม
 
  สถาบันการพลศึกษาได้กำหนดรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรมสำหรับทรัพยากรสารสนเทศประเภท
ต่างๆไว้ดังนี้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ ดังนี้
  1. ลงรายการชื่อผู้แต่งตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
  2. การลงรายการปีที่พิมพ์ ให้ลงตามที่ปรากฏในหน้าปกใน และระบุปีที่พิมพ์ปีล่าสุดไว้ในเครื่องหมาย
วงเล็บ (  ) เช่น (2547).  หากไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ให้ใช้อักษรย่อว่า“ม.ป.ป.” (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)สำหรับเอกสาร
ภาษาอังกฤษ ให้ใช้คำว่า “n.d.” (no date)
  3. การลงรายการชื่อเรื่อง (ชื่อหนังสือ) ให้พิมพ์ด้วยตัวหนาสีดำ ไม่ขีดเส้นใต้ ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศให้
ขึ้นต้นตัวอักษรตัวแรกของทุกคำด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ยกเว้นกลุ่มคำบุพบท (prepositions; in, on, at, to, etc.)
คำสันธาน (conjunctions; and, but, for, etc. ) และคำนำหน้านาม (article; a, and, the ) และคำนำหน้า
ชื่อเรื่องหรือนำหน้าชื่อเรื่องรอง (ถ้ามี) ในกรณีที่มีชื่อเรื่องรอง ให้พิมพ์ตามหลังเครื่องหมายทวิภาค ( : ) เช่น
  Organizing Knowledge:  An Introduction to Information Retrieval.
  The Clinical Research Process in the Pharmaceutical Industry.
  4. การลงรายการข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ ให้พิมพ์ต่อจากชื่อเรื่อง และใส่เครื่องหมายมหัพภาคและให้ลง
ตั้งแต่พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษให้ใช้คำว่า “ed. (edition)”เช่น
  พิมพ์ครั้งที่ 2.   พิมพ์ครั้งที่21.  2nd ed. หรือ  2nd ed.   3rd ed.
  5. การลงรายการสถานที่พิมพ์หรือเมืองที่พิมพ์ สำหรับหนังสือภาษาไทยที่พิมพ์ในกรุงเทพมหานคร
ให้ลงว่า กรุงเทพฯถ้าพิมพ์ในต่างจังหวัด ให้ระบุชื่อจังหวัดนั้นๆ เช่น
  ชุมพร(หนังสือของสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตชุมพร)
  สงขลา (หนังสือของอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
  หลังชื่อสถานที่พิมพ์ให้ใส่ทวิภาค ( : ) ติดกับสถานที่พิมพ์โดยไม่ต้องเว้นระยะ
  ตัวอย่าง กรุงเทพฯ:/   ชุมพร:/   (ถ้าไม่มีชื่อเมืองปรากฏ) ให้ใช้ ม.ป.ท.:/
  6. การลงรายการสำนักพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ มีข้อกำหนดดังนี้
  6.1 ให้เฉพาะชื่อสำนักพิมพ์ คำว่าสำนักพิมพ์ และคำที่บอกเป็น บริษัท ห้างหุ้นส่วน
จำกัด ไม่ต้องใส่ สำหรับภาษาอังกฤษใช้แนวเดียวกัน คือไม่ต้องใส่คำว่า Publishers, Company, Limited ให้ใส่
่เฉพาะชื่อเช่นกัน สำหรับคำว่า Press ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชื่อ หากตัดออกจะทำให้เข้าใจผิดได้ ให้คงไว้  เช่น
   
  ตัวอย่าง
ซีเอ็ดยูเคชั่น.          (ในตัวเล่มใช้ว่า บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด)
พิมพ์ดี. (ในตัวเล่มใช้ว่า ห้างหุ้นส่วน พิมพ์ดี จำกัด)
อมรินทร์. (ในตัวเล่มใช้ว่า สำนักพิมพ์อมรินทร์)
McGraw-Hill. (ในตัวเล่มใช้ว่า McGraw-Hill Book Company)
Marcel Dekker. (ในตัวเล่มใช้ว่า Marcel Dekker, Inc.)
New England Pr. (ในตัวเล่มใช้ว่า New England Press)
New England Pub. (ในตัวเล่มใช้ว่า New England Publishing
  Companyถ้าใช้ New England จะทำให้ไม่ทราบว่า
  เป็นของสำนักพิมพ์ใดแน่)
Harper & Row. (ในตัวเล่มใช้ว่า Harper & Row Publishing Inc.)
Saunders. (ในตัวเล่มใช้ว่า Saunders, W. B., Company)
  6.2 กรณีที่สำนักพิมพ์ของหน่วยงานราชการที่ดำเนินการเป็นอิสระ ให้ระบุคำว่า
สำนักพิมพ์ไว้ด้วยเพื่อให้แตกต่างไปจากสิ่งพิมพ์ที่ออกโดยหน่วยราชการนั้น เช่น
   
  ตัวอย่าง
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Oxford University Press.
ิ์
  6.3 หนังสือที่ไม่ใช่สำนักพิมพ์จัดพิมพ์จำหน่าย อาจเป็นหน่วยงานราชการหรือเอกชนเป็นผู้จัดพิมพ์
ให้ใช้ชื่อหน่วยงานนั้นๆ แทนชื่อสำนักพิมพ์ เช่น
 
  ตัวอย่าง
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.
มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช.
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
   
  6.4 หนังสือที่นักวิชาการในสถาบันการศึกษาจัดพิมพ์จำหน่ายเอง ให้ใช้ชื่อหน่วยงานที่
ผู้เขียนนั้นสังกัดและระบุไว้ในตัวเล่มเป็นผู้จัดพิมพ์ เช่น
   
  ตัวอย่าง
  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร. (หนังสือเขียนโดย ผศ. อุไรวรรณ วรกุลรังสรรค์
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร พิมพ์จำหน่ายเอง)
   
   
10.1
  หลักการเขียนบรรณานุกรม
10.2
  การลงรายการชื่อผู้แต่ง
10.3
รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม
10.4
  การเขียนบรรณานุกรมต้องลงรายการ
  ตามรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศ
10.5
  การพิมพ์บรรณานุกรมและรายการ
  เอกสารอ้างอิง
     
     
     
   
   
  กลับหน้าหลักบทที่ 10