การพิมพ์บรรณานุกรม และรายการเอกสารอ้างอิง มีหลักเกณฑ์การพิมพ์ ดังนี้ |
|
|
|
1. เอกสารอ้างอิง จะอยู่ท้ายบทของเนื้อหาแต่ละบท |
|
2. บรรณานุกรม จะอยู่ท้ายเล่มต่อจากเนื้อเรื่อง โดยพิมพ์คำว่า บรรณานุกรม อยู่ช่วงตอนกลาง |
หน้ากระดาษ ถ้าเป็นผลงานทางวิชาการภาษาอังกฤษ พิมพ์คำว่า BIBLIOGRAPHY (ใช้อักษรตัวใหญ่ทั้งหมด) |
|
3. การเรียงรายชื่อหนังสือหรือวัสดุที่พิมพ์ในรายการบรรณานุกรม ใช้หลักการเดียวกันกับการเรียงคำใน |
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือ dictionary ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ดังนี้ |
|
3.1 เรียงตามลำดับรูปพยัญชนะ ตั้งแต่ ก-ฮ หรือ A-Z |
|
3.2 กรณีที่ไม่มีชื่อผู้แต่งให้เรียงตามชื่อเรื่องแทน |
|
3.3 กรณีที่ผู้แต่งคนเดียวกันแต่มีบรรณานุกรมหลายรายการให้เรียงตามเลขปีพิมพ์โดยเรียงเลข |
ปีพิมพ์ค่าน้อยมาก่อน กรณีไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ซึ่งใช้คำว่า ม.ป.ป. ให้เรียงสิ่งพิมพ์ที่ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ไว้หลัง |
รายการสิ่งพิมพ์ที่ปรากฏเลขปีที่พิมพ์ |
|
3.4 กรณีที่ผู้แต่งคนเดียวกันและปีพิมพ์ซ้ำกัน ให้เรียงตามลำดับอักษรของชื่อเรื่องและกำกับตัวอักษร |
ก, ข, ค, ... หรือ a, b, c, ... ท้ายปีพิมพ์นั้น เช่น |
รัตนิน เพชรไพลิน. (2555ก). จิตวิทยาพัฒนาการเด็ก. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. |
-----------. (2555ข). พัฒนาการเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คำนวณศิลป์. |
|
|
|
|
5. รายการบรรณานุกรมให้พิมพ์ชิดขอบซ้าย ถ้าข้อความมีความยาวเกิน 1 บรรทัดให้พิมพ์ต่อบรรทัดใหม่ |
่ โดยย่อหน้าไป 0.6 นิ้ว หรือ 7 ตัวอักษร ให้เริ่มพิมพ์ตัวอักษรที่ 8 ถ้าไม่จบสามารถพิมพ์ต่อในบรรทัดถัดไปโดยให้ |
ตรงกับบรรทัดที่ 2 จนจบรายการ โดยรูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้อ้างอิงแต่ละประเภทการย่อหน้าผู้เรียบเรียงควร |
ใช้วิธีการตั้งแท็บในโปรแกรมพิมพ์จะทำให้การย่อหน้าตรงกันทุกรายการ |
|
6. ให้เรียงรายการบรรณานุกรมภาษาไทยก่อนภาษาต่างประเทศ โดยไม่แยกประเภทสิ่งพิมพ์นั้นๆ ว่าเป็น |
หนังสือ วารสาร และสื่ออื่นๆ |
|
7. การเว้นระยะเครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้ในการเขียนบรรณานุกรม ได้แก่ เครื่องหมาย มหัพภาค |
จุลภาค อัฒภาค ทวิภาค อัญประกาศ นขลิขิต และไม้ยมก ให้ใช้ตามรูปแบบที่กำหนด |
|
|
|