ประเภทของแหล่งสารสนเทศ (ต่อ)
     
    3.2 แหล่งสารสนเทศที่เป็นหน่วยงานเชิงพาณิชย์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีการดำเนิน
งาน รวบรวม ประมวลผล ประเมินค่า และให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ในรูปแบบธุรกิจที่หวังผลกำไรในการให้
บริการสำหรับผู้ใช้บริการที่มีความต้องการสารสนเทศอย่างสะดวก รวดเร็ว ได้สารสนเทศตรงกับความต้องการ
ถูกต้อง และทันสมัย โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อใช้บริการ ขอบข่ายของการให้บริการสนเทศ นอกจาก
บริการการสืบค้นสารสนเทศเฉพาะบุคคล ยังมีบริการเขียนโครงการ รายงาน วิจัย วิเคราะห์ตลาด และงานแปล
ที่จัดส่งให้แก่ผู้ใช้อย่างรวดเร็ว
    3.3 แหล่งสารสนเทศที่เป็นองค์กร เป็นแหล่งสารสนเทศที่ดำเนินงานในภาครัฐและ
ภาคเอกชน รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ ที่มีสารสนเทศเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ตามขอบข่ายความรับผิดชอบ
ของหน่วยงานนั้นๆ ประกอบด้วย
  1) แหล่งสารสนเทศในองค์ภาครัฐ หมายถึง หน่วยงานภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานอื่นๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ที่มีการกำหนดและจัดแบ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ลักษณะสารสนเทศที่มีบริการในแหล่ง
สารสนเทศประเภทนี้คือ สารสนเทศที่เป็นทางการ มีเนื้อที่เกี่ยวข้องกับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบใน
ขอบเขตเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนดเช่น กฎ ระเบียบ นโยบายการบริหาร กิจกรรม หรือโครงการต่างๆ
ของหน่วยงานนั้นๆ
  2) แหล่งสารสนเทศในองค์กรภาคเอกชน หมายถึง หน่วยงานในภาคเอกชนซึ่งจัดตั้ง
ขึ้นเพื่อดำเนินงานที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจ ทั้งที่หวังผลกำไร และไม่หวังผลกำไร เช่น บริษัท สถาบันการเงิน มูลนิธิ
สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ และองค์กรพัฒนาต่างๆ ลักษณะสารสนเทศที่มีการบริการในแหล่งสารสนเทศ
ประเภทนี้ ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลข่าวสาร เพื่อประชาสัมพันธ์หรือส่งเสริมธุรกิจการลงทุน แต่ถ้าเป็นองค์กรของ
มูลนิธิ สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ มักเป็นสารสนเทศเกี่ยวกับผลการดำเนินงานขอบเขตภารกิจที่รับผิดชอบ
และสารสนเทศทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนั้นๆ เช่น บทความวิชาการ รายงานผลการวิจัย หนังสือ ตำรา
  3) แหล่งสารสนเทศในองค์กรระหว่างประเทศ หมายถึง หน่วยงานในภาคเอกชนที่จัด
ตั้งขึ้น โดยความร่วมมือของประเทศต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานโดยไม่หวังผลกำไรทางธุรกิจ แต่
เน้นการส่งเสริม เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างกัน สารสนเทศที่มีบริการอาจเป็นข้อมูลที่เปิดเผย
ได้ หรือเป็นความลับเกี่ยวนโยบาย การวางแผน และการบริหารงาน แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งของสารสนเทศ
ทางวิชาการสามารถสืบค้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษา วิจัย และการปฏิบัติงานให้แก่ผู้สนใจได้
    3.4 แหล่งสารสนเทศรูปแบบอื่นๆ ประกอบด้วย
  1) แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล จัดเป็นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูลแบบปฐมภูมิ ซึ่ง
ได้จากผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้รอบรู้ในสาขาวิชาการต่างๆ ซึ่งรวมถึงปราชญ์ชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น สารสนเทศจาก
บุคคลเหล่านี้เป็นการเติมเต็มความรู้ที่มีการรวบรวมแต่ยังไม่สมบูรณ์ครบถ้วน ซึ่งการได้มาของสารสนเทศจาก
ตัวบุคคลมักได้จากการสัมภาษณ์ สอบถาม และมีการบันทึกในสื่อบันทึก รูปแบบต่างๆ เช่น บทสัมภาษณ์
เทปบันทึกเสียง หรือภาพไว้เป็นร่องรอยใน การศึกษาค้นคว้า อ้างอิง หรือประกอบการทำรายงาน วิจัย ข้อควร
คำนึงในการใช้แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ควรพิจารณาผลงานของบุคคลนั้นๆ ว่าเป็นที่ยอมรับว่ามีความ
เชี่ยวชาญในสาขาวิชาเฉพาะด้าน
  2) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ หมายถึง สถานที่ต่างๆ ที่มีบทบาทในการให้ความรู้
และข้อมูลที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมท้องถิ่น ธรรมชาติวิทยา และ
สิ่งแวดล้อมชุมชน โดยเฉพาะวิถีชีวิต จารีต ประเพณี สถานที่ที่มีแหล่งสารสนเทศอาจเป็นอนุเสาวรีย์ สวนสัตว์
โบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ อุทยานทางธรรมชาติ แหล่งโบราณคดี สวนพฤษศาสตร์ สถานที่เลี้ยง
สัตว์น้ำ ตลาดเก่า หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย
  3) อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีขนาดใหญ่และครอบคลุมความรู้ทุกสาขาวิชา
ในรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
การสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตได้จากเว็บไซต์ที่มีข้อมูลความรู้ทุกสาขาวิชา และสามารถสืบค้นได้ใน
รูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง จุดเด่นของการใช้สารสนเทศทาง
อินเทอร์เน็ต ซึ่งให้บริการบนเวิล์ดไวด์เว็บ (word wide web) คือความทันสมัยของข้อมูลไม่มีข้อจำกัด
เรื่องเวลาในการสืบค้น และความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศ ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นสารสนเทศ
ได้ครอบคลุมทุกวัตถุ ประสงค์ เช่น เพื่อการศึกษา เพื่อค้นคว้า เพื่อการบริหารจัดการ
     
     
2.1
  ความหมายของแหล่งสารสนเทศ
2.2
  ประเภทของแหล่งสารสนเทศ
2.3
  ศูนย์วิทยบริการ สถาบันการพลศึกษา
    วิทยาเขตชุมพร
2.4
  ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศ
     
     
หน้าหลักบทที่ 2