ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
   
  ปัจจุบันการจัดทำสื่อบันทึกมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันตามรูปแบบของผู้จัดทำ โดย
ทั่วไปสามารถจำแนกประเภทของทรัพยากรสารสนเทศได้ออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย วัสดุตีพิมพ์
วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
   
  1. วัสดุตีพิมพ์ (printed materials) หมายถึง วัสดุที่บันทึกข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ
บนกระดาษ และเน้นการนำเสนอสารสนเทศด้วยตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ยังมีบทบาทสำคัญในการ
ศึกษาค้นคว้าและสามารถเข้าถึงได้สะดวกกว่าทรัพยากรสารสนเทศประเภทอื่นๆ ทรัพยากรสารสนเทศ
ประเภทนี้ ได้แก่
    1.1 หนังสือ (books) เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาความรู้สมบูรณ์ในตัวเอง ประกอบด้วย
  1) หนังสือสารคดี (nonfiction books) หมายถึง หนังสือที่มีเนื้อหามุ่งให้ความรู้
ข้อเท็จจริงในเรื่องทั่วๆ ไป หรือข้อสนเทศ เฉพาะสาขาวิชาในศาสตร์ต่างๆ บางครั้งจึงหมายถึง หนังสือ
วิชาการประเภทแบบเรียน ตำรา หรือหนังสืออื่นๆ ที่ใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการเป็นสำคัญ
ลักษณะของหนังสือสารคดีที่มีการจัดทำประกอบด้วย ตำราวิชาการ หนังสืออ่านประกอบ หนังสือความรู้
ทั่วไปและหนังสืออ้างอิง
  2) เอกสารประชุมวิชาการ (proceeding of the conferences) คือ
เอกสารจากการประชุมขององค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ที่จัดทำขี้น เพื่อนำเสนอเนื้อหาสาระ ประกอบการ
อภิปราย การสัมมนาหรือการประชุมวิชาการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ร่วมประชุมให้ความสนใจร่วมกัน จุดเด่น
ของเอกสารการประชุมวิชาการคือการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นวิทยาการใหม่ๆ ทันสมัยกับบริบทในขณะนั้น
มักนำเสนอในรูปแบบของบทความวิชาการ บทความวิจัยหรือเอกสารประกอบการบรรยายทางวิชาการใน
การประชุม ที่สามารถนำไปใช้พัฒนางานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ
  3) หนังสือบันเทิงคดี (fictions) หมายถึง หนังสือที่มีเนื้อหามุ่งให้ความบันเทิง
แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ แต่อาจมีสาระความรู้สอดแทรกในเนื้อหาด้วย ประเภทของหนังสือบันเทิงคดี เช่น
ีนวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือเด็กและเยาวชน
  3. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (rerials or periodicals) เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้น โดยมี
กำหนดออกอย่างสม่ำเสมอตามกำหนดเวลา จากลักษณะของการจัดทำอย่างสม่ำเสมอดังกล่าว ทำให้
สารสนเทศที่นำเสนอมีข้อดีด้านความทันสมัยในช่วงเวลาที่ออกเผยแพร่ สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่มีการจัดทำ
ประกอบด้วย
    3.1) วารสาร (jourals) เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์อย่างต่อเนื่อง กำหนดออก
เป็นวาระต่างๆ เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน ราย 2 เดือน จนถึงราย 6 เดือน เนื้อหาในวารสารมุ่งเน้น
ในการนำเสนอความก้าวหน้าทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย บทความหรือข้อเขียนทางวิชาการ เกร็ดความรู้
บทวิเคราะห์ และบทความวิจัย ดังนั้น วารสารจึงเป็นแหล่งค้นคว้าที่สำคัญทางการศึกษาและการวิจัย ที่ผู้ใช้
สารสนเทศสามารถติดตามความรู้ ทฤษฏีใหม่ รวมทั้งผลการวิจัยได้อย่างรวดเร็ว ทันสมัย สามารถนำไปใช้
อ้างอิงได้ ส่วนวารสารที่ให้ความบันเทิงและสอดแทรกสารคดีนั้น เราเรียกว่า นิตยสาร (magazine)
    3.2) หนังสือพิมพ์ (newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์เพื่อมุ่งนำ
เสนอข่าวสาร เหตุการณ์ใหม่ๆ และประกอบด้วยบทความ บทวิจารณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม การศึกษา ธุรกิจ กีฬา อาชีพและบันเทิง โดยทั่วไปหนังสือพิมพ์จะมีกำหนดออกรายวัน ราย 3 วัน และ
รายสัปดาห์
  4. จุลสาร (pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก ที่มีความหนาไม่เกิน 48 หน้า
จัดทำโดยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำเสนอสารสนเทศเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จบสมบูรณ์ในเล่ม
มักจัดพิมพ์เป็นอภินันทนาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของผู้จัดทำ
ให้รับทราบ โดยทั่วไปสาระ ในจุลสารมมีความหลากหลาย เช่น ข้อเขียนทางวิชาการ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำแนะนำ ประกาศ สุนทรพจน์ หรือพิธีการสำคัญๆ จุดเด่นของจุลสาร คือ การนำเสนอสารสนเทศใหม่ๆ ที่
กำลังเป็นเรื่องที่สนใจในช่วงระยะเวลาหนึ่งและอาจยังไม่มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ ถ้าเนื้อหาที่นำเสนอ
มีความยาวไม่มากอาจจัดทำเป็นแผ่นพับหรือโปสเตอร์
  5. วิทยานิพนธ์ หรือ ปริญญานิพนธ์ (thesis or dissertation) เป็นสิ่งพิมพ์
ที่นิสิต นักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตและปริญญาดุษฎีบัณฑิต เรียบเรียงขึ้นจากการค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็น
ข้อกำหนดในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย จุดเด่นของสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ คือ การนำเสนอผลการศึกษาที่เป็น
ระบบเช่นเดียวกับการวิจัย และมีความหลากหลายในเนื้อหาวิชาเพราะเป็นการศึกษาตามสาขาวิชาต่างๆ
และผ่านการตรวจสอบพิจารณาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  6. รายงานการวิจัย (research reports) เป็นสิ่งพิมพ์ที่รายงานผลการศึกษา
ค้นคว้า หรือทดลองในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการค้นพบแนวคิดทฤษฎี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถ
นำมาใช้พัฒนางานหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ จุดเด่นของรายงานการวิจัย คือ การติดตามความก้าวหน้า
ใหม่ๆ ในวิทยาการต่างๆ
     
     
3.1
  ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
3.2
  ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
     
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 3