ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (ต่อ)
     
  7. สิ่งพิมพ์รัฐบาล (government publications) เป็นสิ่งพิมพ์หรือสื่อบันทึก
รูปแบบต่างๆ ที่หน่วยงานในภาคราชการจัดทำ หรือรับผิดชอบออกค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์ เพื่อเผยแพร่
ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานผู้จัดทำ และใช้สื่อกลางระหว่างรัฐกับประชาชน สาระของสิ่งพิมพ์
รัฐบาลจึงมีความหลากหลาย เช่น ผลการปฏิบัติงาน ความรู้ทางวิชาการ นโยบายการปฏิบัติงาน ระเบียบข้อ
บังคับ กฎหมายต่างๆ ประกาศ เป็นต้น อาจมีการจัดพิมพ์ในรูปแบบของหนังสือ จุลสาร จดหมายข่าว วารสาร
หนังสือพิมพ์ และรวมทั้งวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น แผ่นซีดี หรือนำเสนอเนื้อหาในเว็บไซต์ จุดเด่นของสิ่งพิมพ์
รัฐบาล คือ การนำเสนอสารสนเทศเฉพาะด้านและสามารถนำไปอ้างอิงได้ในระดับหนึ่ง
  8. กฤตภาค (clipping) เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดทำจากการตัดข่าว บทความ หรือข้อเขียน
อื่นๆ จากหนังสือพิมพ์ และวารสารมาติดบนกระดาษพร้อมระบุหัวเรื่องและแหล่งที่มาของข้อมูล จุดประสงค์
ในการจัดทำกฤตภาคเพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบค้นให้กับผู้ใช้สารสนเทศที่ต้องการข้อมูลเฉพาะด้าน
เนื้อหาของกฤตภาคครอบคลุม เหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม บุคคล
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ การศึกษา จิตวิทยา และเรื่องอื่นๆ ปัจจุบันการจัดทำกฤตภาคในแหล่ง
สารสนเทศหลายแห่งใช้การสแกนเนื้อหาของข่าวหรือบทความเก็บในฐานข้อมูลเพื่อให้บริการสืบค้นได้
สะดวกและรวดเร็ว จุดเด่นของกฤตภาคคือการค้นหาสารสนเทศเฉพาะเรื่องที่มีการตีพิมพ์
จากหนังสือพิมพ์และวารสารได้สะดวก และมักเป็นสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ เนื่องจากการจัดทำ
กฤตภาคจะคัดเลือกเรื่องที่เกี่ยว ข้องกับความสนใจของผู้ใช้เป็นสำคัญ
  9. หนังสือตัวเขียน (manuscripts) เป็นวัสดุที่มีลักษณะพิเศษที่ไม่มีการจัดพิมพ์
เผยแพร่โดยทั่วไป เพราะเป็นต้นฉบับของผู้เขียนที่อาจะเป็นลายมือและเป็นฉบับพิมพ์ด้วยพิมพ์ดีดหรือคอม
พิวเตอร์จัดทำเป็นครั้งแรก หนังสือตัวเขียนอาจเป็นจดหมายส่วนตัว บันทึกประจำวัน ต้นฉบับ นวนิยาย หรือ
การบันทึกในเรื่องต่างๆ จุดเด่นของหนังสือตัวเขียน คือ เป็นสารสนเทศแบบปฐมภูมิ ซึ่งมักใช้ในการอ้างอิง
และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ในกรณีที่มีการอ้างอิงหรือจัดพิมพ์ซ้ำหลายๆ ครั้ง รวมทั้งเป็นแหล่ง
ค้นคว้าเชิงประวัติศาสตร์ด้วย
  10. จดหมายเหตุ (archives) เป็นสื่อบันทึกที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
ขององค์กรที่เป็นภาพข่าว เหตุการณ์ต่างๆ หรือหนังสือสั่งการ อาจมีการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือไม่ตีพิมพ์ก็ได้
จุดเด่นของจดหมายเหตุ คือ เป็นสารสนเทศแบบปฐมภูมิ เช่นเดียวกับหนังสือ ตัวเขียนและมักใช้ใน
การค้นคว้า ข้อมูลเชิงประวัติและโบราณคดี
  11. สิทธิบัตร (patents) เป็นเอกสารที่เกิดจากการจดทะเบียนสิ่งประดิษฐ์ หรือ
การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้อมูลในสิทธิบัตร ให้รายละเอียดและ
ภาพวาดแสดงการประดิษฐ์ที่สามารถใช้คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา จุดเด่นของสิทธิบัตรคือการให้
รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเป็นสิ่งช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการประดิษฐ์คิดค้น
นวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งเป็นการต่อยอดในการสร้างนวัตกรรมใหม่
  12. มาตรฐาน (standards) เป็นเอกสารให้รายละเอียดเกี่ยวกับเกณฑ์หรือข้อ
กำหนดขั้นต่ำที่ใช้เป็นเครื่องมือชี้วัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการปฏิบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จุดเด่นของ
ของมาตรฐานคือการสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพความปลอดภัย ผลสัมฤทธิ์หรือคุณค่าของเครื่อง
มือ ผลิตภัณฑ์ และการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ
  13. แผนที่ (maps) เป็นสื่อบันทึกที่ใช้เส้น สี ภาพและสัญลักษณ์ แสดงข้อมูล
ซึ่งเกี่ยว กับสิ่งต่างๆ ที่ปรากฎบนผิวโลก ซึ่งอาจเป็นแผ่นชนิดพับได้ หรือใช้สำหรับแขวน รวมทั้งเป็นรูปเล่ม
เช่นเดียว กับหนังสือ (แผนที่ atlases) จุดเด่นของแผนที่คือการใช้ข้อมูลประกอบการศึกษาในสาขาวิชา
ต่างๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรม เป็นต้น
   
     
3.1
  ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
3.2
  ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
     
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 3