ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (ต่อ)
   
  2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ (noprinted materials) หมายถึง วัสดุที่บันทึกข้อมูลความรู้ในรูปแบบ
ของสื่อโสตทัศน์ ใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ โดยเฉพาะการฟังและการมองเห็นเพื่อศึกษาข้อมูลโดยใช้อุปกรณ์
พิเศษ จึงจะสามารถฟัง หรือมองเห็นได้ ประกอบด้วย
    2.1 โสตวัสดุ (audio materais) เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่บันทึกเสียงลงในวัสดุ
ุเพื่อใช้ศึกษา ประกอบด้วย
  1) แผ่นเสียง (phonodics) เป็นวัสดุทรงกลมทำด้วยครั่ง หรือพลาสติก พื้นผิวจะ
ถูกเซาะเป็นร่องเล็กๆ ติดกันเป็นวงกลม เพื่อใช้บันทึกสารสนเทศในร่องด้วยสัญญาณอนาล็อค (Analog)
การทำงานของแผ่นเสียงต้องใช้คู่กับเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่อ่านสัญญาณด้วยเข็ม (Stylus) โดยใช้ระบบแม่
เหล็ก เมื่อบันทึกสารสนเทศเสร็จแล้วจะลบทิ้งหรือบันทึกใหม่ไม่ได้ สารสนเทศที่บันทึกในแผ่นเสียงส่วนใหญ่
เป็นบทเพลง บทกวีต่าง ๆ ในอดีต
  2) เทปบันทึกเสียงหรือแถบบันทึกเสียง (audio tapes) เป็นวัสดุที่มีเส้นแถบ
บางๆ ทำจากพลาสติกประเภทอาซีเตท (acctatc) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลต่างๆ รูปลักษณ์ของเทปบันทึก
เสียงมี 3 แบบ คือ แบบม้วน (reel tapes) แบบตลับ (cassette tapes) และแบบกล่อง
(cartridge tapes)การฟังสารสนเทศจากเทปบันทึกเสียงต้องใช้กับเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง สารสนเทศ
ที่บันทึกในเทปบันทึกเสียงเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้วยตนเอง โดยเฉพาะการเรียนรู้ที่ต้องใช้ทักษะ
เช่น การฝึกพูดภาษาต่างประเทศ การอ่านทำนองเสนาะ การอ่านบทกวีนอกจากนี้ยังมีสารสนเทศอื่นๆที่มีการ
บันทึกลงเทปบันทึก เสียง และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เช่น การบันทึกบทสัมภาษณ์เพื่อประกอบ
การทำรายงาน การอภิปราย การบรรยายต่างๆ บทเพลง ปาฐกถา สุนทรพจน์ เป็นต้น
  3) แผ่นซีดี (compact discs) เป็นวัสดุที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกกลม ผลิตจากการ
โพลีคาร์บอเนต เคลือบด้วยโลหะอลูมิเนียม และแลคเกอร์ บันทึกข้อมูลด้วยรหัสดิจิตัลและอ่านข้อมูลด้วยแสง
เลเซอร์ ในระยะแรกนิยมใช้แผ่นซีดีในการบันทึกเสียง โดยเฉพาะเพลง เนื่องจากมีคุณภาพของเสียงที่ชัดเจน
แต่ปัจจุบัน แผ่นซีดีนั้นถูกนำมาใช้ในการบันทึกข้อความ ตัวอักษร ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เนื่องจากมีความจุ
ข้อมูลได้มาก ราคาถูก น้ำหนักเบา สะดวกในการพกพา การบันทึกภาพลงเป็นซีดีจะใช้กับเครื่องบันทึกแผ่น
ซีดี ส่วนการบันทึกข้อมูลตัวอักษรนิยมใช้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ การอ่านข้อมูลในแผ่นซีดีส่วนใหญ่ใช้กับ
เครื่องคอมพิวเตอร์
    2.2 ทัศนวัสดุ (visual materials) เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้จาก
การดูหรืออ่าน ซึ่งอาจดูได้ด้วยตาเปล่าและใช้เครื่องฉาย ประกอบด้วย
  1) รูปภาพ (pictures or photographs) เป็นการบันทึกสารสนเทศลงบนวัสดุ
ทึบแสง เพื่อแสดงความรู้ เรื่องราว หรือเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ภาพวาด ภาพเขียน ภาพพิมพ์และภาพถ่าย
ประโยชน์ของรูปภาพเหมาะสำหรับใช้ศึกษาข้อมูลที่ต้องการรายละเอียดต่างๆ ให้เห็นภาพชัดเจน เช่น
ลักษณะการแต่งกายในอดีต ภาพเขียนเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ภาพถ่าย เรื่องราว เหตุการณ์ในอดีต เป็นต้น
  2) แผนภูมิและแผนภาพ (charts and diagrams) เป็นวัสดุสารสนเทศที่นำ
เสนอข้อมูลในลักษณะของภาพลายเส้น ตัวเลข สัญลักษณ์ และตัวอักษรที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ ความ
เกี่ยวโยง ตลอดจนวิวัฒนาการของสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปแผนภูมิจะใช้แสดงความสัมพันธ์ของเรื่อง หรือแนวคิด
ต่างๆ ขณะที่แผนภาพนิยมใช้แสดงโครงสร้างหรือความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ ด้วยการใช้ลายเส้น
และสัญลักษณ์ที่มีคำบรรยายประกอบ
  3) หุ่นจำลอง (models) เป็นวัสดุสามมิติที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวแทนของจริง ซึ่ง
อาจมีขนาดเท่าของจริง ย่อให้มีขนาดเล็กกว่า หรือขยายให้ใหญ่กว่าของจริง เพื่อสะดวกในการศึกษาและ
ช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจน เช่น หุ่นจำลองโครงกระดูก หุ่นจำลองแสดงอวัยวะในร่างกาย ศิลาจารึก เป็นต้น
  4) ของจริงและของตัวอย่าง (reals and specimens) เป็นทรัพยากร
สารสนเทศที่ได้จากสิ่งที่คงสภาพแท้จริงตามธรรมชาติ เช่น เหรียญ แสตมป์ เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ หิน
แมลง เป็นต้น การศึกษาจากของจริงหรือของตัวอย่าง จะช่วยให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนกว่าการดูรูปภาพ
หรืออ่านคำบรรยายที่ต้องใช้จินตนาการ
  5) ตู้อันตรทัศน์ (dioramas) มีลักษณะเป็นตู้หรือกล่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ปิดฝาไว้
ด้านหนึ่ง ภายในตู้มีการตกแต่งด้วยหุ่นจำลอง ของตัวอย่าง และฉากต่างๆ เพื่อเป็นการจำลองเหตุการณ์
สถานที่ หรือเรื่องราวให้ตรงกับสถานการณ์จริง หรือมีความใกล้เคียงกับสภาพที่เป็นจริงเหมาะสำหรับการ
ศึกษาข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์ วิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ
     
     
3.1
  ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
3.2
  ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
     
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 3