ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (ต่อ)
   
    2.3 โสตทัศนวัสดุ (audio-visual materials) เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่สามารถ
ุรับรู้ได้จากการชมควบคู่กับการฟัง จัดเป็นสื่อบันทึกที่ช่วยให้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้ชัดเจน ประกอบด้วย
  1) ภาพยนตร์ (motion pictures ) เป็นวัสดุภาพนิ่งที่ถ่ายทำต่อเนื่องลงบนฟิล์ม
ด้วยความเร็วสูง เมื่อนำมาฉายจะแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งการบันทึกเสียงบรรยาย
ประกอบและไม่มีเสียงบรรยาย ภาพยนตร์เป็นสื่อบันทึกที่ให้ความรู้ในด้านต่างๆ ตามลักษณะข้อมูลที่มีการ
ถ่ายทำ รวมทั้งการสาธิตหรือการสอนทักษะ เพื่อให้ผู้ชมได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติตาม
  2) วีดิทัศน์ และแผ่นวีดิทัศน์ (videotapes and videodiscs) เป็นวัสดุที่ใช้
บันทึกภาพและเสียงลักษณะเดียวกับฟิล์มภาพยนตร์ วีดิทัศน์ทำจากพลาสติกประเภทต่างๆ เช่น เซลลูโลสไตร
อาซีเตต (cellulose triacetate) โพลีเอสเตอร์ หรือ ไพลีไวนิล (polyviny) ฉาบด้วยสารแม่เหล็กเพื่อบันทึก
สัญญาณภาพและเสียง ใช้คู่กับเครื่องเล่นวีดิทัศน์เพื่อเปิดชมภาพและเสียง ผ่านเครื่องรับโทรทัศน์
ลักษณะของวีดิทัศน์มี 3 รูปแบบ คือ แบบม้วนเปิด (open reel) แบบกล่อง (cartridge)
และแบบตลับ (cassette)
  ส่วนแผ่นวิดิทัศน์ เป็นแผ่นพลาสติกกลมมีรูหมุนตรงกลาง ใช้บันทึกภาพเคลื่อนไหว
ภาพนิ่ง สไลด์ เสียง และข้อมูลดิจิทัลบนแผ่นเดียว หรือบันทึกสัญญาณประเภทใดประเภทหนึ่ง จัดเก็บข้อมูล
ได้มากมายหลายประเภท และมีประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูลที่บันทึกไว้ การอ่านข้อมูลจากแผ่นวีดิทัศน์
ใช้คู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมี 2 ระบบ คือ ระบบคาปาซิตีฟ (capacitive type) และระบบเลเซอร์
(laser vision)
    2.4 วัสดุย่อส่วน (microfroms) เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่เกิดจากการถ่ายภาพ
สิ่งพิมพ์ต้นฉบับ เช่น หน้าหนังสือวารสารและเอกสารต่างๆ ลงบนวัสดุโปร่งแสงหรือทึกแสง โดยย่อส่วนให้มี
ขนาดเล็กมากลงฟิล์มถ่ายภาพและต้องใช้เครื่องอ่านวัสดุย่อส่วนที่มีอัตราการย่อและขยายขนาดเดียวกัน
วัสดุย่อส่วนที่ใช้โดยทั่วไป ประกอบด้วย
  1) ไมโครฟิล์ม (microfilms) เป็นฟิล์มม้วนยาวประมาณ 10 ฟุต ขนาดของฟิล์ม
ที่ใช้คือ 16 มม. และ 35 มม. สารสนเทศที่ถ่ายบนไมโครฟิล์มส่วนใหญ่เป็นสารสนเทศที่มีความต่อเนื่อง เช่น
วารสารฉบับย้อนหลัง หรือหนังสือพิมพ์และใช้คู่กับเครื่องอ่านไมโครฟิล์ม
  2) ไมโครฟิช (microfiches) เป็นแผ่นฟิล์มโปร่งแสงรูปสี่เหลี่ยมขนาด 3x5 นิ้ว
4x6 นิ้ว หรือ 5x8 นิ้ว แต่ละขนาดจะมีจำนวนแถวและตอนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอัตราส่วนต้นฉบับ มักใช้
บันทึกสารสนเทศที่มีเนื้อหาสั้นๆ และไม่ต่อเนื่อง และใช้คู่กับเครื่องอ่านไมโครฟิช
  เครื่องอ่านบางชนิดสามารถใช้อ่านได้ทั้งไมโครฟิล์มและไมโครฟิช ซึ่งผู้ใช้สามารถ
ถ่ายสำเนาหน้าเอกสารที่ต้องการจากวัสดุย่อส่วนได้โดยใช้เครื่องอ่านและทำสำเนา ปัจจุบันสารสนเทศที่มีการ
บันทึกในไมโครฟิล์มและไมโครฟิชถูกทดแทนด้วยการจัดเก็บในรูปไฟล์ดิจิทัลที่อยู่ในฐานข้อมูล
     
  3. สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (clectronic materials) หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่เกิด
จากการผสมผสานระบบโทรคมนาคมเข้ากับระบบสารสนเทศ โดยอาศัยเทคนิคด้านอิเล็กทรอนิกส์ สร้าง
ข้อมูลในรูปเสียงและภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ลักษณะการผสมผสานทางเทคโนโลยีของ
สารสนเทศรูปแบบนี้ ประกอบด้วยระบบการแพร่กระจายผ่านสายเคเบิลหรือดาวเทียม มีลักษณะการสื่อสารที่
สามารถตอบ โต้ได้ทันที เนื้อหาของสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในรูปดิจิทัล ซึ่งอาจเป็นข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว
เสียง ผสมผสานกัน และต้องอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์มีการทำงานแบบปฏิสัมพันธ์
์กับผู้ใช้ จึงสะดวกในการเข้าถึงหรือพิมพ์เนื้อหาในลักษณะต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาทางสายตาที่เกิดจาก
การเพ่งอ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้
    ประเภทของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรกนิกส์ สารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการ
จัดทำแพร่หลายมีหลายรูปแบบ ดังนี้
    1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (electronic book หรือ e-book) หมายถึง หนังสือที่
บันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลและเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต หรือซีดีรอม การเผยแพร่
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีการจัดทำ 3 ลักษณะ คือ
  1.1 เผยแพร่เป็นครั้งแรกทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยไม่เป็นรูปเล่ม
  1.2 เผยแพร่ความรู้กับรูปแบบหนังสือ
  1.3 เผยแพร่โดยปรับปรุงแก้ไขจากหนังสือที่เผยแพร่เป็นรูปเล่มมาแล้ว
  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มักเป็นตัวอย่างเว็บไซต์ที่ผลิตและเผยแพร่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
 
     
3.1
  ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
3.2
  ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
     
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 3