ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (ต่อ)
   
    2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (electronic journal หรือ e-journals) หมายถึงวารสาร
ที่บันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลเช่นเดียวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ อาจจัดทำเป็นซีดีรอมที่บรรจุเนื้อหาเต็มรูป
(fulltext) เพื่อใช้ในห้องสมุดสำหรับให้บริการ หรือนำเสนอในระบบออนไลน์ผ่านบริการเวิล์ดไวด์เว็บในระบบ
อินเทอร์เน็ต ที่สามารถช่วยให้วารสารมีความทันสมัย รวดเร็วในการจัดทำและสืบค้นได้ง่าย สามารถนำเสนอ
รูปแบบที่หลากหลายทั้งข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิก และสามารถโยงเรื่องไปยังเอกสารอ้างอิงฐาน
ข้อมูลหรืองานวิจัยอื่นๆ ได้ ลักษณะของวารสารอิเล็กทรอนิกส์มีการนำเสนอเช่นเดียวกับวารสารสิ่งพิมพ์ที่มี
กำหนดออกแน่นอนหรือค่อนข้างแน่นอน มีเลข ISSN และระบุวัน เดือน ปี ในแต่ละฉบับ ประกอบด้วย
บทความหลายบทความ มุ่งนำเสนอความรู้ ข้อมูล ข่าวสารใหม่ๆ เช่นเดียวกับวารสารประเภทสิ่งพิมพ์
    ้อดีของวารสารอิเล็กทรอนิกส์
  1. เป็นสารสนเทศที่มีความทันสมัย จากการผลิตและเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว เนื่อง
จากผู้แต่ง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และสำนักพิมพ์สามารถทำงานประสานกันในรูปเครือข่าย และรวดเร็ว
โดยใช้แฟ้มข้อมูล (computer file) ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลจากคอมพิวเตอร์
ได้ทันที
  2. ความสามารถในการเพิ่มเติมข้อมูล จากลักษณะของการจัดทำในรูปแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ ผู้แต่งและผู้ผลิตวารสารสามารถปรับปรุง แก้ไข หรือเพิ่มเติมข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและวารสาร
บางรายการสามารถให้ผู้อ่านร่วมแสดงความคิดเห็นหรือคำวิจารณ์ร่วมด้วยได้
  3. ความสะดวกในการสืบค้น เนื่องจากวารสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่
ผสามผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ทำให้สามารถสืบค้นวารสาร อ่าน คัดลอก บันทึก
ส่งผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือพิมพ์ผลข้อมูลได้ทันที โดยมีผู้ใช้พร้อมกันหลายๆ คน และไม่จำกัดเรื่อง
เวลาและสถานที่
  4. ความหลากหลายในการนำเสนอ วารสารอิเล็กทรอนิกส์สามารถนำเสนอสารสนเทศ
ในหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ตาราง ภาพประกอบ กราฟิก ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ และ
สื่อผสมรูปแบบอื่นๆ จึงมีส่วนช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสาระได้ชัดเจนรวดเร็วมากกว่าการอ่านจากข้อความตัวอักษร
รูปแบบเดียว
  5. ความสามารถในการเชื่อมโยง (link) เป็นลักษณะเฉพาะของวารสารอิเล็กทรอนิกส์
ที่สามารถเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ภายในบทความเดียวกัน และหาบทความอื่นภายในวารสารเดียวกัน หรือวารสาร
ฉบับอื่นๆ ได้ เนื่องจากบทความส่วนใหญ่จัดเก็บในรูปแบบ HTML ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้หลายลักษณะ เช่น
  5.1 การเชื่อมโยงจากการอ้างอิงในเนื้อหาไปยังรายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
  5.2 การเชื่อมโยงจากการอ้างอิงของบทความไปยังเอกสารฉบับสมบูรณ์ในฐานข้อมูล
  5.3 การเชื่อมโยงตารางและภาพประกอบของบทความ
  5.4 การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์วารสาร
  5.5 การติดต่อผู้เขียนหรือบรรณาธิการโดยผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
  5.6 การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (mailing list)
การอภิปรายกลุ่ม (discussion group) หรือ กระดานข่าว (webboard)
  รวมทั้งการเชื่อมโยงถึงคำสำคัญ (keyword) หัวเรื่อง (subject heading) หรือสาขา
วิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุม
  6. ความสะดวกในการจัดเก็บและสืบค้น วารสารอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดเก็บข้อมูล
สร้างแฟ้มส่วนตัว มีระบบการแจ้งเตือน สามารถฝากคำค้น เพื่อให้ระบบทำการค้นหาข้อมูลและจัดส่งข้อมูลได้
ตามคำขอใช้บริการ โดยใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อยเพราะเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกรูปแบบต่างๆ
ที่มีความจุมาก ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์แต่ละฐานจะมีคู่มือแนะนำวิธีการใช้ที่ผู้ใช้สามารถเรียนรู้ได้
ด้วยตนเอง
 
     
3.1
  ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
3.2
  ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
     
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 3