ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (ต่อ)
   
    ้อจำกัดของวารสารอิเล็กทรอนิกส์
  1. ด้านเทคโนโลยี จากการที่วารสารอิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์
ด้านคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หากเทคโนโลยีที่ใช้ในการสืบค้นไม่มีประสิทธิภาพย่อมทำให้เกิดปัญหาในการใช้งาน
เช่น ความล่าช้าในการเชื่อมต่อกับเครือข่าย การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขัดข้อง การแสดงผลบนจอ
คอมพิวเตอร์ ไม่ชัดเจน ฐานข้อมูลขัดข้องทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถสืนค้นข้อมูลในเวลาที่ต้องการได้
  2. ด้านทักษะการสืบค้น กรณีที่การสืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์มีขั้นตอนการสืบค้นที่
ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ใช้อาจเกิดปัญหาในการใช้ ขาดความเข้าใจ ไม่มีความชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์ ไม่รู้
เทคนิคในการสืบค้น ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการศึกษาความเข้าใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้าน
ในการเข้าถึงข้อมูล
  3. ด้านค่าใช้จ่าย เนื่องจากการสืบค้นข้อมูลจากวารสารอิเล็กทรอนิกส์ต้องใช้อุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ในการแสดงผล จัดเก็บ และจัดพิมพ์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์จาก
ต่างประเทศ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายสูงทำให้เป็นอุปสรรคประการหนึ่งในการสืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์
เวลาและสถานที่
  4. ด้านลิขสิทธิ์ ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการทำสำเนาหรือสั่งพิมพ์ผลข้อมูลจำนวนมากๆ หรือถ่าย
โอนข้อมูลด้วยโปรแกรมจะถูกแจ้งเตือนการละเมิดลิขสิทธิ์จากบริษัทผู้ผลิตฐานข้อมูล และอาจนำไปสู่การระงับ
การใช้ฐานข้อมูล
  5. ด้านการสืบค้นย้อนหลัง เนื่องจากสารสนเทศที่นำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมี
ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การเปลี่ยนแปลงชื่อเว็บไซต์ การยุบรวมกิจการสำนักพิมพ์ การหยุดรับ
วารสารของสถาบันบริการสารสนเทศ ทำให้ผู้ใช้ประสบปัญหาในการสืบค้นวารสารฉบับย้อนหลัง
การอภิปรายกลุ่ม (discussion group) หรือ กระดานข่าว (webboard)
  รวมทั้งการเชื่อมโยงถึงคำสำคัญ (keyword) หัวเรื่อง (subject heading) หรือสาขา
วิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุม
  6. ความสะดวกในการจัดเก็บและสืบค้น วารสารอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดเก็บข้อมูล
สร้างแฟ้มส่วนตัว มีระบบการแจ้งเตือน สามารถฝากคำค้น เพื่อให้ระบบทำการค้นหาข้อมูลและจัดส่งข้อมูลได้
ตามคำขอใช้บริการ โดยใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อยเพราะเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกรูปแบบต่างๆ
ที่มีความจุมาก ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์แต่ละฐานจะมีคู่มือแนะนำวิธีการใช้ที่ผู้ใช้สามารถเรียนรู้ได้
ด้วยตนเอง
  3. หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic newspapers หรือ e-newspapers)
หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่บันทึกข้อมูลในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ควบคู่กัน แต่มีความแตกต่างในการจัดรูปหน้า
และคอลัมน์ ต่างๆ จุดเด่นของหนังสือพิมพ์อิเล็กทรนิกส์คือการใช้ภาพสีประกอบเนื้อหา และสามารถเชื่อมโยง
เนื้อหาไปยัง เว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
  4. จดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (electronic newsletters) หมายถึง จดหมายข่าวที่จัดทำ
และเผยแพร่โดยบริษัทหรือองค์การต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ ลักษณะการให้บริการจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์
มี 2 รูปแบบคือ
    4.1 การให้บริการผ่านเมลลิ่งลิสท์ โดยใช้วิธีจัดส่งจดหมายข่าวให้แก่ผู้อ่านผ่านไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการสารสนเทศเป็นแบบข้อความ โดยผู้จัดทำจะส่งข้อมูลให้แก่ผู้ใช้บริการเฉพาะที่สมัคร
เป็นสมาชิกทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถจัดส่งสารสนเทศให้สมาชิกได้มาก
    4.2 การให้บริการผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ โดยผู้จัดพิมพ์จะสร้างเว็บไซต์ เพื่อเผยแพร่จดหมายข่าว
ที่มี กำหนดออกตามระยะเวลาที่แน่นอน และให้บริการสืบค้นจดหมายย้อนหลังด้วย
     
3.1
  ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
3.2
  ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
     
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 3