ประเภทของฐานข้อมูล
     
  1. การแบ่งตามลักษณะข้อมูลที่จัดเก็บ ประกอบด้วย
    1.1 ฐานข้อมูลอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (reference or bibliographic database)
.ให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ บทความวารสาร และสื่ออื่นๆ สำหรับใช้ชี้แนะแหล่งอ้างอิง เช่น
ฐานข้อมูลหนังสือ ฐานข้อมูลงานวิจัย ฐานข้อมูลวารสารที่มีรายละเอียดแต่ละรายการ ประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง
ชื่อเรื่อง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที ฉบับที่ สถานที่จัดพิมพ์ จำนวนหน้า เป็นต้น อาจมีสาระสังเขปหรือเรื่อง
ย่อประกอบด้วย
    1.2 ฐานข้อมูลต้นเรื่องหรือเอกสารที่มีเนื้อหาเต็ม (source or full-text documents
databases) ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์เหมือนกับเอกสารต้นฉบับ ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นจะมีเนื้อหา
เหมือนต้นฉบับที่เป็นสิ่งพิมพ์ มักจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลข อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุล สถิติต่างๆ หรืออาจจัด
เก็บข้อมูลสิ่งพิมพ์ทั้งเล่ม ฐานข้อมูลนี้อาจอยู่ในรูปซีดีรอมหรือออนไลน์ที่ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต
    1.3 ฐานข้อมูลตัวเลข (numeric database) ให้ข้อมูลที่เป็นตัวเลข สถิติที่แสดงในรูปของ
ตาราง รวมทั้งแผนภูมิสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ คาดการณ์ต่างๆ การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลประเภทนี้ มัก
ใช้คำสำคัญที่เป็นข้อความหรือรหัสเป็นหลัก เช่น ชื่อของตาราง หัวเรื่อง รหัสประจำตาราง
    1.4 ฐานข้อมูลภาพ (image database) ให้ข้อมูลเป็นรูปภาพ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง และ
ภาพเคลื่อนไหว การสืบค้นฐานข้อมูลประเภทนี้อาจใช้ภาพ หัวเรื่อง รหัสประจำภาพ รวมทั้ง วันที่ที่บันทึกภาพ
    1.5 ฐานข้อมูลมัลติเมีย (multimeadia database) ให้ข้อมูลที่เป็นเนื้อหาฉบับเต็มที่
ประกอบด้วยข้อความ เสียง ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวผสมผสานกัน การค้นหาข้อมูลจาก
ฐานข้อมูลประเภทนี้ใช้คำสั่งที่เป็นข้อความและรหัสในการสืบค้น
     
  2. การแบ่งตามผู้ผลิต ประกอบด้วย
    2.1 ผู้ผลิตที่เป็นสำนักพิมพ์ทางวิชาการ จัดทำฐานข้อมูลทางวิชาการในสาขาวิชาต่างๆ
ทั้งที่เป็นเนื้อหาเต็มรูป หรือบรรณานุกรม
    2.2 ผู้ผลิตที่เป็นสำนักพิมพ์ที่ผลิตเครื่องมือช่วยค้น จัดทำฐานข้อมูลในสาขาวิชาต่างๆ
ที่นำเสนอรายการบรรณานุกรม ดรรชนี เพื่อใช้เป็นแหล่งชี้แนะในการสืบค้นข้อมูล
    2.3 ผู้ผลิตที่เป็นหน่วยงานของรัฐ จัดทำฐานข้อมูลโดยส่วนราชการ องค์กรในสังกัดของรัฐ
เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่จัดทำเพื่อให้สาธารณะสามารถสืบค้นได้
    2.4 ผู้ผลิตที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศ จัดทำฐานข้อมูลโดยหน่วยงานที่เป็นสถาบัน
บริการสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ หอจดหมายเหตุ เป็นต้น ข้อมูลมักเป็นรายการ
บรรณานุกรม ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บและให้บริการ
    2.5 ผู้ผลิตที่เป็นสมาคมวิชาการ/วิชาชีพ จัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสมาคมวิชาการ
หรือสมาคมวิชาชีพ ที่นำเสนอข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพกิจกรรมหรือโครงการบทความทางวิชาการ ทำเนียบนาม
ข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
     
  3. การแบ่งตามประเภทธุรกิจ ประกอบด้วย
    3.1 ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ (Commecial database) เป็นฐานข้อมูลที่จัดทำเพื่อจำหน่าย
โดยคิดมูลค่าและหวังผลกำไร ซึ่งผู้ใช้ต้องจัดซื้อหรือบอกรับเป็นสมาชิก การใช้ฐานข้อมูลประเภทนี้จะมีระบบ
ป้องกันความปลอดภัย เช่น การกำหนดรหัสผ่านของผู้ใช้ที่อาจดำเนินการโดยบริษัทที่จัดทำหรือตัวแทนจำหน่าย
    3.2 ฐานข้อมูลที่ไม่เน้นการค้า (Non - commercial database) เป็นฐานข้อมูลที่จัดทำ
เผยแพร่แก่ผู้ใช้โดยไม่หวังผลกำไร สารสนเทศที่จัดทำเป็นการให้ความรู้ทางวิชาการที่สัมพันธ์กับหน่วยงานที่
จัดทำ ลักษณะของฐานข้อมูลนี้มักเป็นฐานข้อมูลเฉพาะสาขาวิชา และผลิตโดยหน่วยงานราชการ องค์กร
ทางธุรกิจ
  4. การแบ่งตามวิธีสืบค้น ประกอบด้วย
    4.1 ฐานข้อมูลระบบออฟไลน์หรือซีดี-รอม (Offline or CD-ROM database) เป็นฐาน
ข้อมูลที่สืบค้นจากสื่อบันทึกข้อมูลที่จัดเก็บในซีดี-รอม (Compact Disc Readly Only Memory : CD-ROM)
.ให้สารสนเทศได้หลายลักษณะเช่นตัวอักษร ภาพและเสียงในลักษณะมัลติมีเดีย การเรียกใช้ข้อมูลจากซีดี-รอม
ต้องใช้เครื่องอ่านแบบแสงเลเซอร์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันการจัดเก็บสารสนเทศนิยมบันทึกลงใน
ซีดี-รอม เนื่องจากราคาถูก บรรจุเนื้อหาได้ปริมาณมาก และสะดวกต่อการจัดเก็บ ฐานข้อมูลประเภทนี้มีทั้งเป็น
บรรณานุกรมและเนื้อหาเต็มรูป
    4.2 ฐานข้อมูลระบบออนไลน์ (Online database) เป็นฐานข้อมูลที่ต้องใช้วิธีการสืบค้น
สารสนเทศระยะทางไกล โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสามารถ
สืบค้นได้ทั้งในและต่างประเทศ การสืบค้นจากฐานข้อมูลประเภทนี้ บางฐานข้อมูลผู้ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่าย
และบางฐานข้อมูลมีบริการแบบให้เปล่า สารสนเทศจากการสืบค้นฐานข้อมูลระบบออนไลน์ มีความทันสมัยกว่า
การสืบค้นจากซีดี-รอม
     
     
5.1
  ความหมายของฐานข้อมูล
5.2
ความสำคัญของฐานข้อมูล
5.3
ประเภทของฐานข้อมูล
5.4
ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้ฐานข้อมูล
     
     
   
     
  หน้าหลักบทที่ 5