เครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศ
   
  จากการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศอย่างเป็นระบบของสถาบันบริการสารสนเทศประเภทต่างๆ
ทำให้ต้องมีการจัดทำเครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ
ที่มีบริการในสถาบันบริการสารสนเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยทั่วไปเครื่องมือช่วยค้นทรัพยากร
สารสนเทศที่มีจัดบริการเพื่อการสืบค้น ประกอบด้วย
  1. โอแพค (Online Public Access Catalog:OPAC) ระบบโอแพคเป็นการสืบค้นรายการ
ทรัพยากรสารสนเทศของสถาบันบริการสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบออนไลน์โดยใช้โปรแกรมค้นหา
เว็บ (web browser) จากฐานข้อมูล ที่มีการกำหนดเขตข้อมูลสำหรับการค้นหาจากเขตข้อมูล (field
searching) ที่สามารถค้นคืนได้จากจุดเข้าถึงประเภทต่างๆ เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง หรือคำสำคัญ
ผู้ใช้จะต้องระบุเขตข้อมูล (field) ที่จะใช้ในการค้นแล้วพิมพ์คำหรือข้อความที่ต้องการค้นจึงกด enter หรือ
search รายการที่ได้จากการค้นคืน ในระบบโอแพคมักเป็นข้อมูลบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่
จัดเก็บในสถาบันบริการสารสนเทศนั้นๆ ในปัจจุบันสถาบันบริการสารสนเทศในประเทศไทย มีการพัฒนา
ฐานข้อมูลเพื่อการค้นคืนระบบโอแพคที่ใช้โปรแกรมจัดทำฐานข้อมูลได้ 3 รูปแบบ ประกอบด้วย
    1. โปรแกรมสำเร็จรูปที่หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ พัฒนาขึ้นเอง เช่น โปรแกรม CDS/ISIS
Fox Pro ฯลฯ
    2. โปรแกรมที่ขึ้นเฉพาะแห่งโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี
    3. โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ หรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่พัฒนาโดยบริษัทต่างๆ เช่น VTLS
INNOPAC DYNIX HORIZON HORIZON E Lib Alice for Windows ฯลฯ
    การใช้โปรแกรมจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการสืบค้นจากโปรแกรมแต่ละ
ประเภท มีลักษณะการสืบค้นที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้จัดการระบบฐานข้อมูลตลอดจนการออกแบบ
ความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละแหล่งสารสนเทศ โดยทั่วไปวิธีการสืบค้นจากโอแพค
เพื่อตรวจสอบรายการหนังสือ และสื่อต่างๆ ของสถาบันบริการสารสนเทศ ประกอบด้วยทางเลือกต่าง ๆ ดังนี้
    1. การค้นคืนโดยใช้ชื่อผู้แต่ง (author)
    2. การค้นคืนโดยใช้ชื่อเรื่อง (title)
    3. การค้นคืนโดยใช้หัวเรื่อง (subject)
    4. การค้นคืนโดยใช้เลขหมู่ (call number)
    5. การค้นคืนโดยใช้คำสำคัญ (keyword)
    6. การค้นคืนโดยใช้วลี (phrase)
    7. การค้นคืนโดยใช้ดรรชนี (index)
    8. การค้นคืนโดยใช้เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)
    ในการค้นคืนสารสนเทศจากระบบโอแพคของสถาบันบริการสารสนเทศแต่ละแห่งจะมีลักษณะ
และความสามารถของระบบการค้นคืนแตกต่างกัน บางระบบอาจใช้วิธีค้นคืนอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในอีกระบบ
หนึ่งอาจไม่สามารถทำได้ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้ในการจัดระบบฐานข้อมูล
     
  การสืบค้นรายการด้ายระบบโอแพคของศูนย์วิทยบริการ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร
     
    การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นรายการบรรณานุกรมหนังสือของศูนย์วิทยบริการเป็นการ
ค้นคืนจากโปรแกรม Alice for Windows
     
  หน้าจอ OPAC พร้อมบริการสืบค้นของศูนย์วิทยบริการ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร
     
 
     
  ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลการสืบค้นด้วยหัวเรื่อง "การศึกษา"
   
 
   
  รายการสืบค้นที่ได้จากการสืบค้นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
   
 
   
    ในการสืบค้นจากระบบโอแพค ผู้ใช้สามารถเลือกจุดเข้าถึงในการค้นคืนได้หลายวิธี เช่น
เลือกชื่อผู้แต่งในกรณีที่ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้แต่ง เลือกชื่อเรื่องในกรณีที่ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ
หนังสือ เลือกหัวเรื่องในกรณีที่ต้องการหาเรื่องเฉพาะเจาะจง เป็นต้น
     
     
6.1
  ความสำคัญของการจัดเก็บ
ทรัพยากรสารสนเทศ
6.2
ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ
6.4
เครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศ
     
     
     
   
  หน้าหลักบทที่ 6