ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ
   
  การจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในสถาบันบริการสารสนเทศหรือแหล่งสารสนเทศนั้น มีเกณฑ์และ
วิธีการในการจัดเก็บที่แตกต่างกัน อันประกอบ ด้วย
     
  1. การจัดเก็บหนังสือ หนังสือเป็นทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีความสำคัญและมีปริมาณมากกว่า
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทอื่นๆ ในแหล่งสารสนเทศ การจัดเก็บหนังสือที่เป็นระบบจะช่วยให้เกิดความ
สะดวกในการจัดเก็บและค้นหาทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ใช้บริการ โดยทั่วไปการจัดเก็บหนังสือจะจำแนกตามเนื้อหา
วิชา และจัดเป็นหมวดหมู่ตามระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ และการจัดหมู่
ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
    1.1 การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification/D.C/D.D.C)
การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ มีชื่อเรียกย่อๆ ว่า ระบบดิวอี้ หรือระบบ D.D.C หรือ ระบบ D.C เป็นระบบการจัด
หมู่หนังสือที่นายเมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) บรรณารักษ์ชาวอเมริกันเป็นผู้คิดค้นระบบการจัดหมู่นี้ ใช้ตัวเลข
อารบิก 0-9 เป็นสัญลักษณ์ แทนเนื้อหาวิชาโดยเริ่มจากการแบ่งเนื้อหากว้างๆ ออกเป็น 10 หมวด แล้วจึงจำแนก
ให้เฉพาะเจาะจงลงไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
000
เบ็ดเตล็ด ความรู้ทั่วไป (generalities)
100
ปรัชญาและจิตวิทยา (philosohy and psychology)
200
ศาสนา (religinon)
300
สังคมศาสตร์ (social sciences)
400
ภาษา (language)
500
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์ (natural sciences and mathematics)
600
เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (technology/Applied sciences)
700
ศิลปะ (the arts)
800
วรรณคดีและวาทศิลป์ (literature and rhetoric)
900
ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ (geography and history)
     
    การจัดแบ่งหมวดหมู่ทั้ง 10 หมวด ดังกล่าวข้างต้น เป็นการแบ่งครั้งที่ 1 และในแต่ละหมวดจะ
แบ่งเนื้อหาเป็น 10 หมวดย่อย ซึ่งเป็นการแบ่งครั้งที่ 2 ตัวอย่าง เช่น
     
300 สังคมศาสตร์ (social sciences)
310
สถิติทั่วไป (general statistics)
320
รัฐศาสตร์ (การเมืองและการปกครอง) (political science)
330
เศรษฐศาสตร์ (economics)
340
กฏหมาย (law)
350
รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ (public administration)
360
ปัญหาสังคม บริการสังคม (social services, association)
370
การศึกษา (education)
380
การพาณิชย์ การสื่อสาร การขนส่ง (commerce,commumication transport)
390
ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยา (customs, etiquette, folklore)
     
6.1
  ความสำคัญของการจัดเก็บ
ทรัพยากรสารสนเทศ
6.2
ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ
6.4
เครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศ
     
     
     
   
  หน้าหลักบทที่ 6