ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ (ต่อ)
   
    ในแต่ละ 10 หมวดย่อย ยังมีการแบ่งเนื้อหาวิชาที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีก ซึ่งเป็้นการแบ่งครั้งที่ 3
ตัวอย่าง เช่น
     
370 การศึกษา (education)
371
การบริหารการจัดการโรงเรียน การบริหารการศึกษา การศึกษาพิเศษ (school management, special education)
372
การประถมศึกษา (elementary education)
373
การมัธยมศึกษา (secondary education)
374
การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษานอกระบบ (adult education)
375
หลักสูตร (curriculums)
376
การศึกษาสำหรับสตรี (education of women)
377
โรงเรียนศาสนา (ethical education)
378
การอุดมศึกษา (higher education)
379
การสนับสนุนการศึกษาของรัฐ กฎระเบียบ การควบคุม นโยบาย การศึกษา การจัดการศึกษาทั่วไป (government requlation,control,support)
     
    นอกจากการใช้เลขอารบิกทั้ง 3 หลัก ดังกล่าวแล้ว ยังมีการนำจุดทศนิยมมาใช้เป็นสัญลักษณ์
ประกอบเลขอารบิก 3 หลัก กับตัวเลขหลังจุดทศนิยม สำหรับเนื้อหาที่มีความเฉพาะเจาะจงลงไปอีก ตัวอย่างเช่น
     
370 การศึกษา (education)
370.1
ปรัชญา ทฤษฎี และหลักการ (philosophy,theories,general aspects)
370.7
การศึกษา วิจัย และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (education,research,related topics)
370.8
ประวัติ และรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลประเภทต่างๆ (history and description with respect to kind of persons)
     
    1.2 การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification/
L.C.) การจัดหมู่หนังสือระบบนี้มีชื่อเรียกย่อๆ ว่าระบบ L.C. ที่ ดร.เฮอร์เบอร์ต พุทนัม (Dr.Herbert Putman)
บรรณารักษ์หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้คิดขึ้น โดยพัฒนาจากระบบการจัดหมู่ระบบทศนิยม
ดิวอี้ ระบบเอ็กแพนชีพของคัดเตอร์ (Cutter's Expansive Classification) และสิ่งที่ได้จากการปฏิบัติงานใน
ห้องสมุดมาผสมผสานเป็นระบบการจัดหมู่ที่ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่ ยกเว้น I O W X Y และเลขอารบิก
1-9999 ผสมกัน นอกจากนี้ยังมีการใช้จุดทศนิยมมาแบ่งเนื้อหาวิชาเฉพาะเจาะจงลงไปอีก การจัดหมวดหมู่ใน
ระบบนี้ใช้หลักสะดวกในทางปฏิบัติเป็นเกณฑ์โดยเริ่มจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
     
    การใช้อักษร โรมันเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชาหมวดใหญ่ (20 หมวดวิชาใช้ 21 ตัวอักษร) คือ
     
A
ความรู้ทั่วไป (general works)
B
ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (philosophy,psychology,religion)
C
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ (auxiliary sciences of history)
D
ประวัติศาสตร์ (เรื่องทั่วไป) และประวัติศาสตร์ยุโรป (history general and history of europe)
E-F
ประวัติศาสตร์ : อเมริกา (history : america)
G
ภูมิศาสตร์ แผนที่ มานุษยวิทยา นันทนาการ (geography,maps, anthropology, recreation)
H
สังคมศาสตร์ (social science)
J
รัฐศาสตร์ (political science)
K
กฎหมาย (law)
L
การศึกษา (education)
M
ดนตรีและหนังสือเกี่ยวกับดนตรี (music and book on music)
N
ศิลปกรรม (fine arts)
P
ภาษาและวรรณคดี (language and literature)
Q
วิทยาศาสตร์ (science)
R
แพทยศาสตร์ (medicine)
S
เกษตรศาสตร์ (agriculture)
T
เทคโนโลยี (technology)
U
ยุทธศาสตร์ (military science)
V
นาวิกศาสตร์ (naval science)
Z
บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ ทรัพยากรสารสนเทศ (bibliography,library science,information resources)
     
6.1
  ความสำคัญของการจัดเก็บ
ทรัพยากรสารสนเทศ
6.2
ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ
6.4
เครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศ
     
     
     
   
  หน้าหลักบทที่ 6