บทที่ 9
การเขียนรายการอ้างอิง
     
  การเขียนรายงานในรายวิชาต่างๆ รวมถึงการเขียนผลงานทางวิชาการประเภทอื่นๆ ต้องอาศัย
สารสนเทศปฐมภูมิ เช่น หนังสือ ตำรา บทความจากวารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมและ
สัมมนาทางวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารอื่นๆ รวมถึงสื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นข้อมูลพื้นฐานใน
การเรียบเรียงเนื้อหา ดังนั้นเมื่อมีการนำผลงานของผู้อื่นมาให้ประกอบเนื้อหาในผลงานและนำมาอ้างอิงในงาน
เขียนของตน จะต้องแจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น ซึ่งสามารถกระทำได้ 2 ประเภทคือ การอ้างอิงและ
บรรณานุกรม ซึ่งต้องจัดทำในรูปแบบที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลนิยม เป็นระบบเดียวกันทั้งเล่ม
  การอ้างอิง มีความสำคัญต่อการเขียนรายงานและผลงานทางวิชาการ เพราะเป็นการแสดงให้ผู้อ่าน
เห็นว่าผลงานนั้นมีศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง และมีความน่าเชื่อถือในเนื้อหามากน้อยเพียงใด
นอกจากนี้ผู้อ่านยังสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงและค้นคว้าเพิ่มเติมได้ รวมทั้งเป็นการแสดงให้เห็นถึง
จรรยาบรรณของการใช้สารสนเทศ และเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ที่เป็นเจ้าของความคิดและข้อมูลที่นำมาประกอบ
การเขียน
  ความแตกต่างระหว่างการเขียนรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม คือ การอ้างอิงเป็นการระบุที่มาของ
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่นำมาใช้ประกอบการเขียนเนื้อหาในรายงานหรือผลงานวิชาการต่างๆ
ส่วนบรรณานุกรมเป็นการให้รายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้อ้างอิงทุกรายการ
  การเขียนการอ้างอิง มีหลายรูปแบบทั้งที่คิดค้นใช้เอง และรูปแบบที่ได้รับการยอมรับและมีการนำ
ไปใช้อย่างแพร่หลาย เช่น ระบบ APA (AmericanPsychological Association) ระบบ MLA
(Modern Language Association) ระบบ Chicago (University of Chicago) เป็นต้นเมื่อเลือกใช้
แบบใดแล้ว ต้องใช้แบบนั้นโดยตลอด และเขียนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
     

การเขียนรายการอ้างอิง มี 2 รูปแบบ คือ

  1. การอ้างอิงแบบแยกจากเนื้อหา สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่  การอ้างอิงที่อยู่ท้ายหน้า เรียกว่า
เชิงอรรถ และการอ้างอิงที่อยู่ท้ายบทของเนื้อหา
  2.  การพิมพ์การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา เป็นการระบุแหล่งอ้างอิงไว้ในวงเล็บแทรกอยู่
ในเนื้อหา เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความ ซึ่งอาจระบุไว้กลางข้อความ ท้ายข้อความหรือก่อนข้อความที่นำมา
มาอ้างอิง
 

การเขียนรายการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหามี 2 รูปแบบคือ

  1.  ระบบ นาม - ปี (Author-date System) เป็นการอ้างอิงที่ระบุชื่อผู้แต่ง สกุลผู้แต่ง
ปีพิมพ์ และเลขหน้าที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ
  2. ระบบหมายเลข (Number System) เป็นการเขียนโดยใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสาร
ส่วนรายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศที่นำมาอ้างอิงจะไปปรากฏอยู่ที่เอกสารอ้างอิงท้ายบท
หรือบรรณานุกรมท้ายเล่ม
     
9.1
  การเขียนรายการอ้างอิง
9.2
การเขียนรายการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
ระบบนาม-ปี
9.3
  หลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง
9.4
  การอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
9.5
  วิธีการพิมพ์อ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
     
     
     
   
   
  กิจกรรมบทที่ 9
  แบบทดสอบบทที่ 9