วิธีการพิมพ์การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
 
  การพิมพ์การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
  1. ถ้าเป็นการยกข้อความของเจ้าของผลงานมาก่อน เมื่อจบข้อความที่นำมาอ้างอิงแล้วจึงใส่
แหล่งอ้างอิงไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง (การอ้างอิงก่อนข้อความ)
(ข้อความที่นำมาอ้างอิง................................................................................................................
................................................................................................................................................
...............................................................................................(ชื่อ/สกุลผู้แต่ง.//ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า)
   
ตัวอย่าง
  ด้วยสถิติของผู้ป่วยสูงอายุดังกล่าว หน่วยงานในภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีภารกิจในการ
บริหารจัดการด้านสุขอนามัยของประชาชนในชาติจึงให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุด้วยวิธีการ
ต่างๆเช่น การให้การรักษา การให้ความรู้ในการดูแลตนเองและการเผยแพร่สารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุในแง่มุม
ต่างๆออกเผยแพร่ รวมทั้งการนำแนวทางของสารสนเทศทางสุขภาพ หรือที่เรียกกันว่า ความฉลาดทางสุขภาพ
(Health literacy : HL) มาใช้เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ประชาชนในชาติมีสุขภาพที่
แข็งแรง บรรเทาความรุนแรงจากอาการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ที่นอกเหนือจากการรักษาด้วยการใช้ยาเพียงวิธีการ
เดียวและเมื่อพิจารณาองค์ประกอบของความฉลาดทางสุขภาพ อันได้แก่ 1) การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการ
สุขภาพ (Access) 2) ความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) 3) ทักษะการสื่อสาร (Communication skill)
4) ทักษะการตัดสินใจ (Decision skill) 5) การจัดการตนเอง(Self-management)และ6) การรู้เท่าทันสื่อ
(Media-literacy) (เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี. 2559: 15-16)
     
  2. ถ้าเป็นการกล่าวถึงเจ้าของผลงานก่อนข้อความที่นำมาอ้างอิง กรณีนี้ให้ใช้ชื่อเจ้าของ
ผลงานไว้นอกวงเล็บ  ส่วนที่เหลือคือ ปีพิมพ์และเลขหน้าอยู่ในวงเล็บ
ชื่อ/สกุลผู้แต่ง/(ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า).............................................................(ข้อความที่นำมาอ้างอิง)
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
 
ตัวอย่าง
  นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ และกฤษณา ตรียมณีรัตน์ (2554: 10 - 14) ได้สรุปความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ
ผู้สูงอายุไทยรวม 9 ประเด็นหลักคือ
  1. โครงสร้างของร่างกาย รูปร่างจะมีการเปลี่ยนแปลงไป
  2. สมองและระบบประสาท  สมองมีน้ำหนักลดลง หลงลืมง่ายขึ้น ความสามารถด้านการพูดลดน้อยลง
  3. ต่อมไร้ท่อ ต่อมใต้สมองเสื่อมลงรวมถึงการหลั่งฮอร์โมนลดลงด้วย
  4. หัวใจและหลอดเลือด การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง อัตราการเต้นหัวใจและกำลัง
สำรองของหัวใจลดลง
  5. ระบบหายใจ ปอดมีความยืดหยุ่นลดลง หลอดลมแข็งตัวและมีพังผืดเพิ่มขึ้น
  6. ช่องปากและระบบบดเคี้ยว ฟันมีการสึกกร่อนจากการบดเคี้ยวหรือจากการแตกร้าวของฟันที่ใช้
งานมานาน
  7. ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยลดลง ลำไส้เล็กเคลื่อนไหวเพื่อการย่อยและดูดซึมอาหาร
ลดลง
  8. ทางเดินปัสสาวะ ไตมีหน่วยกรองลดลง การกรองของเสียและการขับยาทางไต
  9. ระบบภูมิคุ้มกัน ในผู้สูงอายุการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
   
  3. ถ้าเป็นการนำข้อความที่นำมาอ้างอิงและกล่าวถึงเจ้าของผลงานท้ายข้อความที่ยกมา ให้ใส่
แหล่งอ้างอิงไว้หลังข้อความที่นำมาอ้างอิง (การอ้างอิงหลังข้อความ)
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
.............................................................................................(ชื่อ/สกุลผู้แต่ง.//ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า)
 
ตัวอย่าง
  การแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อดังกล่าวซึ่งเป็นโรคสำคัญที่คนไทยอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงป่วยเพิ่มมาก
ขึ้น สืบเนื่องจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการแก้ไขพฤติกรรมดูแลตนเองควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์
จึงเป็นวิธีการที่เยียวยาอาการป่วยจากโรคได้ (ไพจิตร์  วราชิต. 2553: 13)
   
  4. กรณีที่มีการนำเจ้าของผลงานมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการต้องระบุให้ครบทุกรายการ
(การอ้างอิงหลายแหล่งหลังข้อความ)
(ข้อความที่นำมาอ้างอิง.............................................................................................................
............................................................................................................................................
..........................................(ชื่อ/สกุลผู้แต่ง.//ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า; ชื่อ/สกุลผู้แต่ง.//ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า)
   
ตัวอย่าง
  โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCD) คือกลุ่มโรคที่มีปัจจัยที่ทำให้เกิด
โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมหนึ่งปัจจัยหรือมากกว่า เช่น การสูบบุหรี่ การบริโภคอาหารไม่ถูกสัดส่วน และไม่เหมาะสมทาง
โภชนาการ การขาดการออกกำลังกาย และความเครียด ฯลฯ ซึ่งกล่าวได้ว่าการเกิดโรคไม่ติดต่อมีสาเหตุมาจากการ
ใช้ชีวิตไม่เหมาะสมร่วมกับความเสื่อมของร่างกายตามอายุที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันใน
เลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน มะเร็ง โรคเหล่านี้อาจนำไปสู่โรคที่รุนแรงยิ่งขึ้น เช่น โรคหลอดเลือด
หัวใจ โรคไตเรื้อรัง และโรคสมองเสื่อมจากสาเหตุต่างๆ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตแย่ลง มีความพิการหรือแม้แต่
เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ (กุลพิม เจริญดี, 2553: 7; มยุรี หอมสนิท, 2557: 21)
 
  5. ถ้าเป็นการยกข้อความของเจ้าของผลงานมาแทรกในเนื้อหา อาจใส่แหล่งอ้างอิงไว้ก่อนข้อความ
ที่อ้างอิง (การอ้างอิงระหว่างข้อความ)
................................................................................................................................................
(ชื่อ/สกุลผู้แต่ง.//ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า) (ข้อความที่นำมาอ้างอิง.........................................................
................................................................................................................................................
     
ตัวอย่าง
  โรคไม่ติดต่อเรื้อรังกับปัญหาเศรษฐกิจไทย  กระทรวงสาธารณสุข มีการคาดว่าในปี พ.ศ. 2558
จะต้องสูญเสียรายได้ไปกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งสิ้นประมาณ 50,150 ล้านบาท เพราะว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคหรือ
อาการ เหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค (2559: 8)กล่าวถึงผลกระทบ
ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจว่า เป็นภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของ
ประเทศ แต่ถ้าประชากรสามารถป้องกันตัวเองจากโรคดังกล่าวได้ ก็จะช่วยลดการสูญเสียงบประมาณได้ถึงร้อยละ
10-20
 
     
  6. ถ้าเป็นการยกข้อความของเจ้าของผลงานมากกว่า 1 รายการมาแทรกในเนื้อหา ต้องใส่แหล่ง
อ้างอิงไว้ก่อนข้อความที่อ้างอิงให้ครบทุกรายการ (การอ้างอิงหลายแหล่งระหว่างข้อความ)
................................................................................................................................................
(ชื่อ/สกุลผู้แต่ง.//ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า; ชื่อ/สกุลผู้แต่ง.//ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า) (ข้อความที่นำมาอ้างอิง.........
................................................................................................................................................
     
ตัวอย่าง
  จากความเสื่อมของร่างกายทั้ง 9 ประเด็นส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพของ
ตนเองอย่างถูกวิธี สถานการณ์ด้านสุขภาพ การดูแลและบริการสุขภาพผู้สูงอายุในประเทศไทย มูลนิธิสถาบันวิจัย
และพัฒนาผู้สูงอายุไทย (2559:9 ;ลัดดา ดำริการเลิศ. 2560: 24)พบว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
เพื่อค้นหาและเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพในสัดส่วนร้อยละ 56.7 ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 5
กิจกรรมได้แก่ 1) ออกกำลังกาย 2) รับประทานผักสดและผลไม้สด 3) ดื่มนํ้าสะอาดวันละ 8 แก้วหรือมากกว่า 4) ไม่
ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 5) สูบบุหรี่ พบว่ามีเพียงร้อยละ 18.7 เท่านั้น ทั้งนี้การออกกำลังกายสมํ่าเสมอ
เป็นพฤติกรรมที่พบตํ่าที่สุด ได้รับวัคซีนที่จำเป็น ได้แก่วัคซีนไข้หวัดใหญ่ / ไข้หวัดนก ฟรีหรือเสียค่าใช้จ่ายเล็กน้อย
มีเพียงร้อยละ 11.2 ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มีผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้สูงอายุ
     
9.1
  การเขียนรายการอ้างอิง
9.2
  การเขียนรายการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
  ระบบนาม-ปี
9.3
  หลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง
9.4
  การอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
9.5
  วิธีการพิมพ์อ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
     
     
     
   
   
  กลับหน้าหลักบทที่ 9