ด้านโรงงานอุตสาหกรรม
(Industry) ส่วนใหญ่ในด้าน
โรงงานอุตสาหกรรม จะเป็นระบบสารสนเทศ ทางการผลิตช่วย
สนับสนุนหน้าที่การผลิตและการปฏิบัติการ ซึ่งรวมไปถึงกิจกรรมที่
เกี่ยวข้องกับการวางแผนและการควบคุมกระบวนการในการ
ผลิตสินค้าและการบริการ ดังนั้น หน้าที่ของกระบวนการผลิต
และการปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านกระบวนการผลิต
และระบบของธุรกิจทั้งหมด ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการ
ของกระบวนการปฏิบัติการ จึงเกี่ยวข้องกับการวางแผน , การติดตาม,
การควบคุมสินค้าคงคลัง, การจัดซื้อสินค้าและการบริการ
การดำเนินงานในการประมวลผลของบริษัท การขายปลีก
การเงินการบริการ การดำเนินด้านการปฏิบัติการต่างๆ ต้องมีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน อันได้แก่ กระบวนการผลิตที่มีการใช้คอมพิวเตอร์แบบรวมหรือผสมผสาน หมายถึงระบบสารสนเทศด้านการผลิตได้ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนกระบวนการผลิตที่มีการใช้คอมพิวเตอร์แบบรวม (Computer- Integrated Manufacturing : CIM) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ คือ

1. ทำให้ง่ายขึ้น (Simplify) หรือ ปรับรื้อ (Reengineer) กระบวนการผลิต, ออกแบบผลิตภัณฑ์, จัดรวบรวมโรงงานให้เป็นระบบอัตโนมัติ
2. อัตโนมัติ (Automate)  หมายถึง กระบวนการผลิตต่างๆ ตลอดจนระบบงานธุรกิจ มีการนำคอมพิวเตอร์ , เครื่องจักรกล, หุ่นยนต์เข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงาน
3. แบบรวม (Integrate) หรือผสมผสาน คือ กระบวนการผลิตทั้งหมด มีการใช้หลายอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ , เครือข่ายการสื่อสารทางไกล และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ตัวอย่างการประยุกต์ในการปฏิบัติงานเหล่านี้ ได้แก่

การใช้คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์มาช่วยในกระบวนการผลิต (Computer-Aided Manufacturing : CAM)
คือนำเอามาช่วยในกระบวนการผลิต ตลอดจนถึงการบริหารการผลิต อาจเป็นการใช้เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์มาช่วยควบคุมกระบวนการทำงาน

ระบบบริหารการผลิต (Manufacturing Execution Systems : MES) ได้แก่ กระบวนการใช้ระบบ สารสนเทศติดตามการดำเนินงานตามระดับชั้นต่างๆ ในโรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น วัตถุดิบ , อุปกรณ์, บุคคล, คำสั่งประเภทต่างๆ และการอำนวยความสะดวกในการผลิต

กระบวนการควบคุม (Process Control) กระบวนการควบคุม เป็นการใช้ซอฟท์แวร์ คอมพิวเตอร์ที่

การควบคุมโดยใช้เครื่องจักร (Machine Control) การควบคุมโดยใช้เครื่องจักร หมายถึง การใช้ คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักรกลในการทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโรงงานอุตสาหกรรม การควบคุมโดยการใช้เครื่องจักร อาจเกี่ยวข้องกับการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับงานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ที่เรียกกันว่า การควบคุมตรรกะโดยการใช้คำสั่งบังคับการทำงาน (Programmable logic controllers : PLCs)

หุ่นยนต์ (Robotics) หลักการของหุ่นยนต์อยู่บนพื้นฐานของวิศวกรรมศาสตร์และสรีระศาสตร์ เป็น เทคโนโลยีที่สร้างขึ้น โดยการใช้เครื่องจักรกล และคอมพิวเตอร์ที่ชาญฉลาด ซึ่งถูกควบคุมการทำงานโดยความสามารถของมนุษย์ โดยสามารถทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนไหว , มองเห็นได้เหมือนรู้สึกสัมผัส (Visual Perception), ประสาทสัมผัส (Tactility), ความหลักแหลม (Dexterity), เคลื่อนที่ (Locomotion), นำวิถี (Navigation) ตลอดจนสามารถจับวัตถุสิ่งของได้ เป็นต้น การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการทำงาน เช่น การผลิตซิฟคอมพิวเตอร์ (Chip Computer), การเชื่อมต่อตัวถังและพ่นสีรถยนต์ นอกจากนี้ หุ่นยนต์ยังกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นหลักที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการวิจัย และการพัฒนางานในสายต่างๆ อีกมากมาย

คอมพิวเตอร์ช่วยงานวิศวกร (Computer-Aided Engineering : CAE) สำหรับคอมพิวเตอร์ช่วย งานวิศวกรนั้น เป็นการจำลองแบบการทำงาน เช่น ช่วยในการจำลองแบบ , วิเคราะห์, ประเมินผล ตัวแบบของการออกแบบผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ มีการพัฒนาซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ (Computer- Aided Design : CAD) โปรแกรม CAD นี้ เป็นการออกแบบเบื้องต้น โดยใช้ในการวาดภาพ และเป็นการออกแบบในลักษณะของภาพ 3 มิติ ซึ่งสามารถที่จะหมุนให้เห็นด้านข้าง ด้านหน้า ด้านหลัง ในลักษณะต่างๆ ได้


         
กลับหน้าหลัก กลับหัวข้อการเรียน กลับหน้าก่อน หน้าถัดไป