1. ทิศทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีการกีฬาของวิทยาลัยพลศึกษา ( สถาบันการพลศึกษา ในปัจจุบัน)
ความคาดหวังให้การกีฬาพัฒนาและเสริมสร้าง จิต กาย อารมณ์ และสังคมที่ดีและมีสุขแก่ชนทุกวัยรวมทั้งจัดด้านอาคารสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านการดำเนินงาน ด้านอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก มีดังนี้
1. นักศึกษา ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกพื้นที่ได้รับการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาเป็นประจำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาสุขภาพกายและจิต มี คุณธรรม จริยธรรมระเบียบวินัย น้ำใจนักกีฬา สามารถอยู่รวมกันได้อย่างเหมาะสม
2. นักศึกษาได้รับการพัฒนาคามสามารถของตนเองเพื่อความเป็นเลิศทั้งในระดับท้องถิ่นระดับชาติ มีการสนับสนุนทางด้านกองทุนพัฒนาการกีฬา การนำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางกีฬามาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง
3 . การสร้าง พัฒนา ปรับปรุงและดูแลสนามกีฬาและสถานที่ออกกำลังกายให้เพียงพอและเหมาะสม
4. ผลิตบุคลากรผู้มีความรู้ ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์กีฬาและเทคโนโลยีการกีฬาเพื่อนำความรู้มาพัฒนาศักยภาพและคุณภาพทางวิทยาศาสตร์การกีฬา
5. การดำเนินงานการให้บริการเพื่อการเรียนการสอน ด้านการเสริมสร้าง สมรรถภาพทางกาย การเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนหรือดำเนินงานโดยร่วมโครงการให้กับหน่วยงานให้กับหน่วยงานอื่น เช่น อบต. ชุมชน โรงพยาบาลและการสาธารณสุข
6. อุปกรณ์การกีฬา และสิ่งอำนวยความสะดวกให้มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
แนวทางการพัฒนา
1. จัดให้เป็นศูนย์บริการและบริหารจัดการทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา โดย
1.1 ให้มีการพัฒนา หน่วยงานรับผิดชอบและดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีการกีฬา โดยให้วิทยาลัยพลศึกษาเป็นหน่วยงานหลักประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น องค์กรทางท้องถิ่น องค์กรทางการกีฬาและ อบต.ชุมชน
1.2 จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การกีฬาให้เหมาะสม
1.3 จัดบุคลากรทางวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีการกีฬาให้ความรู้ และคำแนะนำแก่ประชาชนรวมทั้งทีมกีฬาจะต้องสร้างนักวิทยาศาสตร์การกีฬาให้อยู่ในทีม เพื่อการวิเคราะห์และแปลงผล
1.4 จัดสถานที่เพื่อให้มีการออกกำลังกาย ให้เพียงพอและเหมาะสม
1.5 จัดสร้างอุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการกีฬาให้กับ อบต.ชุมชน
2. จัดศูนย์วิชาการวิทยาศาสตร์การกีฬา อาทิ เช่น
2.1 จัดการศึกษา ค้นคว้า เผยแพร่เอกสาร จัดทำตำรา มีห้องทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีการกีฬา
2.2 จัดทำหลักสูตรและผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีการกีฬาอย่างต่อเนื่องให้เพียงพอกับความต้องการของสังคม
2.3 สรรหาและพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์กีฬาที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลัก วิชาการ
2.4 การศึกษาและวิจัย ประเภท ชนิด วิธีการใช้และการได้มาซึ่งเครื่องมือและอุปกรณ์กีฬาที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ
2.5 ทำการศึกษา วิจัย และพัฒนาวิจัยการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ในห้องปฏิบัติการและภาคสนามสำหรับนักกีฬา เด็ก เยาวชน และประชาชน
3. จัดศูนย์ฝึกอบรม โดย
3.1 จัดอบรมให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬากับ อบต. ชุมชน
3.2 ให้ความรู้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวทั้งในระบบและนอกระบบ
3.3 จัดให้ประชาชน หน่วยงานต่างๆ อบต. ชุมชนได้รับการอบรมและดูงานที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาของวิทยาลัยพลศึกษาแต่ละแห่ง
4. จัดศูนย์สาระสนเทศ โดย
4.1 จัดทำข้อมูล ประวัติของนักกีฬาดีเด่น
4.2 ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีการกีฬาโดยผ่านสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เช่น ออกรายการวิทยุ
4.3 เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรวิทยาศาสตร์การกีฬา และเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การกีฬา
4.4 ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีการกีฬาทางอินเตอร์เน็ต
5. การพัฒนาอำนาจของรัฐสนับสนุนงานทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีการกีฬา
5.1 ขออำนาจของรัฐเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ทันสมัยโดยไม่คิดภาษีให้แก่ อบต. ชุมชนต่างๆ
5.2 จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการทำงานประสานงานและติดตามผลการปฏิบัติงาน
5.3 ประสานแผนกับสำนักงบประมาณเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬา
5.4 นำเสนอ ประชาสัมพันธ์ความจำเป็น และความต้องการที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นร่วมกันทุกระดับ
5.5 เสนอข้อมูลไปยังกองข้อมูลของรัฐเพื่อกำหนดเป็นแผนงานหลัก |