9. อันตรายอื่นๆ หรือที่เกิดเนื่องจากสภาพแวดล้อม
9.1 อันตรายจากการออกกำลังกายในอากาศร้อน
การออกกำลังกายในอากาศร้อนมีโอกาสเกิดอันตรายได้เพราะจะทำได้ร่างกายระบายความร้อนที่เกิดจากการออกกำลังกายได้น้อย อย่างไรก็ดี ถ้าความชื่นของอากาศภายนอกน้อยร่างกายก็ยังสามารถระบายความร้อนโดยการระเหยของเหงื่อ แต่ถ้าเหงื่อหลั่งออกมาแต่ระเหยไปไม่ได้จะระบายความร้อนได้น้อย ดังนั้นถ้าอากาศร้อนและมีความชื้นมากจะมีโอกาสเกิดอันตรายได้มาก
อันตรายที่เกิดขึ้นมีได้มากเมื่อ ( 1) บุคคลนั้นยังไม่ชินต่ออากาศร้อน( Unacclimatization) (2) ในผู้สูงอายุซึ่งกลไกการปรับตัวไม่ดีเท่าคนอายุน้อยและ (3) อยู่ในภาวะขาดน้ำ (dehydration) อันตรายที่อาจเกิดขึ้นมีตั้งแต่อย่างเบาจนถึงรุนแรงดังนี้
(1) ตะคริว ( heat cramp)
กล้ามเนื้อเกร็งหรือกระตุก มักเป็นที่แขนขาและอาจะเป็นที่หนึ่งท้องด้วยและมักพบในคนที่ไม่ชินอากาศ
(2) หมดแรง (heat exhaustion)
มักมีการเสียน้ำและเสียเกลือร่วมด้วย พบได้แม้ในคนที่ชินต่ออากาศแล้ว มีชีพจรอ่อนและเต้นช้า ความดันเลือดต่ำ มีคลื่นไส้อาเจียนด้วย
(3) ลมแดด ( heat stroke)
ภาวะนี้พบได้น้อย มักเกิดจากการออกกำลังกายหนักและนาน อุณหภูมิกายสูงมากมีอาการหมดสติ และชักได้ เมื่อเกิดภาวะนี้ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
9.2 การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
โดยทั่วไป อันตรายของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุก็มีโอกาสเกิดได้เช่นเดียวกับคนอายุน้อย และมีโอกาสเกิดได้มากกว่า เพราะผู้สูงอายุปรับตัวได้น้อยและช้ากว่า อีกทั้งผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวอยู่ด้วย จึงมีโอกาสเกิดอันตรายได้ง่ายและบ่อยกว่า อันตรายที่พบบ่อยคือ injury osteoarthritis และ sudden death
9.2.1 การบาดเจ็บ ( injury)
อันตรายที่เกิดจากการวิ่งเหยาะจะมีมากกว่าการเดินและอันตรายเกิดจากการล้มเนื่องจากการทรงตัวไม่ดีและกำลังกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง อันตรายที่บริเวณข้อเท้าพบได้บ่อยที่สุด
9.2.2 โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis)
การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกมากจะทำให้โรคข้อเสื่อมเป็นมากขึ้น และข้อเข่าเป็นมากที่สุด ทำให้มีการปวดเข่ามากขึ้น อย่างไรก็ดีถ้าการออกกำลังกายที่พอเหมาะและถูกต้องเป็นวิธีการที่ใช้รักษาโรคนี้ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นแข็งแรงขึ้น ช่วยลดและชะลอความรุนแรงของโรคได้
9.2.3 การเสียชีวิตทันที ( sudden death)
การเสียชีวิตทันที ในขณะออกกำลังกายหรือภายใน 1 ชั่วโมง ภายหลังการหยุดออกกำลังกาย เป็นภาวะที่พบได้น้อย โดยพบว่ามีโอกาสเกิดมากกว่าไม่ได้ออกกำลังกาย
|