ปัญหาและข้อจำกัดของการสุขาภิบาลที่พักอาศัย |
|
จากสภาพของที่พักอาศัยในชีวิตประจำวันอาจพบว่ามีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการ |
สุขาภิบาลในด้านต่าง ๆ คือ |
1. |
น้ำดื่มน้ำใช้ มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ น้ำไม่สะอาดมีสารปนเปื้อนหรือ |
จัดเก็บนอกบริเวณที่พักอาศัย |
2. |
พื้นที่ใช้สอย มีการจัดห้องไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม หรือไม่สะดวกต่อการใช้ |
ประโยชน์ เช่น ห้องพักหรือห้องนอนอาศัยรวมกันหลายคน ห้องน้ำ ห้องส้วม อยู่นอก |
อาคารและใช้ปะปนร่วมกันกับเพื่อนบ้าน ที่อาบน้ำอยู่ภายนอกอาคารและไม่มีระบบ |
ระบายน้ำทิ้ง |
3. |
สภาพแวดล้อม ไม่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ไม่มีไฟฟ้าใช้ ตั้งอยู่ใกล้โรงงาน |
ที่มีเสียงดับรบกวน ไม่มีการระบายน้ำโสโครก ไม่มีระบบกำจัดขยะมูลฝอย |
4. |
การออกแบบและก่อสร้าง ที่ไม่คำนึงถึงสุขลักษณะ เช่น ภายในห้องหรืออาคาร |
ไม่มีหน้าต่าง ช่องระบายอากาศ หรอระบบระบายอากาศที่ดี มีแสงสว่างไม่เพียงพอ |
กับขนาดของห้อง มีทางเข้าออกเพียงทางเดียว |
5. |
การบำรุงรักษา ไม่มีการดูแลซ่อมแซม ที่พักอาศัยมีสภาพทรุดโทรม ตัวอาคาร |
ขาดความแข็งแรง บริเวณโดยรอบมีน้ำขังเฉอะแฉะหรือภายในบ้านสกปรกเลอะเทอะ |
|
ปัญหาที่พบดังกล่าวเกิดจากข้อจำกัดที่มีสาเหตุ ดังนี้ |
1. |
ด้านเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการสุขาภิบาลที่พักอาศัยเพราะไม่มีรายได้ |
เพียงพอที่จะหาที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ ทำให้ต้องอยู่อย่างแออัดปะปนร่วมกับผู้อื่น |
หรือบุกรุกที่สาธารณะ ซึ่งเป็นของรัฐและเอกชนเพื่อสร้างที่พักอาศัยที่มีสภาพ |
ไม่แข็งแรงมั่นคงเนื่องจากอาจถูกรื้อถอนได้ตลอดเวลา |
2. |
ด้านสังคม เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการอพยพย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่ |
เมืองใหญ่ เพื่อหางานทำหรือศึกษาต่อ เป็นผลให้มีความต้องการจำนวนที่พักอาศัย |
เพิ่มขึ้นขณะที่มีพื้นที่จำกัดเท่าเดิม ทำให้ต้องมีการก่อสร้างที่พักอาศัยโดยเน้นปริมาณ |
ต่อหน่วยเพื่อสนองความต้องการดังกล่าว ซึ่งอาจจะไม่สามารถออกแบบให้ถูก |
สุขลักษณะได้เนื่องจากข้อจำกัดดังกล่าว |
3. |
ด้านการศึกษา ในการจัดที่พักอาศัยที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจเกิดจากความไม่รู้ ไม่ |
เข้าใจ หรือไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของตนเองเนื่องจากไม่ตระหนัก |
ถึงผลดีของการจัดสิ่งแวดล้อมของที่พักอาศัย |
4. |
ด้านขนมธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม การจัดที่พักอาศัยบางชุมชนอาจ |
ทำตามความเชื่อหรือความเคยชินของชุมชนซึ่งมีลักษณะที่ขัดแย้งกับการสุขาภิบาล |
ที่พักอาศัย เช่น การใช้ใต้ถุนสูงเพื่อเป็นบริเวณเลี้ยงสัตว์ ย่อมก่อให้เกิดเหตุรำคาญใน |
ด้านต่าง ๆหรือการสร้างบ้านเรือนที่มีห้องเดียวสำหรับการนอน ขาดห้องพักผ่อนและ |
ทำครัวทำให้มีปัญหาเรื่องความสะอาดและการระบายอากาศ เป็นต้น |
5. |
ด้านนโยบายการวางแผน ขาดการวางผังเมืองทั้งชุมชนในเมืองและชนบททำ |
ให้การสร้างที่พักอาศัยปะปนกับย่านการค้า อุตสาหกรรมและก่อให้เกิดปัญหาและ |
เหตุรำคาญต่าง ๆ แก่ที่พักอาศัย |
6. |
ด้านกฎหมาย ซึ่งกำหนดเพื่อใช้เป็นระเบียบปฏิบัติยังไม่มีการนำมาใช้หรือถือ |
ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จริงจัง การควบคุมการสร้างอาคารที่พักอาศัยยังมีการปฏิบัติ |
เฉพาะในเขตเมืองไม่ครอบคลุมถึงพื้นที่ชนบทและประชาชนส่วนหนึ่งหลีกเลี่ยง |
ระเบียบที่กฎหมายกำหนด อันก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินงานสุขาภิบาลที่พักอาศัย |
7. |
ด้านบริการของรัฐ หมายถึงการจัดบริการด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่สามารถ |
ดำเนินการได้ทั่วถึง หรือไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งได้แก่ ประปา ไฟฟ้า ถนน เป็นต้น |
ทั้งนี้อาจเกิดจากข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|