หลักการจัดและปรับปรุงการสุขาภิบาลที่พักอาศัย

  การจัดหรือปรับปรุงที่พักอาศัยให้ถูกสุขลักษณะก่อให้เกิดความสะดวกสบายทาง
ร่างกายของผู้ที่อยู่อาศัย  เนื่องจากเป็นการจัดที่สนองตอบความต้องการพื้นฐานทาง
ร่างกายของมนุษย์  และช่วยป้องกันควบคุมโรคติดต่อ รวมทั้งอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้
การจัดและปรับสรุปที่พักอาศัย ควรคำนึงถึงความต้องการของร่างกายและจิตใจ
ประกอบกัน กล่าวคือ
1.
ความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย เป็นความต้องการอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มี
ความเหมาะสมอันประกอบด้วย อุณหภูมิ และความชื้นที่พอเหมาะ อากาศที่สะอาดและ
มีการถ่ายเทในที่พักอาศัย มีแสงสว่างเพียงพอและเหมาะสมกับสายตา รวมทั้งไม่มี
สิ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญต่าง ๆ เช่น เสียงดัง แมลงต่าง ๆ รวมทั้งกลิ่น
เหม็นรบกวน
2.
ความต้องการพื้นฐานทางด้านจิตใจ เป็นความต้องการอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ให้
ความรู้สึกเป็นเอกเทศหรือเป็นอิสระ  รวมทั้งความรู้สึกว่าที่พักอาศัยนี้สามารถปกป้อง
กันอันตรายจากสัตว์  โจรผู้ร้าย  หรือความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ เช่น
ความหนาว พายุ  กระแสลม หรือฟ้าผ่า เป็นต้น
จากความต้องการดังกล่าวจึงมีการกำหนดแนวทางการจัดและปรับปรุงที่พักอาศัย
ว่าควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
อุณหภูมิและความชื้น (Temperature and Humidity) เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
ต่อผู้อยู่อาศัย เพราะหากอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิหรือความชื้นที่ไม่เหมาะกับร่างกายอาจทำ
ให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว เช่น ถ้าอากาศมีความชื้นมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ จะเกิด
การกลั่นตัวของไอน้ำ ภายในห้องระดับสูงมากและทำให้มีการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์
ได้ง่ายและรวดเร็ว  หากมีความชื้นต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์จะทำให้ร่างกายสูญเสีย
ความชื้นเพื่อปรับความสมดุลกับความชื้นภายในห้องทำให้เกิดเลือดออกทางจมูก
หรือหนาวสั่น นอกจากนี้ระดับอุณหภูมิและความชื้นยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้
อาศัยด้วย กล่าวคือ ในที่ที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงจะทำให้รู้สึกเฉื่อยชา ส่วนผู้ที่
อาศัยในที่อากาศเย็นและแห้ง หรือมีความชื้นต่ำมักมีความรู้สึกกระตือรือร้น ระดับของ
อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมไม่มีเกณฑ์กำหนดแน่นอนขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ
ต่าง ๆเช่น ความไวต่อการรับความรู้สึก สุขภาพอนามัย เพศ กิจกรรมที่กำลังกระทำ
เครื่องแต่งกาย อายุของผู้อยู่อาศัย เชื้อชาติและความเคยชินของแต่ละบุคคล จึงมีการ
ประมาณการเกณฑ์เฉลี่ยของอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย
แตกต่างกัน เช่น
  คนในประเทศแถบเอเชีย มีความรู้สึกสบายตัวเมื่ออยู่ในห้องที่มีอุณหภูมิระหว่าง
24 – 26 องศาเซลเซียส (75 – 78 องศาฟาเรนไฮต์) และมีความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง
30 – 60 เปอร์เซ็นต์  ขณะที่คนในประเทศยุโรปหรืออเมริกา เห็นว่า อุณหภูมิที่
กับร่างกายควรอยู่ระหว่าง 18 –21 องศาเซลเชียส (65 – 70 องศาฟาเรนต์ไฮต์)
และสำหรับคนไทยอุณหภูมิที่เหมาะสมในอาคารที่พักอาศัยควรอยู่ในระหว่าง
23 – 26 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์ระหว่าง
30 – 60 เปอร์เซ็นต์
2.
การระบายอากาศ (Ventilation)เป็นสิ่งที่ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนอบอ้าวและ
ขจัดกลิ่นเหม็นอับรวมทั้งความชื้นต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความรู้สึกสบายกายและ
ใจอีกทั้งยังไม่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ ภายในที่พักอาศัย
การระบายอากาศต้องอาศัยประตู หน้าต่าง และช่องลมที่เหมาะสมกับพื้นที่ภายในห้อง
ซึ่งอาจใช้พัดลม หรือเครื่องปรับอากาศช่วยระบายอากาศด้วย การระบายอากาศที่
ไม่ดีพอจะก่อให้เกิดความรู้สึกอึดอัดเนื่องจากอุณหภูมิในห้องสูงขึ้นเพราะมีการคาย
ความร้อนจากร่างกายทำให้มีเหงื่อมาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความชื้นภายใน
ห้องสูงขึ้นจากเหงื่อที่ออกจากร่างกาย และหากมีกิจกรรมที่ทำให้เกิดกลิ่นเช่นการใช้
สารเคมีภายในบ้าน การประกอบอาหาร จะทำให้เกิดเหตุรำคาญขึ้นได้
  การระบายอากาศที่มีความเหมาะสมย่อมทำให้เกิดความรู้สึกสบายตัว ซึ่งอาจ
ใช้การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ เช่นออกแบบที่พักอาศัยให้มีประตูหน้าต่างและ
ช่องระบายลมไม่น้อยกว่า 10 – 15 เปอร์เซ็นต์  ของพื้นที่ห้องและสามารถเปิดออก
ได้ไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์ของ พื้นที่หน้าต่าง  ส่วนท่อระบายอากาศในห้องน้ำควร
มีอัตราการถ่ายเทอากาศอย่างน้อยที่สุดไม่ต่ำ กว่า 2 ลูกบาศก์ฟุตต่อพื้นที่ห้อง
1 ตารางฟุต
3.
แสงสว่าง (Lighting) เป็นส่วนสำคัญในการมองสิ่งต่าง ๆ ในห้องที่พักอาศัยแสง
สว่างที่อยู่ในระดับเหมาะสมกับสายตาจะเป็นสิ่งช่วยลดอุบัติเหตุจากการเดินชน
กระแทกสะดุดสิ่งต่าง ๆ ในห้อง แสงสว่างของที่พักอาศัยมีทั้งวิธีธรรมชาติ ซึ่งได้ตอน
กลางวันเป็นส่วนใหญ่ และแสงสว่างจากดวงไฟฟ้า การรับแสงสว่างจากธรรมชาติใน
เวลากลางวันต้องจัดห้องให้มีพื้นที่ของประตู  หน้าต่าง  และช่องลมอย่างน้อยร้อยละ 20
ของพื้นที่ห้องทั้งหมด โดยระดับขอบล่างของหน้าต่างสูง กว่าระดับของพื้นห้องประมาณ
ครึ่งหนึ่งของความสูงภายในห้อง และระดับบนของหน้าต่างอยู่ชิดกับขอบของเพดาน
ให้มากที่สุด เพื่อกระจายแสงสว่างให้ได้มาก พื้นที่ของหน้าต่างต้องมีส่วนเปิดมองเห็น
ท้องฟ้าได้อย่างน้อย 1 ใน 3 ของพื้นที่หน้าต่างทั้งหมด สำหรับการจัดแสงสว่างจากดวง
ไฟฟ้า ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำและขนาดของห้อง ดังแนวทาง
ที่ปรากฏในตาราง ต่อไปนี้
  นอกจากนี้สีของพื้นผิวเพดาน ฝาผนัง หรือพื้นอาคาร ยังมีส่วนช่วยสะท้อนแสงสว่าง
ภายในห้องได้เช่นกัน หากเป็นห้องที่ต้องการความสว่างมาก ควรทาสีที่สามารถ
สะท้อนแสงได้ดีซึ่งอยู่ในกลุ่มสีอ่อนเรียงตามลำดับได้
4.
เหตุรำคาญ (Nuisances) เป็นสิ่งที่รบกวนต่อความเป็นสุขของมนุษย์ในภาวะ
ปกติ ทำให้ผู้อาศัยหงุดหงิด รำคาญ และไม่มีสมาธิ อันเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพ
การทำงานลดลง นอนไม่หลับ พักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และเสีย
สุขภาพจิต เหตุรำคาญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ประกอบด้วย
  4.1 เสียงรบกวน หมายถึง เสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญ ซึ่งมีองค์ประกอบ 2
ประการคือ ระบบของเสียง และความดังของเสียง เสียงที่มีความถี่ต่ำ ๆ และสูง ๆ
ทำให้เกิดความเข้มของเสียงสูงอาจทำให้เกิดการเจ็บหู ขณะที่เสียงดังจะทำให้
ปวดศีรษะ หูชั้นในถูกทำลาย เสียงดังที่เกิดจากที่พักอาศัยมักเกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
ต่าง ๆส่วนเสียงที่เกิดในชุมชนอาจเกิดจากรถยนต์ เครื่องจักร รถตักดิน เป็นต้น
เสียงที่มนุษย์ฟังได้สูงสุดคือ 120 เดซิเบล
  4.2 การสั่งสะเทือนรบกวน หมายถึง การสั่นสะเทือนที่เกิดจากเครื่องยนต์
เครื่องจักร  การจราจร  เช่น รถบรรทุกขนาดใหญ่ เครื่องขุดเจาะคอนกรีต ปั้นจั่น
การระเบิดภูเขาหิน เป็นต้น เหตุรำคาญจากการสั่นสะเทือน นอกจากสร้างความรำคาญ
แล้วอาจทำให้ทรัพย์สินเสียหาย หรือที่พักอาศัยทรุดตัวจากแรงสั่นสะเทือน ดังกล่าวได้
  4.3 กลิ่นรบกวน หมายถึง  กลิ่นเหม็นจนทำให้ผู้อาศัยรู้สึกผิดปกติในการสูดดม
กลิ่นเหม็นส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเน่าเปื่อยของอินรีย์สาร หรือปฏิกิริยาของ
สารเคมีต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่พักอาศัย จึงควรตั้งให้ห่างจากแหล่งทิ้งของเสีย
และโรงงานต่าง  ๆ
  4.4 ควันรบกวน หมายถึง การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์และเกิดอนุภาคของคาร์บอน
และคาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้หายใจไม่สะดวก มึนศีรษะ หรือเกิดอาการระคายเคือง
ต่าง ๆ รวมทั้งทำให้มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ และเยื่อบุตาง ๆ อักเสบ
การออกแบบก่อสร้าง และการระบายอากาศภายในที่พักอาศัยที่ดีจะช่วยลดเหตรบกวน
ุดังกล่าวได้
5.
ความเป็นเอกเทศ  บริเวณที่พักอาศัยควรมีความเป็นอิสระในตัวเอง ภายใน
อาคารที่พักอาศัยควรมีการจัดห้องต่าง ๆ เป็นสัดส่วน เช่น ห้องนอนห้อง รับแขก
ห้องครัว เป็นต้น การจัดห้องนอนควรให้แต่ละคนมีห้องส่วนตัวโดยเฉพาะหรืออาจนอน
รวมกันได้ไม่ควรเกินห้องละ 2 คน และแยกเพศกัน พื้นที่ของห้องนอนเดี่ยวควรมี
ขนาดประมาณ 70 – 80 ตารางฟุต สูง 10 ฟุต ส่วนห้องนอนคู่ควรมีขนาดระหว่าง
110 – 120  ตารางฟุต สูง 10 ฟุตเช่นกัน
6.
ให้ความรู้สึกปลอดภัย  การอยู่อาศัยในที่ที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความรู้สึก
ปลอดภัยจะส่งผลให้มีสุขภาพจิตดี ซึ่งควรอยู่ในที่ที่มีสิ่งแวดล้อมปลอดภัยพิบัติต่าง ๆ
เช่น อุทกภัย อัคคีภัย สัตว์ร้าย หรือโจรผู้ร้าย  นอกจากนี้การออกแบบและก่อสร้างที่
มั่นคงแข็งแรงมีระบบป้องกันอัคคีภัยที่ดี สามารถป้องกันเสียงดังรบกวนจากภายนอกได้
และมีพื้นที่กว้างขวางเหมาะสมกับจำนวนผู้อยู่อาศัย  ล้วนเป็นลักษณะที่ทำให้เกิดความ
รู้สึกมั่นคงปลอดภัยในการอยู่อาศัย
7.
ความสะอาดของที่พักอาศัย ทำให้เกิดความสบายตาสบายใจเมื่อพบเห็น
การรักษา ความสะอาดที่พักอาศัย การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งสกปรกต่าง ๆ
ย่อมช่วยป้องกันโรคหรือพาหะต้องมีการวางฝังอย่างเหมาะสมแล้ว การใช้วัสดุใน
การก่อสร้างที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย จัดวางอุปกรณ์เครื่องใช้ให้เหมาะสมและ
สะดวกต่อการใช้งานย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้พักอาศัย
8.
จัดให้มีความสะดวกสบายแก่ผู้อยู่อาศัย  เป็นการจัดหาสิ่งอำนวยความ
สะดวกตามความจำเป็นพื้นฐานต่าง ๆ เช่นมีน้ำสะอาดและพอเพียงต่อการอุปโภค
บริโภค ทำให้ช่วยป้องกันโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินอาหาร โดยทั่วไป
ที่พักอาศัยในชุมชนเมืองใหญ่มีความต้องการน้ำประมาณ 270 – 300  ลิตรตอคนต่อ
วันชุมชนขนาดเล็กมีความต้องการน้ำประมาณ 120 – 150 ลิตรต่อคนต่อวันส่วนชุมชน
ชนบทมีความต้องการน้ำประมาณ 45 – 70 ลิตรต่อคนต่อวันนอกจากนี้ควรมีทางหรือ
ถนนรวมทั้งมีไฟฟ้าเข้าถึงที่พักอาศัยด้วย
9.
การกำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล โดยมีภาชนะรองรับหรือเก็บกักมูลฝอย
ที่ถูกต้องเหมาะสมและเพียงพอภายในที่พักอาศัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเนื่องจาก
แมลงและสัตว์แทะ เป็นพาหะนำโรค รวมทั้งเป็นการป้องกันสารพิษและวัตถุอันตรายที่
อาจทำให้เกิดอุบัติภัยได้ ส่วนการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องให้ถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อช่วย
ลดการแพร่กระจายของโรคระบบทางเดินอาหารที่ผ่านทางสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ดังนั้น
การสร้างส้วมตามหลักสุขาภิบาลจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับสุขภัณฑ์
ที่ต้องมีตามลักษณะอาคารประเภทต่าง ๆ
10.
การระบายน้ำเสียและน้ำผิวดิน หมายถึง การมีระบบระบายน้ำฝนหรือน้ำที่ใช้
แล้วได้สะดวกและเพียงพอเพื่อไม่ให้มีน้ำเปรอะเปื้อน และขังเป็นแอ่งตามบริเวณ
บ้านหรือใกล้เคียง ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งวางไข่ของแมลงวันและยุง รวมทั้งแมลงนำโรค
อื่น ๆ ดังนั้น การระบายน้ำเสียและน้ำผิวดินที่มีประสิทธิภาพ  ย่อมช่วยในการควบคุม
โรคติดต่อได้วิธีการหนึ่ง ที่พักอาศัยประเภทห้องชุดหรืออาคารชุดต้องมีระบบระบายน้ำ
สู่แหล่งชุดหรืออาคารชุดต้องมีระบบระบายน้ำสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้งโดยตรง ซึ่งต้อง
ไม่ก่อให้เกิด เสียง กลิ่น ฟอง กาก ที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง
และน้ำเสียต้องมีการบำบัด ก่อนระบายสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง
11.
การป้องกันอุบัติเหตุ  โดยทั่วไปมนุษย์ใช้เวลาในที่พักอาศัยวันละประมาณ 15
ชั่วโมง จึงมีโอกาสประสบอุบัติเหตุในลักษณะต่าง ๆ ได้ เช่น การพลัดตกหกล้ม
การเกิดไฟไหม้การลัดวงจรของไฟฟ้า การบาดเจ็บเนื่องจากของมีคม การได้รับพิษ
จากการใช้สารเคมีหรือสารพิษโดยไม่ได้ระมัดระวัง การป้องกันอุบัติเหตุดังกล่าว
จึงควรจัดที่พักอาศัยให้เกิดความปลอดภัย ดังนี้
  11.1 ออกแบบและเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างที่ถูกต้องเหมาะสม  เพื่อป้องกัน
ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม เช่น ทำราวบันไดสำหรับจับขณะขึ้นลงบันได
มีแสงสว่างที่เพียงพอตามบริเวณทางขึ้นลง หรือทางเดินภายในบ้าน
  11.2 เลือกใช้อุปกรณ์ในที่พักอาศัยอย่างเหมาะสมและติดไฟยาก  โดยเฉพาะ
วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างห้องครัว ซึ่งต้องมีเตาไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆสำหรับใช้
อาหาร ซึ่งควรตรวจสภาพไม่ให้ชำรุด นอกจากนี้ควรมีอุปกรณ์ดับเพลิง และติดตั้ง
สัญญาณเตือนเมื่อเกิดควันไฟรวมทั้งเก็บสำรองน้ำเพื่อใช้ในการดับเพลิง
  11.3 การจัดการเดินสายไฟฟ้าและใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยเพื่อเป็นการ
ป้องกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟฟ้าดูด การใช้สายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานและมี
อุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วหรือดูดย่อมเป็นวิธีป้องกันปัญหาได้เป็น
อย่างดี
  11.4 ตรวจสอบและใช้สารเคมีหรือสารพิษอย่างระมัดระวัง เนื่องจากในปัจจุบันมี
การนำสารเคมีต่าง ๆ มาใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะการใช้ยาฆ่าแมลง การทำความ
สะอาดที่พักอาศัย ภาชนะอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย
แก่ผู้อยู่อาศัย เช่น การใช้ปุ๋ยเคมี โดยคิดว่าเป็นน้ำตาลทราย หรือใช้ผงซักฟอกโดย
คิดว่าเป็นเกลือป่น
  11.5 เก็บอุปกรณ์ของมีคมให้เป็นสัดส่วน โดยเฉพาะมีด กรรไกรกระจก หรือ
อุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านต่าง ๆ ต้องเก็บให้มิดชิด และพ้นมือเด็กเล็กเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
ที่พักอาศัยที่มีกระจกเป็นอุปกรณ์ตกแต่งควรหาสติดเกอร์หรือภาพติดไว้เพื่อป้องกัน
การเดินชนกระจก
  11.6 บำรุงรักษาและซ่อมแซมที่พักอาศัย ที่พักอาศัยซึ่งมีส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม
ตามการใช้งาน ควรซ่อมแซมบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพแข็งแรงปลอดภัยจากอุบัติเหตุ
เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดต่อผู้อยู่อาศัย และยังสามารถป้องกันการรุกรานจากโจร
ผู้ร้ายด้วย นอกจากนี้การดื่มสุราหรือรับประทานยาที่ทำให้ง่วงหรือรางกายเมื่อยล้า
อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่นกัน
  แนวทางการจัดและปรับปรุงที่พักอาศัยดังกล่าว สามารถกำหนดเป็นหลักการ
พิจารณาสร้างที่พักอาศัยได้ ดังนี้
  1. ลักษณะของที่พักอาศัย มีการออกแบบที่ถูกสุขลักษณะ ป้องกันน้ำท่วมได้ การ
ถ่ายเทอากาศดี แสงสว่างเพียงพอ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างคงทนแข็งแรงไม่เป็นเชื้อเพลิง
ได้ง่ายไม่เก็บความชื้นหรือความร้อนไว้มาก
  2. สภาพแวดล้อม หลีกเลี่ยงการอาศัยใกล้แหล่งมลพิษ  เช่น โรงงานอุตสาหกรรม
โรงฆ่าสัตว์  โรงมหรสพ มีการคมนาคมสะดวก อยู่ใกล้แหล่งน้ำ มีระบบระบายน้ำดี
ไม่มีต้นไม้ใหญ่หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ บังทิศทางแสงแดดและลม
  3. มีระบบสาธารณูปโภคครบถ้วน ประกอบด้วย การมีระบบน้ำประปา ไฟฟ้า
โทรศัพท์ และระบบอื่น ๆ ที่อำนวยความสะดวก เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย
การเก็บกำจัดขยะมูลฝอย เป็นต้น
  4. จัดแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วน เพื่อใช้ประโยชน์ได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลที่
พักอาศัย จึงควรแบ่งแยกห้องเป็นสัดส่วนต่าง ๆ เช่น ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว
ห้องน้ำ ห้องส้วม และห้องรับประทานอาหาร
  การจัดที่พักอาศัยให้น่าอยู่ควรหมั่นทำความสะอาดห้องต่าง ๆ และจัดภายใน
ห้องให้เป็นระเบียบ ไม่รกรุงรังเพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของแมลงต่าง ๆ ภายในบ้าน
บริเวณนอกครัวต้องมีการระบายควัน และกลิ่นอาหารออกจากบ้าน ควรมีตู้เก็บอาหาร
ถังขยะ รองรับขยะมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันแมลงและสัตว์แทะภายในบ้าน
ห้องต่าง ๆ ในบ้าน ควรเปิดหน้าต่างเพื่อให้ระบายอากาศได้สะดวกโดยมีแสงสว่างส่อง
เข้าได้ทุกห้องเพื่อป้องกัน การอับชื้น ห้องน้ำ ห้องส้วม ต้องสะอาดปราศจากกลิ่น
อากาศถ่ายเทได้ดี และมีแสงสว่างพอเพียง ถ้าที่พักอาศัยมีบริเวณรอบ ๆ ควรจัดให้เป็น
ระเบียบ ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น สวยงาม
       

 

3.1
  ความหมายและความสำคัญของ
  การสุขาภิบาลที่พักอาศัย
3.2
  ปัญหาและข้อจำกัดของ
    การสุขาภิบาลที่พักอาศัย
3.3
  หลักการจัดและปรับปรุง
    การสุขาภิบาลที่พักอาศัย