บทที่ 7

การกำจัดและควบคุมมลพิษ

  มนุษย์ต้องอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทั้งอินทรีย์สาร และ
อนินทรีย์สารเพื่อการดำรงชีพ แต่ความเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่าง ๆ ส่งผล
ให้สิ่งแวดล้อมมีความเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยเฉพาะการกระทำของมนุษย์
ทั้งใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ไม่ระมัดระวัง จนทำให้ธรรมชาติขาดความ
สมดุลและกลับเป็นมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมบริเวณ
ใกล้เคียง

ความหมายของมลพิษสิ่งแวดล้อม

  ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 631) ให้ความหมายของมลพิษ (Pollution) ว่า
หมายถึงพิษจากความมัวหมองหรือความสกปรกขณะที่พระราชบัณฑิตส่งเสริมและ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดคำจำกัดความของมลพิษไว้
ว่ามลพิษหมายความว่าของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกาก ตะกอนหรือ
สิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งมลพิษต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือ
ภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และให้ความหมาย
รวมถึงรังสีความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิด
หรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย
  จากความหมายของมลพิษตามรูปศัพท์และนิยามที่กำหนดในพระราชบัญญัติจะ
เห็นได้ว่า มลพิษคือสิ่งที่ทำให้เกิดพิษหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ให้เสื่อมถอยลงจากภาวะปกติ

สารมลพิษ

  สารมลพิษ คือ สารที่ก่อให้เกิดความมัวหมองหรือความสกปรกที่เป็นพิษเป็นภัยต่อ
สิ่งมีชีวิต หรือเป็นสารที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อม โดยมีคุณลักษณะ ดังนี้
  1.เป็นสสารหรือพลังงานที่ส่งผลกระทบทางชีววิทยา
  2. เป็นสสารหรือพลังงานที่มีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในอากาศหรือละลาย
ในน้ำได้และสามารถสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ส่วนใหญ่ละลายได้ดีในไขมัน
  3. มีคุณสมบัติคงตัวในสิ่งแวดล้อม
  4. สามารถแตกตัวหรือรวมกับสารอื่น ๆ ทำให้เกิดสารพิศที่มีคุณสมบัติคงตัว
และเข้าสู่ร่างกายหรืออาจสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตได้
  5. มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทั้งคนและสมดุลของระบบนิเวศ

ประเภทของสิ่งปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

  สิ่งปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมสามารถจำแนกออกได้  3  ประเภท คือ
  1. สิ่งปนเปื้อนทางกายภาพ  ได้แก่  แสง เสียง ความร้อน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
รังสี เป็นต้น
  2. สิ่งปนเปื้อนทางเคมี ได้แก่ สารปรอท ตะกั่ว ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น
สิ่งปนเปื้อนประเภทนี้อาจอยู่ในรูปอินทรีย์สาร หรืออนินทรีย์สาร เป็นของแข็ง
ของเหลว หรือก๊าซก็ได้
  3. สิ่งปนเปื้อนทางชีววิทยา ได้แก่ หนอนพยาธิ  แบคทีเรีย ไวรัส เป็นต้น
   
   
       
       
       

 

7.1
  ความหมายของมลพิษสิ่งแวดล้อม
7.2
  แหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ
7.3
  มลพิษทางอากาศ
     
   
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    ใบกิจกรรมบทที่ 7
    แบบทดสอบบทที่ 7