แมลงและสัตว์นำโรคที่ทำให้เกิดโรคและการควบคุมป้องกัน |
|
แมลงและสัตว์นำโรคที่เป็นพาหะนำโรคหรือสร้างเหตุรำคาญ ซึ่งพบมากใน |
ชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย |
1. |
ยุง เป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก มีหนวดยาว 1 คู่ ลำตัวยาวขา และปากยาว มีขา 3 คู่ ยุง |
ตัวเมียสามารถใช้ปากกัดและดูดเลือดคนและสัตว์ ส่วนยุงตัวผู้จะดูดกินน้ำหวานของ |
พืชเป็นอาหาร ยุงส่วนมากจะวางไข่ในน้ำได้ทุกประเภทและทุกฤดู ทำให้มียุงตลอดปี |
ยุงหลายชนิดที่นำโรคมาสู่คน เช่น ยุงก้นปล่อง ยุงลาย ยุงเสือ และยุงรำคาญ ยุงนอกจาก |
จะนำโรคมาสู่คนแล้ว ยังทำความรำคาญให้คนด้วย เพราะเป็นสัตว์ที่รบกวนคนด้วย |
การกัดก่อให้เกิดอาการคัน ถ้ายุงบินวนอยู่ข้างหู จะทำให้รำคาญนอนไม่หลับ |
|
วงจรชีวิตของยุง วงจรของยุงเริ่มจากการที่ยุงตัวเมียถูกผสมพันธุ์หลังลอก |
คราบจากตัวโม่งซึ่งไม่ไกลจากแหล่งที่เกิดของมัน ส่วนยุงตัวผู้จะตายหลังจากผสมพันธุ์ |
ไม่นาน ยุงตัวเมียจะดูดเลือดคนหรือสัตว์เลือดอุ่น เพื่อนำไปเสริมสร้างความเจริญของ |
รังไข่ในท้อง เมื่อไข่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ยุงตัวเมียจะออกไปหาแหล่งน้ำสำหรับวางไข่ |
ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของยุงเช่น ยุงก้นปล่องชอบวางไข่ในน้ำใสไหลริน |
ยุงธรรมดาชอบวางไข่ ในน้ำนิ่ง โดยทั่วไปแม่ยุงจะเกาะบนผิวน้ำแล้ววางไข่ลงในน้ำ |
จำนวนไข่ที่วางแต่ละครั้งมีปริมาณเฉลี่ย 50 – 150 ฟอง ซึ่งยุงสามารถวางไข่ครั้งต่อไป |
2 สัปดาห์ นับจากการวางไข่ครั้งแรกยุงบางชนิดวางไข่ในน้ำได้ 4 ครั้งจากช่วง |
อายุขัยของมัน |
|
การเติบโตของยุงแบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน ระยะดักแด้หรือ |
ตัวกลางวัย และระยะตัวแก่หรือตัวเต็มวัย ดังนี้ |
|
1. ระยะไข่ ยุงจะวางไข่ในแหล่งน้ำเพราะไข่ของยุงต้องการความชื้น เพื่อช่วยให้ |
ตัวอ่อนแตกออกมาจากไข่ได้ |
|
2. ระยะตัวอ่อน ไข่ที่ฟักตัวเป็นลูกน้ำ จะอาศัยอยู่ในน้ำประมาณ 7 วัน จึงจะ |
กลายเป็น ดักแด้ (เรียกอีกอย่างว่าตัวโม่ง) รับออกซิเจนที่ละลายในน้ำโดยการซึม |
ผ่านทางผิวหนัง |
|
3. ระยะดักแด้ ตัวอ่อนจะลอกคราบกลายเป็นตัวดักแด้ ส่วนหัวโตกว่าส่วนหางมาก |
อาศัยในน้ำ แต่ไม่กินอาหาร และจะเจริญเติบโตเป็นยุงในระยะเวลา 1 – 5 วัน |
|
4. ระยะตัวแก่ ยุงจะฟักตัวในที่มืด เงียบสงบ อับลมและมีความชื้นพอสมควร ยุงจะ |
ออกจากคราบของดักแด้ทางร่องด้านหลังที่มีลักษณะเป็นรูปไม้กางเขนหัวตัด (T) เมื่อ |
ใหม่ ๆ ตัวแก่ยังบินไม่ได้ ต้องเกาะพักเฉย ๆ เพื่อให้ลมเข้าไปตามเส้นปีกก่อนจึง |
จะบินได้ |
วงจรชีวิตของยุง |
|
|
|
|
ยุงตัวเมียเท่านั้นที่กัดกินเลือดคนและสัตว์เป็นอาหาร เพราะต้องใช้เลือดเป็น |
อาหารก่อนวางไข่ทุกครั้ง ยุงก้นปล่องจะออกหากินเวลากลางคืน ส่วนยุงลายชอบออก |
หากินกลางวันอายุขัยของยุงตัวเมียจะยืนยาวกว่าตัวผู้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการถ่ายทอด |
โรคต่าง ๆ มาสู่คนการเป็นพาหะนำโรคของยุงเกิดจากการที่ยุงดูดเลือดที่มีเชื้อโรค |
และสำรอกน้ำลายที่มีเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดให้กับคนที่ถูกดูดเลือดทำให้เกิดโรคได้ |
|
โรคติดต่อที่เกิดจากยุง |
|
ยุงเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำรงชีวิตของคนมากเพราะเป็น |
สาเหตทำให้เกิดความรำคาญจากการที่ยุงมากัดกินเลือด และทำให้เกิดอาการแพ้ |
เป็นตุ่มผื่นคัน รวมทั้งอาจเป็นพาหะนำโรคติดต่อร้ายแรงซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ |
โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ |
|
1. โรคมาลาเรียหรือโรคไข้จับสั่น มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค การเกิดโรคนี้ |
เริ่มจากการที่ยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีปรสิตโปรโตรชัวของเชื้อมาลาเรีย ระยะติดต่อ |
อยู่ในน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดและดูดเลือดคน มักจะปล่อยเชื้อมาลาเรียนี้เข้าสู่กระแส |
เลือดของคนที่ถูกยุงกัดเชื้อมาลาเรียจะเคลื่อนไปที่ตับเพื่อแบ่งเซลล์ประมาณ5–14 วัน |
แล้วเติบโตเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อกินฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงเป็นอาหาร |
|
อาการของโรคมาลาเรีย เมื่อร่างกายได้รับเชื้อตั้งแต่ 1- 3 สัปดาห์ เชื้อจะเข้าสู่ |
เม็ดเลือดแดงและทำลายเซลล์ของเม็ดเลือดแดงเพราะใช้เป็นอาหาร โดยทั่วไปผู้ป่วย |
เป็นมาลาเรีย จะมีอาการคล้ายไข้หวัด มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีอาการ |
หนาวสั่นเป็นช่วง ๆ นานประมาณ 15 นาที – 1 ชั่วโมงต่อครั้ง ซึ่งเกิดจากการที่ |
เม็ดเลือดแดงแตก มีไข้สูงตัวร้อน คลื่นไส้อาเจียน และมี เหงื่อออกตามผิวหนัง |
โรคมาลาเรียบางชนิดถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เสียชีวิตได้ |
|
2. โรคไข้เลือดออก มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรคซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง |
การเกิดโรคไข้เลือดออกมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสของโรคเจริญเติบโตอยู่ในกระเพาะ |
อาหารและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงไปกัดคนจะปล่อยเชื้อไวรัสเข้าไปในกระแสเลือด |
เพื่อฟักตัว |
|
โรคไข้เลือดออกมักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีมากกว่าผู้ใหญ่ ผู้ป่วยจะมี |
อาการไข้สูง หน้าและตาแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว แขนและขา เบื่ออาหาร |
อ่อนเพลีย เซื่องซึม ท้องผูก อาเจียน เจ็บคอ ปวดท้อง ตับโต ถ้ามีอาการไข้นาน |
ประมาณ 2 – 3 วัน จะเริ่มมีจุดแดง ๆ คล้ายตุ่มหรือรอยจ้ำเลือดตามใต้ผิวหนัง |
บริเวณแขนขา รักแร้ หน้า และลำตัว ผู้มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง มี |
อาการเสียเลือดจากการที่มีเลือดออกทางระบบทางเดินอาหาร ทำให้ความดันเลือดต่ำ |
กระสับกระส่าย เหงื่อออก ชีพจรเต้นเบาและเร็ว จนหมดสติ และเสียชีวิตได้ |
|
3. โรคไข้สมองอักเสบ มียุงรำคาญและยุงเสือ เป็นพาหะนำโรคซึ่งเป็นเชื้อ |
ไวรัสชนิดหนึ่ง การเกิดโรคไข้สมองอักเสบมีสาเหตุจากการที่ยุงรำคาญดูดเลือดสัตว์ |
ที่มีเชื้อไวรัสดังกล่าวเข้าร่างกายและปล่อยเชื้อไข้สมองอักเสบเข้าสู่ทางกระแสเลือดและ |
แพร่กระจายไปยังสมองหรือระบบประสาทส่วนกลางของคน |
|
โรคไข้สมองอักเสบส่วนใหญ่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ |
สูงปานกลาง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เซื่องซึม คอและหลังแข็งกล้ามเนื้อ |
ขาตึงประสาทสัมผัสผิดปกติ ตาพร่ามัว มีอาการเพ้อ ชักเกร็งอาจเป็นอัมพาตและ |
ทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและกลับหายเป็นปกติ อาจมีความพิการ |
ทางสมอง |
|
4. โรคเท้าช้าง มียุงรำคาญ ยุงก้นปล่อง ยุงลาย และยุงเสือ เป็นพาหะนำโรคที่ |
เกิดจากพยาธิตัวกลมที่มีตัวแก่ของพยาธิฟิลาเรียอาศัยในหลอดน้ำเหลือง และมีตัวอ่อน |
อยู่ในกระแสเลือดซึ่งเติบโตในตัวยุง เมื่อยุงกัดคน ตัวอ่อนของพยาธิจะเติบโตเป็นตัว |
แก่อยู่ในหลอดน้ำเหลืองของคน |
|
ผู้ป่วยเป็นโรคเท้าช้างจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เซื่องซึม |
เหงื่อ ออก เป็นไข้เฉียบพลัน มีอาการไข้สูง 1 – 2 วัน แล้วลดลง บางรายมีไข้ต่ำ |
เป็น ๆ หาย ๆต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาจะบวมแดง แล้วค่อย ๆ มีผิวหนังหนาและขรุขระ |
ขึ้นเรื่อย ๆ จะมีขาโตกว่าปกติ จึงเรียกว่าโรคเท้าช้าง ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมี |
อัณฑะโตด้วย |
|
การกำจัดและควบคุมป้องกันยุง |
|
การเกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ ดังกล่าวทำให้ต้องมีการกำจัดและ |
ควบคุมป้องกันยุงเพื่อระงับเหตุของการเกิดโรค ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ |
|
1. การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ เป็นวิธีการป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่ได้โดยปรับปรุง |
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวางไข่ของยุง เช่น |
|
1.1 การทำท่อระบายน้ำ โดยการขุดทำเป็นท่อเป็นร่องเพื่อระบายน้ำ ซึ่งการวางท่อ |
หรือขุดรางระบายน้ำต้องมีความลาดเอียงของคูในแนวนอนเพื่อให้น้ำไหลสะอาด |
คูที่สร้างขึ้นต้องสะอาดอยู่เสมอ ก้นคูควรแคบลงเพื่อไม่ให้น้ำขัง |
|
1.2 การถมที่ ถ้าเป็นพื้นที่ไม่สามารถระบายน้ำได้ควรถมที่ด้วยดิน ขี้เถ้าแกลบวัสดุ |
อื่น ๆ ที่ไม่บูดเน่าเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ถ้ามีภาชนะที่ใช้ขังน้ำควรเปลี่ยน |
น้ำเป็นประจำเพื่อไม่ให้ลูกน้ำเติบโตได้ |
|
1.3 ให้ความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกำจัดแหล่ง |
เพาะพันธุ์ยุงเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น ไม่ทิ้งภาชนะ กระป๋อง หรือยางรถยนต์ไว้ใต้ |
ถุนบ้านหมั่นตรวจโอ่ง ตุ่มน้ำ แจกัน น้ำในภาชนะรองขาตู้ใส่อาหาร ไม่ให้มีลูกน้ำรวม |
ทั้งรักษาบริเวณบ้านอย่าให้มีหญ้าขึ้นรกรุงรังเป็นที่อาศัยของยุง |
|
1.4 ปิดฝาภาชนะที่เก็บน้ำให้มิดชิด เพื่อไม่ให้ยุงเข้าไปวางไข่ได้ |
|
2. การควบคุมลูกน้ำ เป็นการตัดวงจรชีวิตของยุงก่อนเติบโตเป็นยุงซึ่งมีวิธีการ |
ต่าง ๆ คือ |
|
2.1 ใช้น้ำมัน เช่น น้ำมันก๊าด ดีเซล หรือน้ำมันอื่น ๆ เพื่อให้น้ำมันแผ่กระจายบน |
พื้นผิวน้ำให้ทั่ว โดยพ่นในแหล่งน้ำใหญ่ ๆ บริเวณริมฝั่งหรือที่มีพืชน้ำเท่านั้น |
|
2.2 ใช้สารหนูเขียว ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีทองแดง สารหนู และกรดอะชีติก |
ผสมกับปูนขาว แป้งฝุ่น ใช้พ่นให้ฟุ้งกระจายบนผิวน้ำในขนาด 300 มิลลิกรัมต่อ |
ตารางเมตร |
|
2.3 ยาฆ่าลูกน้ำอื่น ๆ เช่น |
|
ดีดีที ผสมน้ำมันดีเซล ในอัตราส่วน 50 กรัมต่อน้ำมัน 1 แกลลอนต่อ 1 ไร่ |
|
ดีลดริน ในอัตราส่วน 20 กรัม ผสมน้ำหรือน้ำมันดีเซล พ่นบนผิวน้ำได้ 1 ไร่ |
|
อเบต เป็นทรายอเบตใส่น้ำ 1 ส่วนต่อน้ำล้านส่วน ให้ฤทธิ์นาน 3 เดือน |
สามารถฆ่าลูกน้ำได้ทุกชนิด และมีพิษต่อคนหรือสัตว์น้ำน้อยมาก |
|
2.4 การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลากัด ปลาหางนกยูง และปลาเงินปลาทอง เพื่อ |
กินลูกน้ำและเลี้ยงเพื่อความสวยงาม |
|
2.5 การเลี้ยงยุงยักษ์หรือยุงช้าง เป็นยุงที่ไม่กัดคนแต่กินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ |
เป็นอาหาร ลูกน้ำยุงยักษ์จะกินลูกน้ำของยุงอื่นเป็นอาหาร ซึ่งเป็นวิธีควบคุมและทำลาย |
ลูกน้ำของยุงชนิดที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม |
|
3. การควบคุมป้องกันและกำจัดยุง เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อโรคของยุง ซึ่งมี |
กรรมวิธีต่าง ๆ เช่น |
|
3.1 การตบ เมื่อยุงมากัดแต่เป็นวิธีที่ได้ผลในการกำจัดน้อยที่สุดเพราะเราไม่ |
สามารถไล่ตบยุงทุกตัว |
|
3.2 ทำให้ไข่ยุงฝ่อ ด้วยการเลี้ยงยุงตัวผู้ในห้องปฏิบัติการ และใช้สารเคมี ชื่อเค |
โมสเตอริแล้นท์ หรือฉายรังสี เพื่อให้ยุงตัวผู้เป็นหมัน (เชื้ออสุจิฝ่อ) แล้วปล่อยไปผสม |
พันธุ์กับยุงตัวเมียในธรรมชาติ ไข่ที่ได้รับเชื้ออสุจิที่เป็นหมันจะฝ่อลง |
|
3.3 ใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่น เพื่อฆ่ายุงไม่ให้มารบกวน มีวิธีการที่หลากหลาย เช่น |
|
การฉีดหมอกควัน (Swing Fog) เหมาะสำหรับฉีกในบริเวณกว้างเพื่อป้องกัน |
และกำจัดยุงในโครงการป้องกันและกำจัดไข้เลือดออกของราชการ |
|
การฉีดสารฆ่าแมลงออกฤทธิ์ตกค้าง (Residual Spray) เป็นการฉีดสารที่ |
แมลงออกฤทธิ์ตกค้างไว้ตามฝาผนังในบริเวณต่าง ๆ เมื่อยุงมาเกาะพักจะได้รับสารพิษ |
เข้าสู่ร่างกายและทำให้ตายได้ นิยมใช้กำจัดยุงก้นปล่องซึ่งมีนิสัยชอบเกาะพักหลัง |
ดูดเลือดคน จึงเป็นวิธีการที่ใช้ในโครงการกวาดล้างโรคมาลาเรีย |
|
3.4 ใช้ตะแกรงหรือมุ้งลวด ติดตามประตู หน้าต่าง หรือช่องลมต่าง ๆ ในบ้านเพื่อ |
ป้องกันไม่ให้ยุงเข้าสู่บริเวณที่พักอาศัยได้ |
2. |
แมลงวัน เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน เป็นสัตว์ที่มีสองตาเป็นประเภทตาผสม ตั้งอยู่ |
หน้าสุดของส่วนหัว สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบตัว มีปีกสองปีกบางใส ปากยืดหด |
ได้ ขามีสีน้ำตาลปนดำมี 3 คู่ ลำตัวสีเทายาวประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร มีขนเล็ก ๆ |
ขึ้นอยทั่วไป ลำตัวมีทั้งหมดหกปล้อง ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย แมลงวันชอบ |
กินอาหารบนสิ่งที่เน่าเปื่อย อาหารสดคาว เศษอาหาร รวมทั้งมูลสัตว์หรือคนซึ่งอาจ |
มีเชื้อโรคต่าง ๆ แมลงวันที่แพร่โรคสู่คนในประเทศไทยมี 4 ชนิด คือ แมลงวันบ้าน |
แมลงวันหัวเขียว แมลงวันลายเสือ และแมลงวันดูดเลือด |
|
วงจรชีวิตของแมลงวัน |
|
การเจริญเติบโตของแมลงวันเริ่มจากการที่แมลงวันตัวเมียเริ่มวางไข่เมื่อมันมี |
อายุได้ประมาณ 4 – 20 วัน (นับตั้งแต่วันที่มันเป็นตัวเต็มวัย) โดยจะวางไข่บน |
อินทรียวัตถุที่ชื้น อบอุ่น เช่น มูลสัตว์ อุจจาระคน เศษอาหารหรือกองขยะ และซากสัตว์ |
ซึ่งจะวางไข่แมลงวันจะออกไข่ครั้งละประมาณ 75 – 150 ฟอง โดยเฉลี่ยตลอดชีวิต |
ของมันจะออกไข่ได้ 5 – 6 ครั้ง มีช่วงห่างของการออกไข่แต่ละครั้งประมาณ 3 – 4 วัน |
วงจรของแมลงวันแบ่งออกได้ 4 ระยะ คือ |
|
1. ระยะเป็นไข่ ไข่แมลงวันมีสีขาวนวล รูปร่างยาวรีประมาณ 1 มิลลิเมตร ในหน้า |
ร้อนไข่จะฟักตัวกลายเป็นหนอนในเวลา 8 – 24 ชั่วโมง |
|
2. ระยะตัวอ่อน หรือตัวหนอน มีรูปร่างยาวรีประมาณ 10 – 12 มิลลิเมตร ตัวอ่อน |
จะมีการลอกคราบ 3 ครั้งก่อนจะเป็นดักแด้ |
|
3. ระยะตัวโม่งหรือดักแด้ ลำตัวจะหดสั้นกว่าตัวหนอน สีน้ำตาล มีเกราะหุ้มไม่กิน |
อาหาร ไม่เคลื่อนไหว มักพบตามขอบส่วนที่แห้งของวัตถุที่มันอาศัยอยู่ |
|
4. ระยะตัวเต็มวัย เป็นแมลงวันที่ออกจากตัวโม่ง เริ่มไต่ไปมาประมาณ 1 – 15 |
ชั่วโมงจนปีกของมันคลี่ออก ตัวแห้งและแข็งแล้วจึงเริ่มผสมพันธุ์ |
วงจรชีวิตของแมลงวัน |
|
|
|
|
|
|
โรคติดต่อที่เกิดจากแมลงวัน |
|
จากการที่แมลงวันมีขนตามตัวขา ชอบกินของสกปรก จึงเป็นตัวนำเชื้อโรค |
เป็นอย่างดี เมื่อมันมาเกาะกินอาหารจนอิ่ม มันมักจะถูเสียดสีขาคู่หน้า ทำให้เชื้อ |
โรคที่ติดมากับขนขาร่วงหล่นบนอาหาร จึงเป็นการปล่อยเชื้อโรคในอาหารที่เรากิน |
เข้าไปทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น |
|
1. โรคไข้รากสาดน้อยหรือไทฟอยด์ เป็นโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร |
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อซัลโมเนลลา ไทฟี (Salmonella Typhi)ที่อยู่ปะปน |
ในอุจจาระเมื่อแมลงวันไปตอมอุจจาระของผู้ป่วยแล้วมาเกาะอาหาร จึงเป็นพาหะนำ |
เชื้อโรคนี้แพร่เข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยเป็นโรคไข้รากสาดน้อยจะมีอาการไข้ ปวดหรือ |
เวียนศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามร่างกายเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง |
อาจท้องเดินหรือท้องผูกได้ ถ้ามีไข้สูงผู้ป่วยจะซึม เพ้อชีพจรเต้นช้า ลิ้นเป็น ฝ้าหนา |
ซึ่งถ้ามีโรคแทรกซ้อน เช่น เลือดออกในลำไส้ และลำไส้ทะลุ อุจจาระมีสีดำหรือถ่าย |
เป็นเลือดสด ๆ เพราะมีการอักเสบหรือเป็นแผลที่ต่อมน้ำเหลืองในลำไส้ทำให้ช็อค |
และหมดสติหรือเสียชีวิตได้ |
|
2. โรคบิด เป็นโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อโรคบิดอะมีบิก |
(Amebic Dysentery) ซึ่งเป็นบิดชนิดมีตัว หรือ เชื้อโรคบิดแบคซีลลารี่ (Bacillary- |
Dysentery) ที่เกิด จากเชื้อแบคทีเรียมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เชื้อโรคบิดทั้งสอง |
ชนิดจะปนอยู่ในอุจจาระ เมื่อแมลงวันไปตอมอุจจาระที่มีเชื้อโรคบิดและมาเกาะ |
อาหารหรือน้ำดื่มน้ำใช้ที่นำมาอุโภคบริโภค จึงเป็นการรับเชื้อบิดเข้าสู่ร่างกาย |
|
ผู้ป่วยเป็นโรคบิดจะมีอาการอึดอัดในท้อง ท้องร่วงสลับท้องผูก ถ่ายอุจจาระบ่อย |
ประมาณ 5 - 10 ครั้งต่อวัน เป็นการถ่ายกะปริบกระปรอย ปวดถ่วงที่ท้องน้อย อุจจาระ |
เหลวสีน้ำตาล อาจมีมูกเลือดหรือหนองปน กลิ่นเหม็นคล้ายหัวกุ้งเน่า อาจมีไข้ต่ำ |
ถ้าปล่อยเรื้อรังเชื้อโรคจะลุกลามเข้ากระแสเลือด ทำให้เกิดเป็นฝีที่ตับ ปอด สมอง |
ลำไส้ทะลุหรือข้ออักเสบได้ |
|
3. อหิวาตกโรค เป็นโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหารอีกประเภทหนึ่งที่เกิดจาก |
เชื้อแบคทีเรียชื่อ วิปริโอ คอเลอรี (Vevrio Cholerae) ซึ่งติดต่อได้จากการดื่มน้ำและ |
กินอาหารไม่สะอาดและมีแมลงวันมาตอมโดยนำเชื้อโรคติดมาด้วย |
|
ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเดิน ลักษณะอุจจาระในระยะแรกมีเศษอาหาร ต่อมาจึงถ่าย |
เป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าวกลิ่นเหม็นคาวจัด ร่างกายอ่อนเพลีย ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะ |
เกิดอาการช็อค มีความรู้สึกกระหายน้ำรุนแรง เป็นตะคริว เสียงแห้ง แก้มตอบ มือและ |
นิ้วเหี่ยวย่น ตัวเย็น เนื่องจากเสียเกลือแร่ไปกับอุจจาระ ชีพจรและความดันโลหิต |
ต่ำจนวัดไม่ได้และเสียชีวิตในที่สุด |
|
นอกจากโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารแล้ว แมลงวันยังทำให้เกิดตัว |
หนอนในแผลที่เป็นแผลพุพอง แผลไฟไหม้ เพราะเป็นหนอนที่เติบโตจากไข่ซึ่ง |
แมลงวันไปวางไข่ในแผลสกปรกนั้น |
|
การกำจัดและควบคุมป้องกันแมลงวัน |
|
จากการที่แมลงวันเป็นตัวแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ มาสู่คน ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้ามี |
อาการป่วยรุนแรง หรือเรื้อรัง ดังนั้น การกำจัดและควบคุมป้องกันแมลงวัน |
จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสุขภาพที่ดี โดยมีรายละเอียด ดังนี้ |
1. |
การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน เพื่อควบคุมไม่ให้แมลงวันแพร่ขยายพันธุ์ได้ |
ครบตามวงจร ซึ่งทำให้จำนวนแมลงวันน้อยลงด้วยการปรับปรุงการสุขาภิบาล ดังนี้ |
|
1.1 สร้างส้วมที่ถูกสุขลักษณะและดูแลรักษาห้องส้วมให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าเป็น |
ส้วมหลุมควรมีฝาปิดช่องถ่ายทุกครั้งหลังเลิกใช้ส้วม ท่อระบายอากาศของส้วมต้อง |
มีตะแกรงปิดเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงวันบินลงในหลุมส้วมได้ |
|
1.2 เก็บกักขยะมูลฝอยหรือเศษอาหารให้มิดชิด โดยเก็บไว้ในถุงพลาสติกที่บรรจุ |
ในถังโลหะหรือพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิดและไม่รั่วซึม ควรกำจัดขยะหรือเศษอาหาร |
ด้วยการนำไปฝัง เผา ถมปรับที่หรือนำไปต้มเลี้ยงสัตว์ |
|
1.3 เก็บและกำจัดมูลสัตว์ ด้วยการใช้บ่อผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อหมักให้เกิดก๊าซ |
มีเทนจากมูลสัตว์ ซึ่งสามารถใช้เป็นประโยชน์ในการหุงต้ม ส่วนกากที่เหลือใช้ทำปุ๋ยได้ |
สำหรับมูลสัตว์ที่มีปริมาณไม่มากควรเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่รั่วซึม และนำ |
ไปกำจัดด้วยการตากแห้งให้ทั่วถึงเพราะแดดและความร้อนจะฆ่าหนอนแมลงวันได้ |
|
1.4 จัดให้มีการบำบัดและกำจัดน้ำเสียให้เหมาะสม เป็นสารสังเคราะห์ที่มี |
โครงสร้างเหมือนจูวินายล์ ฮอร์โมนใช้ในการควบคุมการเจริญเติบโตของแมลงวัน |
ในระยะที่หนอนกำลังจะเติบโตเป็นตัวโม่ง ทำให้ไม่สามารถเจริญเป็นตัวแก่ได้ หรือถ้า |
รอดชีวิตเป็นตัวแก่ก็จะไม่เติบโตเต็มที่ ทำให้จำนวนไข่ลดลง มีอายุขัยสั้นลง |
|
1.5 การใช้วิธีชีวภาพ ด้วยการเลี้ยงสัตว์ที่กินหนอน เช่น นก ไก่ หรือปลา เพื่อตัด |
วงจรชีวิติของแมลงวัน |
2. |
การทำลายตัวแก่ของแมลงวัน เพื่อลดจำนวนแมลงวันลงซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธี |
ต่าง ๆ ดังนี้ |
|
2.1 ใช้สารเคมีทำลาย อาจใช้ดีดีทีพ่นตามบ้านเรือนหรือสถานที่ที่แมลงวันชอบ |
เกาะพักหรือกองขยะมูลฝอย แต่ห้ามพ่นในอาหารหรือน้ำดื่ม |
|
2.2 การใช้เหยื่อพิษ โดยใส่สารมีพิษผสมลงในเหยื่อที่แมลงวันชอบ เช่น น้ำตาล |
กากน้ำตาล ซังข้าวโพดบด นำใส่จานล่อให้แมลงวันมากินอาหารที่มีพิษ แมลงวันก็ |
จะตาย แต่ควรระมัดระวังมิให้เด็กหรือสัตว์เลี้ยงสัมผัสกับเหยื่อพิษและปกปิดอาหารให้ |
มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงวันที่ตอมยาไปตอมอาหารได้ เพราะจะเป็นอันตรายถึง |
ชีวิต |
|
2.3 การใช้กระดาษหรือเชือกชุบยาฆ่าแมลง ด้วยการตัดเชือกไปชุบยาฆ่าแมลง |
เช่น พาราไธออนหรือไดอาซินอน แขวนไว้บนเพดานสูง ๆ ในที่ที่มีแมลงวันชุกชุม |
เพื่อให้แมลงวันเกาะเชือกในเวลากลางคืน |
|
2.4 การใช้รังสีหรือสารเคมีทำให้แมลงวันเป็นหมัน ให้ฉีกพ่นที่ตัวแมลงวันสาร |
เคมีเหล่านี้จะไปทำลายระบบสืบพันธุ์ทำให้แมลงวันเป็นหมัน ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ |
|
2.5 ใช้กับดักหรือกรงดักแมลงวัน วิธีใช้คือ นำกรงดักแมลงวันไปตั้งในที่ที่มี |
แมลงวันชุกชุม นำเหยื่อเช่น เศษปลา เศษอาหารใส่ถาด เพื่อล่อแมลงวันมาตอม |
โดยปกติแมลงวันจะบินขึ้นเพื่อหาแสงสว่าง จึงเป็นการบินเข้าไปใสส่วนกรงดัก ไม่ |
สามารถบินลงมาได้ การวางกรงดักให้ใช้ตอนกลางวันเพราะเป็นช่วงเวลาหากินของ |
แมลงวัน |
|
2.6 ใช้กาวจับแมลงวันซึ่งเป็นแถบกว้างประมาณ 1 นิ้วดึงให้ยาวประมาณ 1 เมตร |
นำไปแขวนตามหน้าต่างหรือเพดานที่มีแมลงวันบินผ่าน เมื่อแมลงวันเกาะติดจำนวน |
มากก็ฉีกส่วนนั้นทิ้งแล้วดึงแถบกาวใหม่มาแขวน |
|
2.7 ใช้ไม้ตีแมลงวัน คอยไล่ตีแมลงวันซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะกับบ้านเรือนหรือบริเวณ |
ที่มีแมลงวันไม่มาก และไม่เกิดอันตรายใด ๆ ถ้าตีแมลงวันตัวเมียตาย 1 ตัว เป็นการ |
ยับยั้งไม่ให้แมลงวันเกิดอย่างต่ำ 300 ตัว หรืออาจถึง 750 ตัว |
|
2.8 ใช้เชือกแขวนห้อยจากเพดาน เพื่อให้แมลงวันมาเกาะแล้วใช้ถุงพลาสติก |
ครอบจับแมลงวัน อาจใช้กาวจับไปทาที่เชือกช่วยจับแมลงวัน |
|
2.9 ใช้มุ้งลวดหรือตาข่ายกรุ บริเวณห้องครัว ห้องอาหาร หรือบ้านพักอาศัย เพื่อ |
ป้องกันไม่ให้แมลงวันเข้ามาภายในห้อง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|