3. แมลงสาบ |
|
แมลงสาบเป็นสัตว์ที่นำโรคติดต่อมาสู่คน ลักษณะทั่วไปของแมลงสาบมีรูปร่าง |
แบนราบทางด้านบนและด้านท้อง รูปร่างมีส่วนประกอบ 3 ส่วน เหมือนแมลงทั่วไป |
คือ ส่วนหัวอกและท้อง แมลงสาบมีหนวดยาว 1 คู่ใช้สำหรับดมกลิ่นและสัมผัสนำทาง |
ปีกของแมลงสาบมี 2 คู่ ปีกคู่แรกมีลักษณะเป็นแผ่นเหนียวยาว และเหยียดตรงด้าน |
นอกใช้สำหรับปกป้องคุ้มกันปีกอีกคู่ซึ่งเป็นเยื่อบาง ๆ ปกติจะพับอยู่ใต้ปีกคู่แรก ส่วนหัว |
ของแมลงสาบสามารถกระดกขึ้นลงได้ แมลงสาบพัก อาศัยหลบซ่อนตัวตามซอกมุม |
ขอบประตูหน้าต่าง ห้องน้ำห้องส้วม ใต้กองดินทรายหรือเศษพืชหญ้าต่าง ๆ แมลงสาบมี |
หลายพันชนิด แต่ที่เป็นพาหะนำโรคมี 4 ชนิดคือ แมลงสาบเอเชีย หรือแมลงสาบ |
ตะวันออก แมลงสาบอเมริกัน แมลงสาบเยอรมัน และแมลงสาบลายน้ำตาลซึ่งมีลักษณะ |
แตกต่างกัน คือ |
|
แมลงสาบเอเชียหรือแมลงสาบตะวันออก ลำตัวมีสีดำหรือสีน้ำตาลปนดำ มีลายสี |
เหลืองและขาวบนส่วนอกและขอบด้านนอกของส่วนท้อง ตัวยาวประมาณ 2.2 – 2.7 |
เซนติเมตรปีกสั้นบินไม่ได้ ชอบอาศัยอยู่ที่ชื้นแฉะ |
|
แมลงสาบอเมริกัน เป็นแมลงสาบพบมากที่สุดในประเทศไทย ตัวมีสีน้ำตาลแดงไป |
จนถึงน้ำตาลดำ มีความยาวประมาณ 1.5 – 2 นิ้ว บินได้ในระยะใกล้ ๆ ชอบอาศัย |
ตามท่อ ระบายน้ำ เสีย อุโมงค์น้ำ รอบบริเวณห้องน้ำห้องส้วม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม |
|
แมลงสาบเยอรมัน เป็นแมลงสาบที่พบมากอีกชนิดหนึ่งในประเทศไทย มีสีน้ำตาล |
แกมเหลืองขีด ๆ และมีแถบสีน้ำตาลเข้มสองแถบตามยาวบนหลังของส่วนอก ตัวมี |
ขนาดเล็กยาวประมาณ 1.2 – 1.6 เซนติเมตร ตัวเมียจะมีไข่ยื่นออกมาจนถึงเวลา |
ที่ไข่ฟักตัวชอบอาศัยตามท่อน้ำหรือในครัว ห้องพัก ตู้เสื้อผ้า หรือตามซอกมุมรอย |
แยกต่าง ๆ |
|
แมลงสายลายน้ำตาล ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงอ่อน ขนาดเล็กประมาณ 1 – 2.5 นิ้ว |
มีแถบกว้างสีน้ำตาลขวางสองแถบที่ปีก ตัวเมียมีปีกไม่หุ้มส่วนท้อง แต่ตัวผู้จะมีปีก |
ยาวกว่า บินได้เร็วเมื่อถูกรบกวน ชอบอยู่ตามตู้เสื้อผ้า ตู้เก็บของ หลังกรอบรูปข้างฝา |
และพบได้ทั่วไปในบริเวณบ้าน |
|
วงจรชีวิตของแมลงสาบ |
|
แมลงสาบมีวงจรชีวิตรวม 3 ระยะคือ |
1. |
ระยะเป็นไข่ เมื่อตัวเมียโตเต็มวัย และมีการผสมพันธุ์จะวางไข่ แมลงสาบออกไข่ |
ติดกันหลาย ๆ ใบ ไข่แมลงสาบจะอยู่ในแคปซูลสีน้ำตาล ซึ่งมีปริมาณไข่ประมาณ |
30 ฟองต่อหนึ่ง แคบซูล ไข่แมลงสาบจะพบในที่อบอุ่น |
2. |
ระยะเป็นตัวอ่อน ไข่แมลงสาบจะฟักเป็นตัวอ่อนในเวลา 1 เดือน ซึ่งมีรูปร่าง |
เหมือนตัวแก่เต็มวัยแต่ไม่มีปีก ตัวอ่อนจะลอกคราบหลายครั้งจนมีอายุประมาณ 1 – 3 |
เดือน จึงจะออกจากไข่ |
3. |
ระยะเป็นตัวเต็มวัย หลังจากตัวอ่อนลอกคราบประมาณ 3 เดือนจะกลายเป็นตัว |
เต็มวัย ซึ่งมีอายุได้ประมาณ 9 – 15 เดือน |
วงจรชีวิตของแมลงสาบ |
|
|
|
แมลงสาบชอบอาศัยตามช่องแคบ ๆ หรือรอยแตกต่าง ๆ มันออกหากินตอน |
กลางคืนกินอาหารทุกชนิด เช่น เมล็ดพืช ขนมอบกรอบ แป้ง กาว สิ่งปฏิกูล ซากสัตว |
เสมหะ เป็นต้น ระหว่างการกินอาหารแมลงสาบจะสำรอกเอาของเหลวสีน้ำตาลออกมา |
ปนเปื้อนอาหาร |
|
ความสัมพันธ์ของแมลงสาบต่อสุขภาพ |
|
แมลงสาบมีปากแบบกัดเคี้ยวมีนิสัยชอบกัดทำลายสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน มี |
กลิ่นเหม็นเฉพาะตัวซึ่งขับออกมาจากต่อมกลิ่น ลักษณะเหลวคล้ายน้ำมัน ก่อให้เกิด |
ความรำคาญและจากการที่แมลงสาบกินอาหารได้ทุกชนิด ซึ่งรวมถึงของเสียต่าง ๆ |
จึงทำให้แมลงสาบเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร |
อาจนำเชื้อจุลินทรีย์ ไข่พยาธิหรือสารเคมี มาปนเปื้อนกับอาหารหรือภาชนะที่ใช่ |
บรรจุอาหารและแพร่มาสู่คน นอกจากนี้การกัดแทะวัสดุ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ |
ทำให้เกิดการชำรุดเสียหายไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ |
|
การกำจัดและควบคุมป้องกันแมลงสาบ |
|
แมลงสาบเป็นพาหะนำโรคสร้างความรำคาญและทำลายสิ่งของเครื่องใช้จากการ |
กัดแทะซึ่งล้วนเป็นผลเสียต่อสุขภาพและทรัพย์สินต่าง ๆ จึงควรกำจัดและควบคุม |
ป้องกันแมลงสาบเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนี้ |
1. |
การกำจัดแมลงสาบ เป็นการทำลายไข่และตัวแมลงสาบด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ |
|
1.1 การใช้กับดักแมลงสาบ ที่มีวางขายทั่วไปหรืออาจทำขึ้นเองจากขวดแม่โขง |
ที่สะอาดมาวางเรียงทำมุมประมาณ 45 องศาหรือชันกว่านั้น ใส่อาหารในขวด เช่น |
ข้าวสาร ขนมกรอบ หรืออาหารที่มีแป้ง เป็นเหยื่อ นำไปวางไว้ในตู้กับข้าวใต้ตู้ ใต้เตียง |
หรือบริเวณที่มีแมลงสาบรบกวน เมื่อแมลงสาบลงไปกินเหยื่อจะขึ้นไม่ได้เพราะข้าง |
ขวดลื่นและเมื่อได้แมลงสาบจำนวนมากพอจึงนำน้ำหรือน้ำร้อนกรอกปิดขวดทิ้งไว้ไม่ |
่ช้าแมลงสาบก็ตาย |
|
1.2 ตบตีให้ตาย เป็นวิธีที่ใช้กำจัดเมื่อพบตัวแมลงสาบ ซึ่งจะช่วยลดการขยายพันธุ์ |
ของแมลงสาบอเมริกันได้ 700 ตัว และแมลงสาบเยอรมันได้ถึง 1,500 ตัว ถ้าเป็น |
แมลงสาบตัวเมีย |
|
1.3 ทำลายแคบซูลของไข่แมลงสาบ ซึ่งติดตามฝาผนัง เพดาน ปกสมุดหรือปก |
หนังสือ ที่มีสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดถั่วดำ ให้นำไปเผาไฟทิ้งจะลดแมลงสาบได้ 14 ตัวต่อ |
1 แคบซูล |
|
1.4 ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงสาบ ฉีกพ่นบริเวณที่เป็นแหล่งอาศัย เช่น ท่อ |
ระบายน้ำ ที่ชื้นและมืด ซอกมุม รอยแตกต่าง ๆ ใต้ตู้ เป็นต้น แต่ต้องระมัดระวังอย่า |
ให้โดนอาหาร หรือภาชนะใส่อาหาร |
|
อาจใช้ยาเบื่อพวกไบกอนหรือดิพทาอแฮกช์ในการดัก และวางในบริเวณที่เตรียม |
อาหาร ตู้หนังสือ หรือที่ที่มีแมลงสาบชุกชุม แต่ต้องระวังในการเก็บอาหารและภาชนะ |
ต่าง ๆ ให้มิดชิด เพราะแมลงสาบเป็นแมลงที่ตายยากจึงอาจนำยาเบื่อไปปนเปื้อน |
อาหารหรือติดภาชนะต่าง ๆ ได้ |
|
นอกจากนี้อาจใช้บอแรกช์ (น้ำประสานทอง) 3 ส่วน ผสมกับแป้งข้าวจ้าว (หรือ |
แป้งมัน) 1 ส่วน บดให้เข้ากัน นำไปโรยตามร่อง รอยแตกหรือแหล่งที่อาศัยของ |
แมลงสาบ |
2. |
การควบคุมป้องกัน ด้วยการปรับปรุงสุขาภิบาลที่พักอาศัย เพื่อทำลายแหล่งอาหาร |
หลบซ่อนของแมลงสาบและป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้ามาในอาคารบ้านเรือน ดังนี้ |
|
2.1 ใช้ตะแกรงหรือติดมุ่งลวดตามประตูหน้าต่าง ช่องลม หรือช่องว่างต่าง ๆ ถ้า |
มีรอยแตกที่เข้าสู่อาคารให้ใช้ปูนพลาสเตอร์อุดเพื่อไม่ให้แมลงสาบเข้ามาภายในได้ |
|
2.2 รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้วยการเก็บรักษาสิ่งของ |
ต่าง ๆ ภายในอาคารบ้านพักอาศัยให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของแมลงสาบ |
และเป็นการตรวจตราไม่ให้แมลงสาบเข้ามาในบ้านด้วย นอกจากนี้ควรหมั่นทำความ |
สะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม ซักเสื้อผ้าบ่อยครั้งอย่าหมักหมมไว้จนเป็นคราบเพราะเป็น |
อาหารของแมลงสาบเช่นกัน |
|
2.3 เก็บรวบรวมและกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ ใช้ถังขยะที่มีฝาปิด |
มิดชิดไม่รั่วซึมและนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของแมลงสาบ |
เก็บอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีฝาปิดมิดชิด มีตู้เก็บอาหารและใส่ในภาชนะ |
ที่มิดชิด อย่าให้มีเศษอาหารตกหล่นเป็นอาหารของแมลงสาบได้ |
4. |
หนู |
|
หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวยาวประมาณ 35 – 45 เซนติเมตรมีฟัน |
แหลมคม 2 คู่ ฟันของหนูจะมีการงอกอยู่ตลอดเวลา ทำให้หนูต้องใช้ฟันในการกัด |
แทะอยู่ตลอดเวลา หนูเป็นสัตว์แทะที่ชอบหากินเวลากลางคืนหลังพระอาทิตย์ตกดิน |
โดยใช้จมูกดมกลิ่นหาอาหาร หนูที่มีผลกระทบต่อคนมีหลายประเภท เช่น หนูนอร์เวย์ |
หนูบ้าน หนูท้องขาว หนูนา หนูหริ่ง เป็นต้น |
|
วงจรชีวิตของหนู |
|
หนูสามารถมีลูกได้เมื่ออายุประมาณ 3 – 5 เดือน ใช้เวลาตั้งท้องเพียง 21-29 วัน |
ซึ่งอยู่กับประเภทของหนู หลังจากคลอดตัวอ่อนหนูสามารถผสมพันธุ์ได้ไหมอีกครั้ง |
ภายใน 48 ชั่วโมงสามารถออกลูกได้ปีละ 10 – 12 ครอกแต่ละครอกมีจำนวน |
7 – 8 ตัว จึงนับได้ว่าหนูสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและมีปริมาณมากแต่จำนวนหนู |
ไม่ได้เพิ่มมากเหมือนจำนวนที่เกิดเพราะลูกหนูอาจถูกแม่หนูกิน หรือตายก่อนหย่านม |
ลูกหนูที่เกิดใหม่จะมีตัวสีแดง ตาปิดสนิทหางสั้นกว่าลำตัวเมื่ออายุได้ 2 วัน จะมีรอย |
สีดำที่หัว ภายใน 5 วัน จะเปลี่ยนสีอีกเกือบทั้งตัวภายใน 8 วันมีขนขึ้นคลุมทั้งตัว อายุ |
10 วันอวัยวะเพศเมียมีเต้านมเห็นชัดเจน 12 วันเริ่มได้ยินเสียง 10 – 16 วันตาเริ่ม |
เปิดและเดินไปมาภายในรังได้ อายุ15 – 18 วัน เริ่มกินอาหารแข็งได้ อายุ17 – 23 วัน |
เริ่มเดินสำรวจรอบ ๆ รัง และแยกจากแม่เมื่ออายุ 3 – 5 สัปดาห์ |
วงจรชีวิตของหนู |
|
|
ความสัมพันธ์ของหนูต่อสุขภาพ |
|
หนูจัดเป็นตัวแพร่เชื้อโรคให้คน ซึ่งรวมไปถึงหมัดและเห็บบนตัวหนูที่เป็นพาหะนำ |
โรคมาสู่คนซึ่งได้แก่ กาฬโรค ไข้รากสาดใหญ่ และโรคฉี่หนู (เลปโตสไปโรซีส) |
1. |
กาฬโรค เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อพาสเทอเรลล่า เพสทิส ที่มีหมัดหนู |
เป็นพาหะมาติดต่อกับคน ทำให้เป็นกาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง (บิวโบนิค) หรือ |
กาฬโรคของเลือด(นิวโมนิค) ผู้ป่วยเป็นกาฬโรคจะมีไข้สูง หนาวสั่น เป็นไข้ตัวร้อนจัด |
ปวดเมื่อย เพ้อคลั่ง และมีอาการแตกต่างตามชนิดของโรค คือ |
|
กาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง เป็นชนิดที่พบมากที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หนาว |
สั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองตามบริเวณต่าง ๆ เช่น ขาหนีบ |
รักแร้ ขากรรไกรจะบวมโตเท่าเมล็ดถั่วถึงไข่เป็ด และมีอาการปวด อักเสบเป็นหนอง |
ในระยะสุดท้ายต่อมน้ำเหลืองจะเป็นหนอง มึนศีรษะจนถึงเพ้อคลั่งไม่ได้สติ และตายใน |
ที่สุด นอกจากการถูกหมัดหนูกัดแล้ว กาฬโรคสามารถแพร่กระจายในอากาศด้วย |
การไอ หรือจาม และจากเสมหะของผู้ป่วย |
|
กาฬโรคของเลือด เป็นอาการป่วยหลังจากเป็นกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง แต่เชื้อ |
ลุกลามในกระแสเลือด ทำให้มีอาการโลหิตเป็นพิษ มีเลือดออกที่เยื่อบุอ่อน เช่น |
ปาก ตา และเกิดจ้ำ เลือดตามตัวเป็นสีดำ ผู้ป่วยจะตายภายใน 1 – 3 วัน |
2. |
ไข้รากสาดใหญ่ หรือไทฟัส เกิดจากการที่หมัดไปกัดหนูซึ่งเป็นโรค หมัดจะได้รับ |
เชื้อและถ้าหมัดหนูไปกัดคนมักจะถ่ายอุจจาระที่มีเชื้อโรคออกมา เมื่อหมัดถูกขยี้ |
เชื้อโรคในตัวหมัดจะเข้าสู่ร่างกายผู้ที่ถูกหมัดกัดได้โดยเข้าทางรอยแผลที่เกิดจาก |
การเกาหรือในบางครั้งอาจหายใจเอาขี้หมัดแห้งที่มีเชื้อโรคเข้าร่างกาย |
|
ผู้ป่วยเป็นโรคไข้รากสาดใหญ่ จะมีอาการของไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ |
หนาวสั่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และมีผื่นขึ้นตามร่างกาย |
3. |
โรคฉี่หนูหรือเลปโตสไปโรซีส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อเลปโตสไปราที่อยู่ใน |
ปัสสาวะหนู เชื้อโรคนี้พบมากในบริเวณน้ำท่วมขัง อาจปนเปื้อนในน้ำหรืออาหารด้วย |
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะ หนาวสั่น ซึม อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ |
รุนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่อง ตาแดง อักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียหรือท้องผูก |
โลหิตจางอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนังหรือเยื่อบุ |
|
การกำจัดและควบคุมป้องกันหนู |
|
จากโรคที่มีหนูหรือหมัดหนูเป็นพาหะมาสู่คน โดยธรรมชาติของหนูที่ต้องกัดแทะ |
สิ่งของต่าง ๆ เพราะฟันจะงอกอยู่ตลอดเวลา ทำให้สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เสียหาย |
จากการที่ถูกหนูกัดแทะ การกำจัดและควบคุมป้องกันหนูจึงมีความจำเป็นเพื่อขจัดหรือ |
ป้องกันความสูญเสียต่าง ๆ ดังกล่าว โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ |
1. |
การกำจัดหนู สามารถเลือดใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น |
|
1.1 การใช้กับดัก เพื่อดักหนูไปกำจัด โดยวางกับดักตามทางที่หนูชอบวิ่งหรือ |
บริเวณที่อาศัยของหนู แต่ควรระมัดระวังการใช้กับดักให้ถูกวิธี และหลีกเลี่ยงการใช้ |
มือจับกับดักเพราะหนูมีจมูกไวต่อการสัมผัสกลิ่น และไม่ยอมกินเหยื่อถ้ามีกลิ่น |
แปลกปลอมกับดักที่ใช้แล้วต้องทำลายกลิ่นหนูโดยใช้น้ำร้อนลวก รมควันหรือจุ่มใน |
พาราฟินเหลว เพราะถ้ามีกลิ่นตกค้างหนูตัวอื่นจะไม่เข้ากับดัก |
|
1.2 ใช้ยาเบื่อหนู ซึ่งมีหลายชนิด และมีฤทธิ์แตกต่างกันไปแต่ทำให้หนูตายยาเบื่อ |
หนูที่ใช้กำจัดหนู เช่น สารหนู วอร์ฟารีน แอนทู ซิงค์ฟอสไฟด์ เรดสคริล เป็นต้น |
การใช้ยาเบื่อหนูต้องระมัดระวังเด็กเล็ก ๆ ในบ้าน ควรผสมยากับเหยื่อตามคำแนะนำ |
ของฉลากยาหลีกเลี่ยงการสัมผัสยาและเหยื่อด้วยการสวมถุงมือ และเก็บเศษอาหาร |
ในบริเวณที่วางยาให้หมด |
|
1.3 ใช้การรมด้วยสารเคมี อาจใช้แก๊สไฮโดรไซยานิค แอชิก แคลเซี่ยม ไซยาไนด์ |
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รมในห้องหรือสถานที่มิดชิด ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะมี |
พิษร้ายแรงทำให้คนเสียชีวิตได้และใช้การพ่น ดีดีทีผง 10 เปอร์เซ็นต์ ตามทางที่หนู |
วิ่งผ่านหรือในที่ที่หนูอยู่เพื่อฆ่าหมัดหนู |
|
1.4 ใช้สัตว์เลี้ยงช่วยกำจัดหนู เป็นการกำจัดด้วยวิธีธรรมชาติ ด้วยการเลี้ยงแมว |
สุนัขหรือปล่อยให้สัตว์จำพวกตุ๊กแก งู พังพอน จับหนูกิน |
2. |
การควบคุมป้องกันหนู ด้วยการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ คือ |
|
2.1 สร้างอาคารที่พักอาศัยด้วยวัสดุและรูปแบบที่ป้องกันไม่ให้หนูเข้าในอาคารได้ |
โดยใช้วัสดุก่อสร้างที่แข็งแรง ความกว้างของช่องเปิดต่าง ๆ ไม่เกิน 1.5X1.5 นิ้ว |
หรืออาจใช้ลวดตะแกรงบุช่องเปิดให้เรียบร้อย ผนังที่ติดกับฐานชั้นล่าง ควรยื่นลงในดิน |
ประมาณ 2 ฟุต และยื่นออก จากแนวผนังไปนอกอาคารอีก 1 ฟุต |
|
2.2 หุ้มมุมและขอบประตูไม้ด้วยโลหะ และควรปิดหรืออุดทางเข้าออกของหนู |
ด้วยตาข่ายลวด สังกะสี แผ่นโลหะ หรือปูน เพื่อป้องกันไม่ให้หนูกัดแทะได้ |
|
2.3 เก็บและกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกหลักสุขาภิบาล เพราะขยะเปียกเป็นแหล่ง |
อาหารส่วนขยะแห้งเป็นที่พักอาศัยของหนู จึงต้องหมั่นทำความสะอาดไม่ให้มีเศษ |
อาหารหรือกลิ่นอาหารตกค้าง ที่เก็บขยะต้องมีฝาปิดมิดชิด ท่อน้ำทิ้งไม่ควรมีเศษ |
อาหารค้างทิ้ง |
|
2.4 เก็บอาหารแห้งให้ถูกต้องเหมาะสม โดยวางไว้ในที่ยกพื้น ขาโต๊ะสูงจากพื้น |
อย่างน้อย 12 – 18 นิ้ว ไม่ควรวางชิดข้างฝาหรือวางซ้อนๆ จนถึงเพดาน เพราะหนูชอบ |
วิ่งตามแนวข้างฝา บริเวณพื้นด้านที่ติดข้างฝาควรทาสีขาวเป็นแนวยาวตลอดฝาผนัง |
ทั้งห้องโดยมีความกว้าง 6 นิ้ว เพื่อประโยชน์ในการตรวจร่องรอยของหนูและทำความ |
สะอาดได้สะดวกการเก็บอาหารแห้งที่ถูกต้องมิดชิดจะช่วยลดปริมาณแหล่งอาหารและ |
ที่อยู่อาศัยของหนูได้มาก |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|