5. เห็บ
  เห็บเป็นสัตว์ประเภทปรสิตชนิดใช้ปากกัดดูดเลือดคนและสัตว์อื่น ๆ เห็บอ่อนมี
รูปร่างกลมคล้ายถุง ถ้าดูดเลือดจนอิ่มจะมีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว ส่วนหัว อก และท้อง
เชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวไม่มีลักษณะเป็นปล้องให้เห็น โดยทั่วไปเห็บมีอายุได้นาน
ส่วนเห็บแข็งจะมีขนาดใหญ่กว่าเห็บอ่อน ลำตัวมีรูปร่างคล้ายถุง ไม่มีปล้อง มีแผ่นแข็ง
ชัดเจน เห็บตัวเมียมีแผ่นแข็งคลุมครึ่งตัว แต่เห็บตัวผู้จะมีแผ่นแข็งคลุมตลอดตัว
เห็บอ่อนและเห็บแข็งจะมีรูหายใจ 1 คู่ อยู่ด้านข้างลำตัว และมีฟันเป็นอวัยวะกัดฉีก
ผิวหนังคน
  วงจรชีวิตของเห็บ แบ่งออกได้  3  ระยะ คือ
1.
ระยะเป็นไข่  เมื่อเห็บตัวเมียดูดเลือดจากสัตว์จนอิ่มตัวจะผละลงสู่พื้นดินไปซุกอยู่
ตามซอก ร่มเงา ใต้พื้นทราย  พื้นหิน  เพื่อย่อยเลือดและคอยให้ไข่สุก หลังการวางไข่
่เห็บตัวเมียจะตาย ระยะฟักตัวของไข่ใช้เวลาตั้งแต่ 2 สัปดาห์จนถึงหลายเดือนขึ้นอยู่
กับอุณหภูมิและชนิดของเห็บไข่ของเห็บแต่ละฟองจะถูกเคลือบด้วยขี้ผึ้ง ป้องกันการ
ระเหยของน้ำและทำให้ไข่เกาะกันเป็นกลุ่ม
2.
ระยะเป็นตัวอ่อน เมื่อไข่แตกออกเป็นตัวอ่อน 2 แบบคือ ลาวา และนิ้ม จะมีขนาด
0.5 – 1.5  มิลลิเมตร มีขา 3 คู่ คล้ายแมลง ในระยะแรกตัวอ่อนจะไม่เกาะโฮสท์ จน
2 – 3 วัน จึงไต่ขึ้นมาบนผิวดิน ยอดหญ้าหรือพืชเล็ก ๆ แล้วชูขาหน้าขึ้นเพื่อดักเหยื่อ
ที่ผ่านไปมาเมื่อได้เหยื่อที่เหมาะสมจะใช้ฝังปากลงไปใต้ผิวหนัง เมื่อแกะตัวเห็บ
ขาดติดกับผิวหนังที่มันกัดอยู่ซึ่งจะเป็นแหล่งติดเชื้อตามมา หลังจากดูดเลือดจนอิ่มตัว
อ่อนจะตกลงสู่พื้นดินเพื่อลอกคราบเป็นตัวอ่อนระยะนิ้มมีขา 4 คู่ ไม่มีช่วงเปิดของ
อวัยวะเพศวิธีการหาเหยื่อเหมือนกับระยะตัวอ่อน
3.
ระยะเป็นตัวแก่เต็มวัย  ระยะนิ้มจะลอกคราบหลายครั้งก่อนเป็นตัวแก่ การหา
เหยื่อของเห็บเต็มวัยเหมือนกับระยะตัวอ่อนและนิ้ม แต่เห็บตัวเมียดูดเลือดมากกว่า
ตัวผู้การดูดเลือดแต่ละครั้งใช้เวลาตั้งแต่ 5 นาทีถึง 30 นาที เห็บมีอายุได้นาน 2 – 3 ปี
ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่
วงจรชีวิตของเห็บ
  ความสัมพันธ์ของเห็บต่อสุขภาพ
  เห็บเป็นสัตว์ที่ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตเพื่อการกัดกินเลือดเป็นอาหาร เป็นปรสิตของสัตว์
เลี้ยงต่าง ๆ และเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ ด้วยการที่มันกัดกินเลือดจากโฮสต์ที่มี
เชื้อโรคจึงแพร่กระจายสู่คนเข้าทางกระแสเลือด โรคที่เกิดจากเห็บ เช่น
1.
โรคไข้สมองอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อเจแพนีส เอนเซฟาไลทิส หรือ
JE ที่มีเห็บเป็นตัวแพร่เชื้อโรค มักเป็นในเด็กอายุ 5 – 9 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง
ปานกลาง ปวดศีรษะมาก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเกร็งแข็งหรือชักกระตุก
แขนขาเป็นอัมพาตถ้าฟื้นจากโรคอาจเป็นอัมพาตหรือมีอาการชักแบบลมบ้าหมู
อุจจาระและปัสสาวะไม่รู้สึกตัว
2.
โรคไข้กลับซ้ำ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ บอร์เรเลีย ดัทโทไน มีเห็บเป็น
พาหะ เมื่อผู้ถูกเห็บกัดและบี้เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางรอยแผลที่ถูกกัด ผู้ป่วยจะมี
อาการไข้และกลับเป็นปกติสลับไปมาประมาณ 2 – 10 ครั้ง เป็นอาการไข้เฉียบพลัน
หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรงใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดตามกล้ามเนื้อ ตามข้อ ไอ
และมีการอักเสบของหลอดลมในระยะสุดท้ายของโรคมีอาการตัวเหลือง กระเพาะ
ตับ และม้ามโต อาจมีผื่นแดง จุดแดง ๆ  หรือจ้ำเลือด ปรากฏตามลำตัวและแขนขา
3.
การเจ็บป่วยเนื่องจากถูกเห็บกัด เมือเห็บกัดเพื่อดูดเลือดทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง
ณ จุดที่ถูกกัด น้ำลายของเห็บมีพิษทำให้เกิดการอักเสบ อาจมีอาการบวม คัน เป็นตุ่ม
  การกำจัดและควบคุมป้องกันเห็บ
  เห็บเป็นสัตว์ที่เบียดเบียนสัตว์และคน ทำให้เสียเลือดและเกิดการระคายเคืองใน
บริเวณที่ถูกกัด จึงควรกำจัดเพื่อป้องกันโรคและเหตุรำคาญ ดังนี้
1.
การกำจัดเห็บ
1.1 ใช้ยาฆ่าแมลง  เช่น ดีดีที ผง 10 เปอร์เซ็นต์ โรยในบริเวณที่เห็บอยู่ เช่น
คอกสัตว์ หรือใช้ผงแป้งฆ่าแมลงโรยตามตัวสัตว์
  1.2 ใช้การเผา ด้วยการใช้ผ้าขาวผูกปลายไม้เป็นธง แล้วลากไปในบริเวณที่สงสัย
ว่ามีเห็บอาศัยอยู่อย่างช้า ๆ จะมีเห็บเกาะติดกับผ้าให้นำไปเผาไฟ เพราะโดย
ธรรมชาติของเห็บจะขึ้นมาผิวดิน ยอดหญ้าเพื่อหาเหยื่อที่ผ่านไปมา การสั่นของพื้นดิน
ทำให้เห็บตื่นตัวชูขาหน้าขึ้นเพื่อ คอยเกาะเหยื่อ
2.
การควบคุมป้องกันเห็บ
2.1 ใช้ยากันเห็บทา ถ้าต้องเดินป่าควรทายากันเห็บตามผิวหนัง บริเวณหนังและ
ตามเสื้อผ้า เพื่อป้องกันการกัดและดูดเลือดของเห็บ
  2.2 ทำความสะอาดคอกสัตว์เลี้ยง เพื่อกำจัดไข่เห็บ ตัวอ่อนหรือตัวแก่ให้หมด
รวมทั้งทำลายวัชพืชที่อยู่บริเวณคอกสัตว์ไม่ให้รกรุงรัง
  2.3 อาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง  โดยใช้น้ำผสมสารฆ่าแมลงชนิดผงละลายน้ำอาบให้
สะอาด
6. เหาและโลน
  เหาและโลนเป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก ไม่มีปีก มีปากเป็นแบบเจาะดูด ขาสั้นแต่อ้วน
ปลายขาจะมีเล็บไว้ยึดเกาะเกี่ยวเส้นขนหรือเส้นผม เหาจะอยู่บริเวณศีรษะและคอ
ส่วนโลนจะอยู่ตามร่างกายที่มีขน เช่น บริเวณรักแร้ หน้าอก หรือหัวหน่าว
วงจรชีวิตเหาและโลน
  วงจรชีวิตของเหา และโลน  แบ่งออกเป็น  3  ระยะคือ
  1. ระยะเป็นไข่ เหาบนศีรษะตัวเมียที่ผ่านการผสมพันธุ์จะวางไข่ภายใน 24 – 48
ชั่วโมง โดยวางไข่ประมาณ 8 – 10 ฟอง ตามขนที่มันเกาะอยู่ ไข่เหามีความยาว
ประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อออกมาใหม่ๆ จะโปร่งแสงแล้วค่อยๆ กลายเป็นสีเหลืองอ่อน
และทีบแสง ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 8 วัน
  2. ระยะตัวอ่อน  ตัวอ่อนของเหามีรูปร่างเหมือนตัวแก่เต็มวัย แต่ตัวเล็กมีสีขาว
ถ้าไม่ได้กินเลือดภายใน 24 ชั่วโมงมันจะตาย ตัวอ่อนใช้เวลาโตเต็มวัยประมาณ 2 – 3
สัปดาห์
  3. ระยะตัวแก่โตเต็มวัย ตัวอ่อนของเหาจะลอกคราบ 3 ครั้ง  จึงเป็นตัวแก่
โตเต็มวัยโดยใช้เวลา 1 สัปดาห์ ตัวแก่ของเหาจะมีขนาด 1 – 2 มิลลิเมตร ตัวผู้จะมี
ขนาดเล็กกว่าตัวเมียมีหนวดหนาและสั้นเป็นปล้อง ๆ ประมาณ 3 – 5 ปล้อง ตามี
ขนาดเล็ก
  ส่วนวงจรชีวิตของโลนคล้ายกับเหา โลนตัวเมียจะวางไข่วันละ 8 – 10 ฟอง
จนได้ไข่ตัวอ่อนภายใน 1 สัปดาห์ ตัวอ่อนของโลนจะลอกคราบ 3 ครั้งภายใน
3 – 4 สัปดาห์ และเป็นตัวแก่โตเต็มวัย ขนาดของตัวแก่ยาวประมาณ 2 – 4 มิลลิเมตร
มีหนวดยาวใช้ปากฝังลงใต้ผิวหนังของโฮสต์ เมื่อหลุดออกจากโฮสต์ โลนจะตายภายใน
24 ชั่วโมง
วงจรชีวิตโลน
  ความสัมพันธ์ของเหาและโลนต่อสุขภาพ
  เหาและโลนมีคนเป็นโฮสต์ที่สำคัญ มันจะกัดและดูดเลือดหรือน้ำเหลืองของร่างกาย
เป็นอาหาร ทำให้เกิดความระคายเคือง คัน และเกิดความรำคาญ อาจเป็นผื่นคัน
และมีการติดเชื้ออักเสบ
  การกำจัดและควบคุมป้องกันเหาและโลน
  1. การกำจัด ถ้าเหาบนศีรษะให้ใช้น้ำส้ม 10 เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำสบู่ร้อน ๆ ที่มี
น้ำมันก๊าด 25 เปอร์เซ็นต์ ฟอกจะทำให้ไข่หลุดและล้างออก อาจใช้การโกนผมหรือ
ขนทิ้ง เหาจะตายภายใน 24 ชั่วโมง เพาะไม่มีเลือดเป็นอาหาร
  ถ้าเป็นเหาหรือโลนที่ติดตามเสื้อผ้า ให้ใช้ ดีดีที่ 10 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 2 ช้อน
ชาโรยและขยี้ตามตะเข็บให้ทั่วก่อนนำไปซักตามปกติ
  อาจใช้ดีดีที่ 10 เปอร์เซ็นต์ โรยและขยี้ให้ทั่วบริเวณที่มีร่างกายเพื่อฆ่าเหาและ
โลนหรือใช้การต้มเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่มีโลนอาศัยอยู่ในน้ำเดือด
  2. การควบคุมและป้องกัน หมั่นสระผมให้สะอาดอยู่เสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 –
2 ครั้ง รักษาความสะอาดของแปรง หวี หมวก และเสื้อผ้าต่าง ๆ รวมทั้งไม่ใช้สิ่งของ
ดังกล่าวร่วมกับผู้อื่น ควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายวันละ 2 ครั้ง เปลี่ยนเสื้อผ้า
ที่สะอาดหลังอาบน้ำและทำความสะอาดที่นอน หมอน มุ้งเป็นประจำจะช่วยป้องกันโลน
และเหาได้เป็นอย่างดี
   
 
 
 
 
 
       
       

 

9.1
  การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค
9.2
  ความสำคัญของการกำจัดและ
  ควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค
9.3
  โรคที่เกิดจากแมลงและสัตว์นำโรค
9.4
  แมลงและสัตว์นำโรคที่ทำให้เกิดโรค
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
 
         
ก่อนหน้า