|

|
การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรแบบอิงกลุ่มของแต่ละวิชาควรทำเป็นรูปของคณะกรรมการ ซึ่งในที่นี้เป็นตัวอย่างการวิเคราะห์หลักสูตรแบบกำหนดน้ำหนักรวม เป็น 100 เปอร์เซ็นต์ มีขั้นตอนการวิเคราะห์ ดังนี้
ขั้นที่ 1 พิจารณาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแต่ละข้อว่ากล่าวถึงพฤติกรรมใด
ขั้นที่ 2 นำจุดมุ่งหมายที่พิจารณาได้มายุบสิ่งที่ซับซ้อน
ขั้นที่ 3 นำเอาพฤติกรรมดังกล่าว มาตีความหมายตามลักษณะของแต่ละวิชา
ขั้นที่ 4 พิจารณาแยกแยะเนื้อหาเพื่อใช้ในการสอนและการสอบ
ขั้นที่ 5 นำเอาพฤติกรรมในขั้นที่ 3 และเนื้อหาในขั้นที่ 4 มากำหนดน้ำหนักความสำคัญที่จะวัด
ขั้นที่ 6 นำเอาพฤติกรรมในขั้นที่ 3 และเนื้อหาขั้นที่ 4 มาเขียนลงในตาราง
ให้สัมพันธ์กัน พร้อมทั้งเขียนน้ำหนักความสำคัญที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 5 ลงในตาราง
ขั้นที่ 7 ทำเป็นตารางเฉลี่ย โดยเอาตารางของผู้สอนแต่ละคน นำน้ำหนักความสำคัญของแต่ละช่อง
เฉลี่ยลงในตารางใหม่ ซึ่งจะเป็นตาราง 100 ตามต้องการ |
|
ตัวอย่าง การวิเคราะห์หลักสูตรวิชาสุขศึกษา |
หลักสูตรวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำอธิบายรายวิชา
การศึกษาเรื่องสายตา การได้ยิน และโรคที่เกี่ยวข้องกับนัยน์ตา หู และจมูก อาหาร ปัญหาและความต้องการทางด้านโภชนาการ สวัสดิภาพของตนเองและส่วนรวม ความปลอดภัยในการโดยสารรถยนต์ รถไฟ และเรือ สวัสดิภาพของคนเดินเท้า
จุดมุ่งหมายรายวิชา
1. ให้รู้จักและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องในเรื่องสุขภาพส่วนบุคคล
2. ปลูกฝังให้มีนิสัยการบริโภคอาหารที่ดี และรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
3. ให้สามารถรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น |
|
ขั้นที่ 1 พิจารณาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแต่ละข้อว่ากล่าวถึงพฤติกรรมใด
จุดมุ่งหมายวิชา พ 101
ข้อ 1 ให้รู้จักและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องในเรื่องสุขภาพส่วนบุคคล
- พฤติกรรมที่แยกได้ ความจำ และการนำไปใช้
ข้อ 2 ปลูกฝังให้มีนิสัยการบริโภคอาหารที่ดีและรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- พฤติกรรมที่แยกได้ เจตคติ การประเมินค่า การวิเคราะห์
ข้อ 3 ให้สามารถรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
- พฤติกรรมที่แยกได้ การนำไปใช้
ขั้นที่ 2 นำจุดมุ่งหมายที่พิจารณาได้ยุบสิ่งที่ซับซ้อน จากขั้นที่ 1 ยุบรวมแล้วได้ดังนี้
1. ความจำ
2. การนำไปใช้
3. การวิเคราะห์
4. การประเมินค่า
5. เจตคติ
แต่เนื่องจากตารางนี้ จะเน้นให้ใช้ในการสอนและการสอบ พฤติกรรมทางด้านสติปัญญา คือ ความจำการนำไปใช้ การวิเคราะห์ และการประเมินค่าใช้สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร ส่วนเจตคตินั้นเป็นพฤติกรรมด้านความรู้สึก จึงใช้ประกอบในการเรียนการสอนโดย ปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีในการบริโภคอาหาร
ขั้นที่ 3 นำพฤติกรรมดังกล่าวมาตีความหมายตามลักษณะของแต่ละวิชา ได้ดังนี้
1. ความจำ หมายถึง ความสามารถในการระลึกได้ในเรื่องสุขภาพส่วนบุคคล
- การแสดงออก นักเรียนบอกสาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพได้
2. การนำไปใช้ แบ่งตามความสามารถนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการแก้ปัญหา
- การแสดงออก นักเรียนสามารถนำความรู้มาใช้กับตัวเอง และคนอื่นในสถานการณ์ใหม่ได้
3. การวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการจำแนก แยกแยะ เลือกสิ่งที่
กำหนดไว้ได้จากสถานการณ์ใหม่
- การแสดงออก นักเรียนสามารถเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจากอาหารที่กำหนดไว้ได้
4. การประเมินค่า หมายถึง ความสามารถในการวิจารณ์ ตัดสินสิ่งที่กำหนด
ไว้เกี่ยวกับอาหารและสุขภาพ
- การแสดงออก นักเรียนสามารถวิจารณ์ เกี่ยวกับอาหาร และสุขภาพ ได้
ขั้นที่ 4 พิจารณาแยกแยะเนื้อหาเพื่อใช้ในการสอนและการสอบ ซึ่งแยกแยะเนื้อหาได้ ดังนี้
1. ตา หู
2. โรคเกี่ยวกับนัยน์ตา หู จมูก
3. อาหาร
4. ปัญหาและความต้องการทางด้านโภชนาการ
5. สวัสดิภาพของตนเองและส่วนรวม
6. ความปลอดภัยในการโดยสารรถยนต์ รถไฟ และเรือ
7. สวัสดิภาพของคนเดินเท้า
ขั้นที่ 5 นำเอาพฤติกรรมในขั้นที่ 3 และเนื้อหาในขั้นที่ 4 มากำหนดน้ำหนัก
ความสำคัญที่จะวัด ซึ่งได้กำหนด ดังนี้
ก. พฤติกรรมที่ต้องการวัด
1. ความรู้ น้ำหนักความสำคัญ 15 %
2. การนำไปใช้ น้ำหนักความสำคัญ 40 %
3. การวิเคราะห์ น้ำหนักความสำคัญ 25 %
4. การประเมินค่า น้ำหนักความสำคัญ 20 %
รวม 100 %
ข. เนื้อหาที่จะวัด
1. ตา หู น้ำหนัก 10 %
2. โรคเกี่ยวกับนัยน์ตา หู จมูก น้ำหนัก 15 %
3. อาหาร น้ำหนัก 20 %
4. ปัญหาและความต้องการทางการโภชนาการ น้ำหนัก 10 %
5. สวัสดิภาพของตนเองและส่วนรวม น้ำหนัก 12 %
6. ความปลอดภัยในการโดยสารรถยนต์ รถไฟ และเรือ น้ำหนัก 18 %
7. สวัสดิภาพของการเดินเท้า น้ำหนัก 15 %
รวม 100 %
ขั้นที่ 6 นำเอาพฤติกรรมในขั้นที่ 3 และเนื้อหาในขั้นที่ 4 มาเขียนลงในตาราง ให้สัมพันธ์กันพร้อมทั้งเขียนน้ำหนัก ความสำคัญที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 5 ลงในตาราง ซึ่งได้เป็น ตารางวิเคราะห์หลักสูตรดังนี้
|
|
ตารางวิเคราะห์หลักสูตร วิชา พ 101
|
|
|
|
ตารางนี้ ทำได้โดยผู้สอนแต่ละคนกำหนดน้ำหนักลงในแต่ละเนื้อหา และพฤติกรรม พร้อมทั้งคำนวณหาจำนวนข้อสอบโดยใช้วิธีการเทียบบัญญัติไตรยางค์
ขั้นที่ 7 ทำเป็นตารางเฉลี่ย โดยเอาตารางของผู้สอนแต่ละคนนำน้ำหนักความสำคัญของแต่ละช่องเฉลี่ยลงในตารางใหม่ซึ่งจะเป็นตาราง 100 ตามต้องการ
จากตารางข้างต้นนี้แสดงว่าเป็นตารางที่ใช้ในการออกข้อสอบทั้งหมด 60 ข้อ โดยมีรายละเอียดของการออกข้อสอบในแต่ละเนื้อหา และพฤติกรรมดังในตาราง เช่น ในเนื้อหาเรื่องที่ 3 เรื่องอาหาร จะต้องออกพฤติกรรมความจำ 2 % เป็นจำนวน 1 ข้อ การนำไปใช้ 7% เป็นจำนวนข้อ 4 ข้อ การวิเคราะห์ 5% เป็นจำนวนข้อ 3 ข้อ การประเมินค่า 6% เป็นจำนวนข้อ 4 ข้อ
|
|
|