1.   เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลที่นิยมใช้มีดังนี้ แบบทดสอบ  แบบสอบถาม  การจัดอันดับคุณภาพ  การสังเกต  การสัมภาษณ์  สังคมมิติ  การให้สร้างจินตนาการ  การให้ปฏิบัติจริง
                2.   แบบทดสอบเป็นชุดของคำถาม ปัญหา หรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่นำไปเร้าให้   ผู้ถูกทดสอบแสดงพฤติกรรมหรือปฏิกิริยาตอบสนองตามแนวทางที่ต้องการ  ซึ่งมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันตามเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง  แต่โดยทั่ว ๆ มักแบ่งตามรูปแบบคำถามและวิธีการตอบ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด  คือ  แบบปรนัย  และแบบอัตนัย
                3.  แบบสอบถามเป็นชุดของข้อความหรือข้อคำถามที่นำไปเร้าให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็น  ความต้องการ  ความสนใจ  เจตคติ  ของผู้ตอบที่มีต่อสิ่งที่ผู้สร้างต้องการทราบ  ซึ่งมี 2 รูปแบบ  คือ แบบปลายเปิด  และแบบปลายปิด
                4.  การสังเกต  เป็นเครื่องมือวัดผลชนิดหนึ่งที่ผู้ทำหน้าที่ในการวัดใช้ประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือหรือสิ่งเร้า  นิยมใช้กันมากในการวัดด้านความรู้สึก และทัก และทักษะการปฏิบัติ
                5.  การสัมภาษณ์  เป็นการพูดคุยอย่างมีจุดมุ่งหมาย   ใช้เป็นเครื่องมือวัดเกี่ยวกับคุณลักษณะด้านความรู้สึกเป็นส่วนใหญ่
                6.  การจัดอันดับคุณภาพ  เป็นเครื่องมือช่วยเครื่องมืออย่างอื่นให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
                7.  สังคมมิติ  เป็นเครื่องมือใช้ในการตรวจสอบสถานภาพทางสังคมของผู้เรียนว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร  เพื่อวางแผนในการพัฒนาผู้เรียนให้อยู่ในปรับตัวเข้ากับสังคมได้
                8.  การให้สร้างจินตนาการ  เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลใช้สำหรับล้วงความรู้สึกนึกคิดของคนออกมาโดยไม่ให้เจ้าตัวรู้สึก
                9.  การให้ปฏิบัติจริง  เป็นวิธีการวัดผลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านพุทธิพิสัย  จิตพิสัย  และทักษะพิสัย  โดยวัดพฤติกรรมที่เป็นทักษะการปฏิบัติ ใน วิธีการปฏิบัติ  และผลงานที่ปฏิบัติ