3.   หลีกเลี่ยงตัวเลือกแบบปลายปิดปลายเปิด คือตัวเลือกที่มีคำว่าผิดทุกข้อ ถูกทุกข้อ  ข้อ ก และ ข ถูก   ข้อ ก และ ข ผิด  เช่น
                  “ปัจจัยสี่ของคนเราได้แก่อะไร”
                    ก.  ที่อยู่
                    ข.  อาหาร
                    ค.  เครื่องนุ่งห่ม
                    ง.  ยารักษาโรค
                    จ.  ถูกทุกข้อ
             เป็นตัวเลือกแบบปลายเปิด ข้อ จ ถูกทุกข้อ  เนื่องจากไม่สามารถ     หาตัวเลือกได้อีกแล้ว  ดังนั้นควรจะเปลี่ยนเทคนิคในการถามใหม่ ดังนี้
                  “สิ่งใดไม่ถือว่าเป็นปัจจัยสี่ของคน”
                   ก.  ที่อยู่
                   ข.  อาหาร
                   ค.  รถยนต์
                   ง.  เครื่องนุ่งห่ม
                   จ.  ยารักษาโรค
            4.   เขียนตัวเลือกให้เป็นอิสระจากกัน  เช่น
                   “คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพอะไร”
                    ก.  การทำไร่
                    ข.  การทำนา
                    ค.  การเกษตร
                    ง.  การค้าขาย
                    จ.  การอุตสาหกรรม
            ตัวเลือก ก และ ข เป็นส่วนหนึ่งของตัวเลือก ค  ซึ่งตัวเลือก   ไม่อิสระขาดจากกัน ดังนั้นควรเปลี่ยนตัวเลือก ก และ ข ไม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของตัวเลือก ค  ดังนี้
                 “คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพอะไร”
                  ก.  รับราชการ
                  ข.  ธุรกิจส่วนตัว
                  ค.  การเกษตร
                  ง.  การค้าขาย
                  จ.  การอุตสาหกรรม
              5.   ใช้ภาษาที่รัดกุมชัดเจน  เช่น
                 “กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองเนื่องจากสาเหตุใด”
                   ก.  เพราะคนไทยขาดผู้นำ
                   ข.  เพราะคนไทยขาดขวัญ
                   ค.  เพราะคนไทยขาดอาวุธ
                   ง.  เพราะคนไทยขาดเสบียง
                   จ.  เพราะคนไทยขาดความสามัคคี
              ใช้คำซ้ำ ๆ กันซึ่งขาดความรัดกุมชัดเจน ดังนั้นควรนำคำที่ซ้ำ ๆ กันไปเขียนไว้ใน       ตัวคำถามเพียงครั้งเดียวจะรัดกุมและชัดเจนกว่า  ดังนี้
                “กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองเพราะคนไทยขาดสิ่งใด”
                 ก.  ผู้นำที่เข้มแข็ง
                 ข.  ขวัญและกำลังใจ
                 ค.  อาวุธที่ทันสมัย
                 ง.  เสบียงอาหาร
                 จ.  ความสามัคคี
           6.   ควรเรียงลำดับตัวเลือกที่เป็นตัวเลข  จากเลขน้อยไปหาเลขมาก เช่น
               “กรุงเทพฯ สร้างเสร็จปีใด”
                  ก.  พ.ศ. 2310
                  ข.  พ.ศ. 2113
                  ค.  พ.ศ.2328
                  ง.  พ.ศ. 2312
                  จ.  พ.ศ. 2475
            ไม่เรียงลำดับตัวเลข  ทำให้ผู้สอบสับสนต้องใช้เวลาพิจารณาตัวเลขก่อนหลัง  ซึ่งเสียเวลาทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นการคิดแต่อย่างใด  ดังนั้นควรเรียงลำดับให้สะดวกเพื่อเปรียบเทียบดังนี้
                “กรุงเทพฯ สร้างเสร็จปีใด”
                  ก.  พ.ศ. 2113
                  ข.  พ.ศ. 2310
                  ค.  พ.ศ. 2312
                  ง.  พ.ศ. 2328
                  จ.  พ.ศ. 2475
            7.   ควรใช้ตัวเลือกที่เด็กรู้จักและเข้าใจ  เช่น
                 “คนผอมควรเลือกรับประทานอาหารชนิดใดต่อไปนี้”
                   ก.  แกงส้ม
                   ข.  ข้าวขาหมู
                   ค.  ผักน้ำพริก
                   ง.  สลัดน้ำข้น
                   จ.  เสต็ก
              ตัวเลือกข้อ ง และ จ เป็นคำที่เด็กบางคนยังไม่รู้จักและไม่เข้าใจ  ทำให้เด็กเสียเปรียบกัน และจุดประสงค์ของการถามข้อนี้มิใช่จะวัดคำศัพท์  ดังนั้นควรเปลี่ยน  ดังนี้
                “คนผอมควรเลือกรับประทานอาหารชนิดใดต่อไปนี้”
                 ก.  แกงส้ม
                 ข.  ข้าวขาหมู
                 ค.  ผักน้ำพริก
                 ง.  ผักผัดน้ำมัน
                 จ.  แกงเลียง
            8.   หลีกเลี่ยงการแนะคำตอบ
                  8.1 
อย่าให้คำถามข้อแรกๆแนะคำตอบข้อหลังๆหรือข้อหลังๆแนะคำตอบข้อแรกๆ
                          ข้อ 1  สีเขียวในใบพืชเรียกว่าอะไร  (คำตอบถูกคือ  คลอโรฟิล)
                          ข้อ 2 พืชสีเขียวซึ่งมีคลอโรฟิลจะปรุงอาหารได้ต้องอาศัยสิ่งใด
                          อย่าให้ตัวถูกมีคำซ้ำกับคำถาม  เช่น
                          “เราได้น้ำตาลมาจากต้นอะไร”
                           ก.  ต้นตาล
                           ข.  ต้นมะม่วง
                           ค.  ต้นหมาก
           มีคำซ้ำกับคำถาม ซึ่งเป็นการแนะคำตอบผู้สอบไม่มีความรู้ก็สามารถจะตอบได้
                    8.2 อย่าใช้คำขยายที่ไม่เหมาะสม  เช่น
                           “หลังรับประทานอาหารไม่ควรทำสิ่งใด”
                          
ก.  นั่งเล่น
                           ข.  นอนทันที
                           ค.  เดินเล่น
                           ง.  ดูโทรทัศน์
                           จ.  ฟังวิทยุ
            ตัวเลือกข้อ ข มีคำขยายไม่เหมาะสมคือคำว่าทันที ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าไม่ควรกระทำ  ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนดังนี้
                         “หลังรับประทานอาหารไม่ควรทำสิ่งใด”
                           ก.  นั่งเล่น
                           ข.  นอนเล่น
                           ค.  เดินเล่น
                           ง.  ดูโทรทัศน์                    
                           จ.  ฟังวิทยุ
                   8.3 อย่าถามเรื่องที่เด็กคล่องปาก  เช่น
                        “ใจคนเลี้ยวลดเหมือนสิ่งใด”
                          ก.  เถาวัลย์
                          ข.  ถนน
                          ค.  แม่น้ำ
            ตัวเลือก ก เป็นตัวเลือกที่เด็กคล่องปากอยู่เป็นประจำ ดังนั้นไม่ควรถามในคำเหล่านี้
                   8.4  อย่าใช้ตัวเลือกที่สั้นยาวต่างกันมาก  เช่น
                        “เด็กที่ฟันกำลังขึ้นควรบำรุงด้วยอาหารประเภทใด”
                          ก.  โปรตีน
                          ข.  ผักสด
                          ค.  อาหารทะเล
                          ง.  เครื่องใน
                          จ.  อาหารประเภทที่มีแคลเซียมมาก
            ตัวเลือก จ เป็นตัวเลือกที่มีคำขยายเพื่อที่จะแนะแนวโน้มในการตอบให้ผู้สอบ  ดังนั้นผู้สอบที่ไม่รู้จริงแต่ดูตัวเลือกแล้วมีคำขยายมาก  น่าจะเป็นตัวเลือกที่ถูก  ดังนั้น  ควรเปลี่ยนตัวเลือก  ดังนี้
                        “เด็กที่ฟันกำลังขึ้นควรบำรุงด้วยอาหารประเภทใด”
                         ก.  โปรตีน
                         ข.  ผักสด
                         ค.  อาหารทะเล
                         ง.  เครื่องใน
                         จ.  แคลเซียม
             ข้อดีของข้อสอบแบบเลือกตอบ
            1.  มีความเที่ยงตรงสูงเพราะสามารถสร้างคำถามวัดได้ครอบคลุมทุกเนื้อหาและทุกพฤติกรรมทางด้านสมอง
             2.  มีความเชื่อมั่นได้เพราะมีมากข้อ
             3.  ตรวจให้คะแนนได้ง่าย  สะดวกรวดเร็ว  และยุติธรรม  สามารถใช้เครื่องตรวจได้ดี
             4.  ตัดปัญหาเรื่องการอ่านจากลายมือผู้ตอบที่อ่านยาก
             5.  ตอบถูกโดยการเดามีน้อย  ข้อสอบมาตรฐานจึงนิยมใช้แบบเลือกตอบ
             6.  สามารถวินิจฉัยข้อบกพร่องหรือความไม่เข้าใจในเนื้อหาได้อย่างเป็นระบบ
             7.  สามารถใช้แผนผัง  รูปภาพ  หรือกราฟ  มาเขียนข้อสอบได้ง่าย
             ข้อเสียของข้อสอบแบบเลือกตอบ
             ข้อสอบแบบเลือกตอบมีข้อเสีย  ดังนี้
             1.  สร้างยาก  เพราะต้องคิดตัวเลือกโดยเฉพาะการเขียนตัวลวงให้เหมาะสมและใช้เวลาสร้างนาน
             2.  ไม่เหมาะที่จะวัดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความคิดเห็น
             3.  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง