ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์เป็นข้อสอบที่สร้างขึ้นตามจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละรายวิชาหรือรายบทเรียน
โดยมุ่งเอาผลการสอบของนักเรียนแต่ละคนไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าความยากง่ายของข้อสอบแบบ
อิงเกณฑ์ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่จัดให้เรียนรู้หรือพฤติกรรมที่ต้องการวัด  ถ้าพฤติกรรมนั้นยากข้อสอบก็จะยากด้วย  ถ้าพฤติกรรม
ง่ายข้อสอบ ก็จะง่ายด้วย  ดังนั้น  ข้อสอบที่ง่ายหรือยากก็ไม่ถือว่าเป็นข้อสอบที่ไม่ดี ในขณะเดียวกันเมื่อวัดออกมาแล้วก็ไม
่ต้อง การเปรียบเทียบกันภายในกลุ่มว่าใครเก่ง  ใครไม่เก่ง  แต่ต้องการทราบว่ารู้หรือไม่ รู้อะไร  และใครเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด  หรือใครยังไม่รอบรู้  หรือมีความรู้ความสามารถยังไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด
           การหาค่าความยากและค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบอิงเกณฑ์  มีดังนี้
           1.  ค่าความยากของข้อสอบอิงเกณฑ์ นื่องจากข้อสอบอิงเกณฑ์มุ่งเอาผลการสอบของนักเรียนแต่ละคนไปเปรียบเทียบ
กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า  ดังนั้นจึงมีการนำแบบทดสอบไปทดสอบก่อนและหลังสอน  เพื่อดูถึงประสิทธิภาพของการสอน  ค่าความยากของข้อสอบอิงเกณฑ์สามารถคำนวณหาได้เช่นเดียวกับการหาค่าความยากของข้อสอบอิงกลุ่ม ึ่งหาค่าความยาก
ของข้อสอบแต่ละข้อได้จากสูตร
      
           เกณฑ์การพิจารณาค่าความยากของข้อสอบอิงเกณฑ์ที่นำไปทดสอบก่อนสอนและหลังสอนมีดังนี้
          ตารางแสดง    การแปลความหมายของค่าความยากของข้อสอบก่อนสอนและหลังสอน

ก่อนสอน

หลังสอน

ค่าความยาก (P)

ความหมาย

ค่าความยาก (P)

ความหมาย

.41  ขึ้นไป
.21 - .40
ต่ำกว่า .21

ง่ายเกินไป ควรตัดทิ้ง
พอใช้ได้ แต่ต้องปรับปรุง
ดี  เก็บไว้ใช้

.80 ขึ้นไป
.70-.79
ต่ำกว่า .70

ดี เก็บไว้ใช้
พอใช้ได้ แต่ต้องปรับปรุง
ไม่ดี ควรตัดทิ้ง

           2.   ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบอิงเกณฑ์  หมายถึง  ความสามารถในการจำแนกกลุ่มผู้รอบรู้ (หรือสอบผ่านเกณฑ์) กับกลุ่มผู้ไม่รอบรู้ (หรือสอบไม่ผ่านเกณฑ์) ได้มีการให้ความหมายของผู้รอบรู้และไม่รอบรู้ ดังนี้
                            ผู้รอบรู้       หมายถึง ผู้ที่สอบได้คะแนนเท่ากับหรือมากกว่าคะแนนจุดตัด (เกณฑ์)
                            ผู้ไม่รอบรู้  หมายถึง ผู้ที่ได้คะแนนจากการสอบน้อยกว่าคะแนนจุดตัด (เกณฑ์)
           ในที่นี้จะเสนอวิธีการหาค่าอำนาจจำแนก 2 วิธี คือการหาค่าอำนาจจำแนกจากผลการสอบสองครั้ง (ก่อนสอนและหลังสอน) และผลจากการสอบครั้งเดียว (หลังสอน) ซึ่งมีรายละเอียด  ดังนี้
                   2.1  การหาค่าอำนาจจำแนกจากผลการสอบสองครั้ง โดยการหาค่าดัชนี เอส  (S-Index) หรือเรียกว่า ค่าดัชนีความไวในการสอน (Sensitivity  Index) เป็นการวิเคราะห์เพื่อมุ่งดูความรู้ความสามารถของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนว่ามีผลแตกต่างกันหรือไม่  ถ้าก่อนเรียนผู้เรียนไม่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้น  แต่หลังเรียนผู้เรียนส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถมากกว่าก่อนเรียน  แสดงว่าการเรียนการสอนนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
            ขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อหาค่าดัชนีเอส  มีดังนี้
            1.  ทำการสอบก่อนสอน (Pre – test) โดยใช้ข้อสอบที่สร้างขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเรียนการสอนทุกข้อ
             2. ทำการสอบหลังสอน (Post – test) โดยใช้ข้อสอบชุดเดิม
             3. นำผลการสอบทั้งสองครั้งมาตรวจให้คะแนน เพื่อต้องการนับจำนวนผู้ที่ตอบถูกในแต่ละข้อ
             4. นำค่าที่ได้ในขั้นที่ 3 ไปคำนวณหาค่าดัชนีเอส โดยใช้สูตร ดังนี้ 
             กรณีที่เป็นตัวถูก     

             เมื่อ  S      แทน   ค่าความไวของข้อสอบ
                Rpost       แทน   จำนวนคนที่ตอบถูกหลังสอน
                Rpre        แทน   จำนวนคนที่ตอบถูกก่อนสอน
                     T      แทน   จำนวนคนทั้งหมดที่เข้าสอบ
           กรณีที่เป็นตัวลวง
                                             
           เมื่อ  S      แทน   ค่าความไวของข้อสอบ
                 Rpre     แทน   จำนวนคนที่ตอบถูกก่อนสอน
                 Rpost    แทน   จำนวนคนที่ตอบถูกหลังสอน
                    T      แทน   จำนวนคนทั้งหมดที่เข้าสอบ
          5.  ค่า  S  มีค่าตั้งแต่  -1.00  ถึง  +1.00
          6.  การแปลความหมายค่า  S  กรณีตัวถูกมีเกณฑ์  ดังนี้

                                                         

ค่า S

การแปลความหมาย

.80-1.00
.60-.79
.40-.59
.20-.39
.00-.19
ค่า ลบ

   ประสิทธิภาพการเรียนการสอนดีมาก
   ประสิทธิภาพการเรียนการสอนดี
   ประสิทธิภาพการเรียนการสอนปานกลาง
   ประสิทธิภาพการเรียนการสอนค่อนข้างต่ำ
   ประสิทธิภาพการเรียนการสอนไม่ดี
   ประสิทธิภาพการเรียนการสอนใช้ไม่ได้

          7.  ข้อสอบที่ดีกรณีตัวถูกควรมีค่า S ตั้งแต่  .30  ขึ้นไป
          8.  การพิจารณาค่าดัชนีความไวของตัวลวงให้ถือหลักดัง
               8.1  ตัวลวงใดที่ผู้สอบเลือกตอบน้อยหรือไม่เลือกตอบเลยหลังการสอนถือว่าเป็นตัวลวงที่ดี
               8.2  ตัวลวงใดที่มีค่า S เป็นบวก แสดงว่าจำนวนคนตอบตัวลวงนั้นหลังสอนมีน้อยกว่าก่อนสอนถือว่าใช้ได้
               8.3  ตัวลวงใดที่มีค่า  S  เป็นลบ  เป็นตัวลวงที่ไม่ดีต้องปรับปรุงแก้ไข
               2.2   การหาค่าอำนาจจำแนกจากผลการสอบครั้งเดียว (หลังสอน) เป็นวิธีหาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ
ที่เสนอโดยเบรนแนน (Brennan) ค่าอำนาจจำแนกที่หาโดยวิธีนี้เรียกว่า  ดัชนี บี (B-Index  หรือ Brennan Index)
             ขั้นตอนในการวิเคราะห์หาค่าดัชนี มี  มีดังนี้
             1.  ทำการสอบหลังจากที่สอนจบเรื่องที่จะวัด
             2.  ตรวจให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อ  และรวมคะแนนของทุกข้อ
             3.  กำหนดคะแนนเกณฑ์หรือจุดตัด เพื่อใช้เป็นหลักในการแบ่งผู้รอบรู้และไม่รอบรู้ สำหรับการแบ่งผู้รอบรู้  และ
ไม่รอบรู้ออกจากกันไม่จำเป็นต้องมีจำนวนเท่ากันทั้งสองกลุ่มกลุ่มผู้รอบรู้อาจมีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่ากลุ่มผู้
ไม่รอบรู้ก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของผู้สอบหรือสภาพของคะแนนที่ทำได้
            4.  นับจำนวนผู้รอบรู้  และผู้ไม่รอบรู้
            5.  ข้อสอบแต่ละข้อนับจำนวนผู้รอบรู้ที่ตอบถูก  และนับจำนวนผู้ไม่รอบรู้ที่ตอบถูก
            6.  คำนวณหาค่าดัชนี บี  ซึ่งเป็นค่าอำนาจจำแนกโดยใช้สูตรของเบรนแนน   ดังนี้
            กรณีตัวถูก
          
            เมื่อ               B   แทน ค่าดัชนี บี หรือค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ
                                 N1  แทน จำนวนคนในกลุ่มผู้รอบรู้ (หรือสอบได้คะแนนเท่ากับหรือสูงกว่าจุดตัด)
                                 N2  แทน จำนวนคนในกลุ่มผู้ไม่รอบรู้ (หรือสอบได้คะแนนต่ำกว่าจุดตัด)
                                  U   แทน จำนวนคนในกลุ่มผู้รอบรู้ (N1) ที่ทำข้อสอบข้อนั้นถูก
                                   L   แทน จำนวนคนในกลุ่มผู้ไม่รอบรู้ (N2) ที่ทำข้อสอบข้อนั้นถูก
          กรณีตัวลวง
         
           เมื่อ               B      แทน ค่าดัชนี บี หรือค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (ตัวลวง)
                                N1    แทน จำนวนคนในกลุ่มผู้รอบรู้ (หรือสอบได้คะแนนเท่ากับหรือสูงกว่าจุดตัด)
                                N2     แทน จำนวนคนในกลุ่มผู้ไม่รอบรู้ (หรือสอบได้คะแนนต่ำกว่าจุดตัด)
                                U      แทน จำนวนคนในกลุ่มผู้รอบรู้ (N1) ที่ตอบตัวลวงนั้น
                                L      แทน จำนวนคนในกลุ่มผู้ไม่รอบรู้ (N2) ที่ตอบตัวลวงนั้น
           7.  ค่าดัชนี บี มีค่าตั้งแต่ –1.00 ถึง +1.00
           8.  การแปลความหมายค่าดัชนี บี มีเกณฑ์  ดังนี้

ค่าดัชนี B

การแปลความหมาย

1.00
0.50-0.99
0.20-0.49
0.00-0.19
ต่ำกว่า 0.00 หรือเป็นค่าติดลบ

บ่งชี้ ผู้รอบรู้ – ไม่รอบรู้ได้ถูกต้องทุกคน
บ่งชี้ ผู้รอบรู้ – ไม่รอบรู้ได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
บ่งชี้ ผู้รอบรู้ – ไม่รอบรู้เป็นบางส่วน
บ่งชี้ ผู้รอบรู้ – ไม่รอบรู้ได้ถูกต้องน้อยมากหรือไม่ถูกเลย
บ่งชี้ ผู้รอบรู้ – ไม่รอบรู้ผิดพลาดหรือตรงกันข้ามกับความ
                        เป็นจริง

         9.  ข้อสอบที่เหมาะสมจะนำไปใช้ในกรณีตัวถูก ควรมีค่าดัชนี บี ตั้งแต่ +.20 ขึ้นไป   สำหรับ ตัวลวงควรมีค่าดัชนี  บี ตั้งแต่ .05 ถึง .50
ตัวอย่าง   นำข้อสอบแบบอิงเกณฑ์    จำนวน 10 ข้อ  ที่ใช้วัดจุดประสงค์การเรียนรู้เดียวกันไปสอบนักศึกษาจำนวน  45   คน  โดยมีเกณฑ์การตัดสินให้ผ่านถ้าตอบถูก  6 ข้อ หรือได้คะแนน 6คะแนนขึ้นไป  นำผลการสอบของนักเรียนทั้งหมดมาแบ่งกลุ่มผู้รอบรู้และไม่รอบรู้ พบว่ามีผู้ผ่านเกณฑ์หรือรอบรู้ 25 คน  และไม่ผ่านเกณฑ์ 20 คน ทำการนับจำนวนผู้ตอบถูกในแต่ละ ข้อของแต่ละกลุ่มและคำนวณค่าดัชนี B  ดังนี้