1. ช่วยให้ทราบว่าข้อสอบแต่ละข้อมีคุณภาพอย่างไร ข้อใดใช้ได้หรือข้อใดใช้ไม่ได้ ทำให้สามารถคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพดี นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
2. ช่วยในการพัฒนาปรับปรุงข้อสอบที่ใช้ไม่ได้ให้ใช้ได้ หรือข้อที่ใช้ได้อยู่แล้วให้มี คุณภาพดียิ่งขึ้นอีกด้วย
ในกรณีที่เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ คุณภาพของข้อสอบแต่ละข้อนอกจากจะขึ้นอยู่กับการเขียนตัวคำถามและตัวเลือกที่เป็นตัวถูกแล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของตัวลวงแต่ละตัวด้วยว่าสามารถทำหน้าที่เป็นตัวลวงได้มากน้อยเพียงใด และลวงเด็กประเภทไหนมากกว่ากัน ดังนั้นควรวิเคราะห์คุณภาพของตัวลวงด้วยจะช่วยให้สามารถพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขข้อสอบได้ตรงจุดยิ่งขึ้น
3. ช่วยเป็นแนวทางให้ครูเขียนข้อสอบได้ดีขึ้น เพราะผลการวิเคราะห์จะแสดงให้ เห็นว่าข้อใดเขียนกำกวมหรือไม่ชัดเจน และจะช่วยให้ครูระมัดระวังการใช้สำนวนภาษาที่ใช้ในการเขียนคำถามรวมทั้งตัวเลือกที่เป็นตัวถูกและตัวลวงด้วย
4. ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานในการออกข้อสอบในระยะยาว เพราะครูสามารถเก็บข้อสอบที่มีคุณภาพดีไว้ใช้ในโอกาสต่อไป
5. เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างข้อสอบคู่ขนาน
6. เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างธนาคารข้อสอบ
7. เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างข้อสอบมาตรฐาน