|
|
ธนาคารข้อสอบ (Item Bank) คือแหล่งที่รวมข้อสอบที่ดีที่เราคัดเลือกแล้วจากการวิเคราะห์ข้อสอบ ซึ่งวิธีการสร้างธนาคารข้อสอบทำได้โดยการบันทึกข้อคำถามลงในบัตรข้อสอบ ซึ่งบัตรข้อสอบนี้จะจัดให้มีรูปร่างอย่างไรก็ได้ แต่โดยปกติแล้วมักจะทำเป็นบัตรสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดพอเหมาะที่จะเขียนข้อคำถามได้ ที่นิยมใช้คือขนาด 4 x 6 นิ้ว หรือ 6 x 8 นิ้ว ใช้ 1 แผ่นต่อข้อสอบ 1 ข้อ อาจจะใช้กระดาษหลาย ๆ สีหรือเขียนหมึกสีต่างกันก็ได้เพื่อแบ่งเป็นพวกได้ง่าย
รายการที่จะบันทึกลงในบัตรข้อสอบก็แล้วแต่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ แต่โดยทั่ว ๆ ไป ควรจะมีสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. ด้านหน้าของบัตร ควรประกอบด้วย
1.1 เลขที่ ควรใส่เลขที่ข้อสอบที่เราคัดเลือกแล้ว โดยเรียงลำดับตั้งแต่ 1 เป็นต้นไปตามลำดับ เพื่อความสะดวกในการค้นหา
1.2 วิชา – ชั้น ควรระบุว่าเป็นข้อคำถามของวิชาใด ระดับชั้นใด
1.3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.4 ตัวข้อสอบ
1.5 ความมุ่งหมาย ควรระบุให้ทราบว่าข้อคำถามนั้นใช้สำหรับวัดพฤติกรรมระดับใด
1.6 แหล่งที่มาของคำถาม (ผู้เขียนข้อคำถาม)
ตัวอย่าง ด้านหน้าของบัตรข้อสอบ
|
เลขที่ …….
วิชา…………………………เรื่อง…………………………ชั้น……….
จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม :……………………………………………
คำถาม ……………………………………………………………
ก. …………………………………………………………
ข. …………………………………………………………
ค. …………………………………………………………
ง. …………………………………………………………
จ. …………………………………………………………
วัดพฤติกรรมด้าน …………………………………………………….
แหล่งที่มา ……………………………………………………. |
|
2. ด้านหลังของบัตร ควรประกอบด้วย
2.1 ใช้ครั้งที่เท่าไร เมื่อไร กับใคร มีจำนวนเท่าไร และเพื่อวัตถุประสงค์อะไร
2.2 ผลการวิเคราะห์ค่า p และค่า r ของตัวเลือกแต่ละตัวในการนำไปใช้แต่ละครั้ง
2.3 ความเห็น เพื่อให้กรอกความคิดเห็นในการนำไปใช้แต่ละครั้ง
ตัวอย่าง ด้านหลังของบัตรข้อสอบ |
ใช้ครั้งที่
วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2547
ชั้น
จำนวนนักศึกษา
เพื่อ |
1
23 ก.พ. 44
ป.กศ.
120
สอบปลายภาค |
2 |
3 |
หมายเหตุ |
ตัวเลือก |
p |
r |
p |
r |
p |
r |
|
ก
ข
(ค)
ง
จ |
|
|
|
|
|
|
|
ความเห็น |
|
|
|
|
|
|
|
|
การคัดเลือกข้อสอบเพื่อเก็บไว้ในธนาคารข้อสอบ
เพื่อให้มีข้อสอบเก็บสำรองไว้มาก ๆ ในธนาคารข้อสอบสำหรับนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เกณฑ์การคัดเลือกค่า p และค่า r ของข้อคำถามเป็นดังนี้ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2530:305)
1. เพื่อการสอบปลายภาค ควรเลือกข้อที่มีค่า p อยู่ระหว่าง .20 ถึง .80 ค่า r +.20 ขึ้นไป
2. เพื่อการสอบย่อย ควรเลือกข้อที่มีค่า p อยู่ระหว่าง .70 ถึง .95 และค่า r +.20 ขึ้นไป หรืออาจมีค่า r ต่ำกว่า +.20 ปนอยู่ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่ติดลบ
3. เพื่อการคัดเลือก ควรเป็นข้อที่มีค่า p อยู่ระหว่าง .05 ถึง .60 ค่า r +.20ขึ้นไป
|
|
|