1.  การวิเคราะห์ข้อสอบ  เป็นกระบวนการในการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบเป็นรายข้อในเรื่องค่าความยกและค่าอำนาจจำแนก
          2.  การวิเคราะห์ข้อสอบมี  2  แบบ  คือการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงกลุ่ม  และการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์
          3.  การเคราะห์ข้อสอบแบบอิงกลุ่ม  เป็นการวิเคราะห์ข้อสอบรวมทั้งรายวิชา  เพื่อหาค่าความยากง่ายซึ่งหาได้โดยการเอาสัดส่วนหรือจำนวนร้อยละของคนที่ตอบข้อสอบข้อนั้นถูกกับจำนวนคนทั้งหมด  และค่าอำนาจจำแนกซึ่งหาได้โดยเอาค่าความยากของกลุ่มอ่อนไปลบอกจากค่าความยากของกลุ่มเก่งของข้อสอบในข้อนั้น
         4.  ค่าความยกในการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงกลุ่มแต่ละข้อที่ถือว่าใช้ได้  มีค่าอยู่ระหว่าง  .20 - .80  และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  .20  ขึ้นไป
          5.  การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์  เป็นการวิเคราะห์ข้อสอบรายเรื่อง  เพื่อหาค่าความยกง่ายโดยการเอาสัดส่วนจำนวนคนที่ตอบข้อสอบข้อนั้นถูกกับจำนวนคนทั้งหมดก่อนและหลังเรียน  และค่าอำนาจจำแนกโดยหาสัดส่วนระหว่างจำนวนคนที่ตอบถูกหลังสอนลบก่อนสอนกับจำนวนคนทั้งหมดที่เข้าสอบ
          6.  ค่าความยกในการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์แต่ละข้อที่ถือว่าใช้ได้ก่อนสอนควรต่ำกว่า  .41  หลังสอนควรมีค่า  .71  ขึ้นไป  และค่าอำนาจจำแนกซึ่งเป็นการบ่งถึงประสิทธิภาพการเรียนการสอน  ควรมีค่าเป็นบวก
         7.  การวิเคราะห์ข้อสอบช่วยให้ทราบคุณภาพข้อสอบแต่ละข้อ  เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงข้อสอบ  ตลอดจนเป็นแนวทางเขียนข้อสอบได้ดีขึ้น
         8.  ธนาคารข้อสอบ  เป็นแหล่งรวบรวมข้อสอบที่ได้คัดเลือกแล้วจากการวิเคราะห์หาคุณภาพ  เพื่อสะดวกในการคัดเลือกนำไปใช้สอบย่อย  สอบปลายภาค  และสอบคัดเลือก