ประเภทของสารสนเทศ
     
  การจำแนกประเภทของสารสนเทศมีวิธีที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการนำหลักเกณฑ์ใดมาใช้
จัดแบ่ง ในที่นี้ขอจัดประเภทของสารสนเทศออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
     
  1. การจัดตามแหล่งสารสนเทศ คือ การจัดประเภทสารสนเทศตามวิธีการผลิตและ การจัดทำมี
3 ประเภท คือ สารสนเทศปฐมภูมิ สารสนเทศทุติยภูมิ และสารสนเทศตติยภูมิ
   
    1.1 สารสนเทศปฐมภูมิ (primary source) หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากต้น
แหล่งผลิตโดยตรง มักเป็นสารสนเทศทางวิชาการที่ผลิตออกมาเผยแพร่ไปยังผู้ใช้ในรูปแบบของหนังสือ
วารสาร รายงานการวิจัย สิทธิบัตร มาตรฐาน แบบฟอร์มบันทึกข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
สารสนเทศปฐมภูมินี้จะให้รายละเอียดของเนื้อหาที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือ ค้นพบทฤษฎีใหม่
ให้แก่ผู้ใช้
    1.2 สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary source) หมายถึง สารสนเทศที่นำสารสนเทศ
ปฐมภูมิ มาจัดทำขึ้นใหม่ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาสารสนเทศปฐมภูมิแก่ผู้ใช้ ลักษณะของ
สารสนเทศทุติยภูมิจึงทำหน้าที่ชี้แหล่งให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้สะดวก รวดเร็ว โดยจัดทำในรูปแบบของ
การรวบรวม สรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ดรรชนี สาระสังเขป และบทความปริทัศน์เฉพาะเรื่อง เป็นต้น
    1.3 สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary source) หมายถึง สารสนเทศที่จัดทำขึ้นเป็น
รูปแบบใหม่ โดยอาศัยสารสนเทศปฐมภูมิเป็นหลักประกอบกับการใช้สารสนเทศทุติยภูมิในการค้นหา และชี้
บอกแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิในเรื่องที่ต้องการว่าอยู่ที่ใด ดังนั้น การจัดทำสารสนเทศตติยภูมิ จึงมีการ
วิเคราะห์ ประเมิน และนำมาประมวลให้สั้น กระชับ เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้ไม่ได้ให้เนื้อหาสาระทาง
วิชาการโดยตรง แต่สามารถใช้ประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศได้ รูปแบบของสารสนเทศตติยภูมินี้ ได้แก่
บรรณานุกรม นามานุกรม บรรณานิทัศน์ เป็นต้น
     
  2. การจัดตามแหล่งกำเนิด คือ การจัดประเภทสารสนเทศตามแหล่งที่มาของสารสนเทศ ซึ่งมี
2 ประเภท คือ สารสนเทศภายในองค์กร และสารสนเทศภายนอกองค์กร
     
    2.1 สารสนเทศภายในองค์กร หมายถึง สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในด้าน
ต่างๆ และมีการประมวลผลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีความต้องการใช้สารสนเทศนั้น ตัวอย่างของ
สารสนเทศภายในองค์กร เช่น ข้อมูลบุคลากร ระเบียบปฏิบัติ งบประมาณ โครงการบริหาร ระบบสารสนเทศ
    2.2 สารสนเทศภายนอกองค์กร หมายถึง สารสนเทศที่ผู้อื่นจัดทำและเผยแพร่
มักเป็นข้อมูล ที่มีความหลากหลายและมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น เศรษฐกิจ
การเมืองการปกครอง การตลาด การลงทุน เทคโนโลยี หรือสังคมทั่วไป
   
  สารสนเทศภายในและภายนอกองค์กรล้วนเป็นส่วนสำคัญที่นำมาใช้กับการวางแผนเพื่อประกอบ
การตัดสินใจ ประเภทของสารสนเทศสามารถสรุปได้ดังภาพ
     
     
1.1
  ความหมายของสารสนเทศ
  และกลุ่มคำที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ
1.2
  คุณลักษณะของสารสนเทศ
1.3
  ประเภทของสารสนเทศ
1.4
  ความสำคัญของสารสนเทศ
     
หน้าหลักบทที่ 1