รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม (ต่อ)
 
  6.5 ถ้าไม่มีสำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์ แต่ปรากฏชื่อโรงพิมพ์ ให้ใช้ชื่อโรงพิมพ์แทน โดยระบุคำว่า
“โรงพิมพ์” นำหน้าชื่อ เช่น
   
  ตัวอย่าง
โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี. พี.(ในตัวเล่มระบุเป็น หจก. โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี. พี.)
โรงพิมพ์ตำรวจ.
โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นต์. (ในตัวเล่มระบุเป็น บริษัท สุพรีมพริ้นต์จำกัด)
โรงพิมพ์กรุงเทพ. (ในตัวเล่มระบุเป็น บริษัท โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด)
  6.6 กรณีชื่อผู้แต่งเป็นหน่วยงานราชการ (ซึ่งใช้ชื่อหน่วยงานระดับกระทรวงหรือกรม
หรือเทียบเท่าเป็นผู้แต่ง) หรือเอกชน และหน่วยงานดังกล่าวเป็นผู้จัดพิมพ์ ให้ลงชื่อย่อของหน่วยงานนั้น คือคำบอก
ระดับหน่วยงานต่อด้วยไปยาลน้อย เช่น
   
  ตัวอย่าง
กระทรวงฯ.  (ชื่อผู้แต่งใช้ว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
กรมฯ.  (ชื่อผู้แต่งใช้ว่า กรมศิลปากร)
มหาวิทยาลัยฯ.  (ชื่อผู้แต่งใช้ว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
ิ์
  หากมีชื่อหน่วยงานย่อยกว่าระดับกรมรับผิดชอบการพิมพ์ ให้ระบุชื่อหน่วยงานย่อยลงได้อีก เช่น
 
  ตัวอย่าง
  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมฯ  (ชื่อผู้แต่งใช้ว่า กรมพลศึกษา ผู้จัดพิมพ์เป็นหน่วย
งานย่อยของกรมคือ ฝ่ายประขาสัมพันธ์)
   
  กองการเจ้าหน้าที่ กรมฯ  (ชื่อผู้แต่งใช้ว่า กรมควบคุมโรคติดต่อ ผู้จัดพิมพ์เป็น
หน่วยงานย่อยของกรมคือ กองการเจ้าหน้าที่)
   
  6.7 ถ้าไม่ปรากฏทั้งสำนักพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์และโรงพิมพ์ ให้ใช้คำว่า ม.ป.พ. (ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์)
สำหรับหนังสือภาษาไทย และคำว่า n.p. (no publisher) สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ
   
   
10.1
  หลักการเขียนบรรณานุกรม
10.2
  การลงรายการชื่อผู้แต่ง
10.3
รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม
10.4
  การเขียนบรรณานุกรมต้องลงรายการ
  ตามรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศ
10.5
  การพิมพ์บรรณานุกรมและรายการ
  เอกสารอ้างอิง
     
     
     
   
   
  กลับหน้าหลักบทที่ 10