ประเภทของแหล่งสารสนเทศ
     
  การจัดประเภทของแหล่งสารสนเทศ มีการจัดจำแนกโดยใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น
     
  1. การจำแนกตามสถานภาพของแหล่งสารสนเทศ ประกอบด้วย
    1.1 แหล่งสารสนเทศที่เป็นทางการ (formal information source) หมายถึง
แหล่งสาร สนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่ชัดเจน เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ และสถาบันบริการ
สารสนเทศอื่นๆ
    1.2 แหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นทางการ (informal information sources) หมายถึง
แหล่งสารสนเทศที่ให้สารสนเทศแก่ผู้ใช้จากการสื่อสารอย่างเป็นทางการ เช่น การพูดคุยสนทนา การประชุม
การศึกษาดูงาน เป็นต้น
  2. การจำแนกตามสาขาวิชา สามารถจัดแบ่งออกเป็นสาขาวิชาใหญ่ๆ 3 สาขา คือ
    2.1 แหล่งสารสนเทศทางสังคมศาสตร์ (information sources in social sciences)
เป็นแหล่งสารสนเทศที่จัดเก็บและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในสาขาสังคมศาสตร์ เช่น รัฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ มานุษยวิทยา ทัณฑวิทยา สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ จริยศาสตร์
ศึกษาศาสตร์ และจิตวิทยาสังคม
    2.2 แหล่งสารเทศทางมนุษยศาสตร์ (information sources in humanities)
เป็นแหล่งสารสนเทศที่จัดเก็บและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในสาขามนุษยศาสตร์ เช่น ปรัชญา ศาสนา
ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ ภาษา และวรรณกรรม
    2.3 แหล่งสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ (information sources in science)
เป็นแหล่งสารสนเทศที่จัดเก็บและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เช่น
กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์
เกษตรศาสตร์ วนศาสตร์ การประมง เป็นต้น
  3. การจำแนกตามรูปแบบและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน มีดังนี้
    3.1 แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศ เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีการ
จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานให้บริการสารสนเทศประเภทต่างๆ โดยไม่หวังผลกำไรทางธุรกิจ ประกอบด้วย
  1) ห้องสมุด (library) เป็นแหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่จัดเก็บ
รวบรวมและให้บริการสืบค้นสารสนเทศ จัดเป็นสถาบันที่มีบทบาทในการพัฒนาสังคมทุกด้านทั้งการศึกษา
วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การดำเนินงานให้บริการสารสนเทศ
ของห้องสมุด แบ่งออกเป็น
    1.1) หอสมุดแห่งชาติ (nation library) คือ หอสมุดที่จัดตั้งประจำชาติของ
แต่ละ ประเทศ ซึ่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่มีการผลิตขึ้นในประเทศ ทำหน้าที่เป็นห้องสมุดรับฝาก
สิ่งพิมพ์ รัฐบาล และศูนย์กลางในการและเปลี่ยนและยืมเอกสารแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติจึงเป็นแหล่ง
สารสนเทศที่ สามารถสืบค้นสารสนเทศภายในประเทศได้ครอบคลุมทั้งที่เป็นเอกสารฉบับเต็ม และแหล่ง
บรรณานุกรม ของประเทศ
    1.2) ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (academic library) จัดตั้งขึ้นเพื่อทำ
หน้าที่เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของสถาบันในการค้นคว้าสารสนเทศ เพื่อ
ประกอบการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริการสังคมตามภาระหน้าที่ของ
สถาบันอุดมศึกษา การสืบค้นสารสนเทศภายในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา จะได้สารสนเทศตามที่มีการจัด
การเรียนการสอนตามหลักสูตรของแต่ละสถาบัน และสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจของ
สถาบันอุดมศึกษา
    1.3) ห้องสมุดประชาชน (public library) จัดตั้งเพื่อให้บริการสารสนเทศแก่
ชุมชน และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการอ่าน สำหรับเด็กและเยาวชน รวมทั้งจัดบริการข้อมูล ข่าวสารที่
สนใจในชุมชนให้แก่ผู้ใช้บริการ สารสนเทศที่สามารถสืบค้นได้จากห้องสมุดประชาชนจึงเป็นสารสนเทศ
ที่ไม่จำกัดสาขาวิชา รวมทั้งการสืบค้นสารสนเทศโดยเฉพาะเอกสารคำสอนในรายวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งห้องสมุดประชาชนของแต่ละจังหวัดจัดให้บริการ เพราะทำหน้าที่เป็นห้องสมุดรับฝาก
มหาวิทยาลัยดังกล่าว
     
     
2.1
  ความหมายของแหล่งสารสนเทศ
2.2
  ประเภทของแหล่งสารสนเทศ
2.3
  ศูนย์วิทยบริการ สถาบันการพลศึกษา
    วิทยาเขตชุมพร
2.4
  ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศ
     
     
หน้าหลักบทที่ 2