ประเภทของแหล่งสารสนเทศ (ต่อ)
     
    1.4) ห้องสมุดเฉพาะ (special library) คือ ห้องสมุดที่จัดตั้งภายในหน่วยงาน
ของรัฐและเอกชน เพื่อให้บริการสารสนเทศแก่บุคลากรของหน่วยงานเดียวกับที่ห้องสมุดสังกัดอยู่ โดยเน้น
ทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อสนับสนุน
การค้นคว้าวิจัย อันนำไปสู่การจัดการความรู้ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านผลผลิตและการปฏิบัติงานของ
หน่วยงาน สารสนเทศที่สามารถสืบค้นจากห้องสมุดเฉพาะจึงเป็นสารสนเทศเฉพาะสาขาที่เป็นทั้งสารสนเทศ
แบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่สามารถค้นคว้าได้อย่างครอบคลุมและละเอียดลึกซึ้ง
    1.5) ห้องสมุดโรงเรียน (school library) คือ ห้องสมุดที่จัดตั้งภายในโรงเรียน
ที่เปิดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้บริการสารสนเทศแก่นักเรียน ครู และบุคลากร
ของโรงเรียน โดยเน้นทรัพยากรสารสนเทศที่ส่งเสริมการศึกษาเป็นสำคัญ ดังนั้นสารสนเทศที่สามารถสืบค้น
ได้จากห้องสมุดโรงเรียน จึงเป็นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่มีการเปิด
สอนของโรงเรียน ปัจจุบัน บทบาทของห้องสมุดโรงเรียนมีความสำคัญต่อการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ซึ่งนักเรียนต้องค้นคว้าข้อมูลในรายวิชาต่างๆ ด้วยตนเอง
  2) ศูนย์สารสนเทศ (information center) หรือเรียกอีกชื่อว่า ศูนย์บริการเอกสาร
(documentation center) เป็นแหล่งสารสนเทศที่ทำหน้าที่หลักเหมือนห้องสมุด ซึ่งมีหน้าที่คัดสรร จัดหา
จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้าน หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างละเอียด ลึกซึ้ง แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม
เช่น นักวิจัย นักวิชาการ นักบริหาร หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศในการศึกษา
ค้นคว้าอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน ศูนย์สารสนเทศอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เอกชน
หรือองค์กรระหว่างประเทศ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ศูนย์บริการเอกสาร หอเอกสาร
ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล เช่น ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย สังกัดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หอเอกสารแห่งประเทศไทย สังกัดสำนักวิทยทรัพยากร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์สารสนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สังกัดสำนักหอสมุด
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร สังกัดสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การดำเนินงานให้บริการของศูนย์สารสนเทศเน้นการเข้าถึงและสนองตอบต่อตามความต้องการของผู้ใช้
เช่น บริการสาระสังเขปและดรรชนี บริการเขียนรายงาน บริการตอบคำถามทางโทรศัพท์
บริการคัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศ บริการถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น การจัดฝึกอบรม เป็นต้น
  3) ศูนย์ข้อมูล (data center) เป็นแหล่งสารสนเทศที่สะสมและเผยแพร่ข้อมูล
เฉพาะด้าน สารสนเทศของศูนย์ข้อมูลมักเป็นตัวเลข ข้อมูลดิบ หรือข้อมูลที่มีการดำเนินงานไปแล้วบางส่วน
ที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บ ประมวลผล และสืบค้น ศูนย์ข้อมูลจัดเป็นคลัง
ข้อมูลเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานซึ่งศูนย์ข้อมูลนั้นสังกัดอยู่ การสืบค้นสารนเทศจากศูนย์ข้อมูลจึงเป็น
การใช้สารสนเทศเพื่อประโยชน์ในด้านการบริหาร การวางแผน การตัดสินใจ การวิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนา
งานที่สนองตอบตามภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ เช่น ศูนย์ข้อมูลข่าวสารการตลาด สังกัดหอการค้าแห่ง
ประเทศไทย และหอการค้าไทย ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สังกัดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์ข้อมูล
ข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ศูนย์ข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา สังกัดกรมทรัพย์สินปัญญา
ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย สังกัดสำนักงานพลังงานแห่งชาติ คลังข้อมูลส่งเสริมการส่งออก
สังกัดกรมพานิชย์สัมพันธ์ เป็นต้น
  4) หน่วยงานสถิติ (statistical offices) เป็นแหล่งสารสนเทศที่จัดเก็บ
    (1) จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลทางสถิติเป็นตัวเลข
    (2) รับจดทะเบียนข้อมูลในเรื่องต่างๆ
    ซึ่งอาจดำเนินงานเป็นหน่วยงานย่อยๆ ในองค์กร หรือได้รับการจัดตั้งเป็นองค์กร
เอกเทศ เพื่อดำเนินงานด้านสถิติและจดทะเบียนเฉพาะเรื่องตามภารกิจของหน่วยงาน การสืบค้นสารสนเทศ
จากหน่วยงานสถิติ จึงเป็นการค้นหาสารสนเทศด้านสถิติ ตัวเลข หรือข้อมูลที่มีการจดทะเบียน เพื่อประโยชน์
ในการบริหารจัดการหรือการปฏิบัติงาน หน่วยงานสถิติที่มีการจัดตั้ง ได้แก่ หน่วยงานสถิติที่อยู่ในกระทรวง
กรม กองต่างๆ เช่น ศูนย์สถิติการพาณิชย์ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ กองคลังพื้นฐาน และสนเทศสถิติ
สังกัดสำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์สถิติการเกษตร สังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ เป็นต้น
     
2.1
  ความหมายของแหล่งสารสนเทศ
2.2
  ประเภทของแหล่งสารสนเทศ
2.3
  ศูนย์วิทยบริการ สถาบันการพลศึกษา
    วิทยาเขตชุมพร
2.4
  ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้สารสนเทศ
     
     
หน้าหลักบทที่ 2