ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิง
   
  1. ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิงที่แบ่งตามลักษณะการให้คำตอบ ประกอบด้วย
    1.1 ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้คำตอบหรือข้อเท็จจริงโดยตรง เป็นการนำเสนอ
เนื้อหาที่สามารถตอบคำถาม หรือให้ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ใช้ตามต้องการ ได้แก่ พจนานุกรม สารานุกรม
หนังสือรายปี นามานุกรม อักขรานุกรมชีวิประวัติ เป็นต้น
    1.2 ทรัพยากรสารสนเทศที่ชี้แนะนำแหล่งคำตอบว่าอยู่ที่ใด เป็นการนำเสนอเนื้อหา
ที่แจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าเรื่องราวที่ต้องการจะหาได้จากที่ใด และไม่มีรายละเอียดของเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการ
 
  2. ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิงที่แบ่งตามลักษณะเนื้อหา ประกอบด้วย
    2.1 ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิงทั่วไป เป็นการนำเสนอเนื้อหาความรู้ในเรื่อง
ต่างๆ ที่ไม่จำกัดสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
    2.2 ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิงเฉพาะวิชา เป็นการนำเสนอเนื้อหาความรู้
เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
  3. ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิงที่แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ ประกอบด้วย
    3.1 ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิงประเภทสิ่งพิมพ์ หรือหนังสืออ้างอิง
(reference books) เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อเท็จจริงจากแหล่งต่างๆ มาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ
สำหรับการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศเฉพาะเรื่อง และมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
  1) ขอบเขตเนื้อหา เป็นหนังสือที่รวบรวมสารสนเทศหรือให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง
ต่างๆ สำหรับใช้ค้นคว้า อ้างอิง เพียงตอนใดตอนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่หนังสือที่ต้องอ่านทั้งเล่ม
  2) ผู้แต่งหรือผู้รวบรวม เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่เขียน
และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป หรืออาจเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดทำหนังสือเล่มนั้น
ทำให้เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาน่าเชื่อถือได้
  3) การเรียบเรียงเนื้อหา มีการจัดเรียงเนื้อเรื่องอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกใน
การค้นหาซึ่งการเรียบเรียงมีหลายลักษณะ ได้แก่
    (1) เรียงตามลำดับอักษร เป็นการจัดเรียงเนื้อหาตามลำดับอักษร ก-ฮ หรือ A-Z
ของคำ วลี ชื่อบุคคล หรือชื่อวิชาที่ปรากฏในเนื้อหา
    (2) เรียงตามเหตุการณ์ เป็นการจัดเรียงเนื้อหาตามลำดับ วัน เดือน ปี ที่
เกิดเหตุการณ์ขึ้น
    (3) เรียงตามหมวดหมู่ เป็นการจัดเรียงตามลำดับหมวดหมู่สาขาวิชาเพื่อช่วย
ให้ทราบว่าแต่ละวิชามีเรื่องอะไรบ้าง
    (4) เรียงตามสภาพภูมิศาสตร์ เป็นการจัดเรียงตามลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
หรือเรียงตามลำดับอักษรชื่อสถานที่
  4) ลักษณะรูปเล่ม โดยทั่วไปหนังสืออ้างอิงมักมีรูปเล่มแข็งแรง หรือมีความหนากว่า
หนังสือปกติ มีการเย็บเล่มอย่างดี อาจจัดทำเป็นหนังสือชุดหรือเล่มเดียวจบที่มีราคาสูง หรือเป็นหนังสือหายาก
  5) ลักษณะพิเศษอื่นๆ มีการจัดทำลักษณะอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วย
ค้นหาเรื่องในเล่ม ช่วยให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการค้นคว้าเนื้อหาได้รวดเร็วขึ้น ได้แก่
    5.1) ดรรชนี หรือดัชนี (index) คือ คำ หรือวลี ที่ปรากฎในเนื้อหาของหนังสือ
นำมาจัดเรียงตามลำดับอักษรของคำ หรือวลีพร้อมระบุเลขหน้ากำกับ ถ้าเป็นหนังสือเล่มเดียวจบดรรชนีจะ
ปรากฎในส่วนท้ายของหนังสือ แต่ถ้าเป็นหนังสือหลายเล่มจบ ดรรชนีมักพิมพ์แยกเป็นเล่มหนึ่งต่างหาก
เรียกว่า ดรรชนีรวม (cumulative index) ซึ่งจัดเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทแนะนำแหล่งคำตอบ
    5.2) อักษรนำเล่ม/อักษรกำกับเล่ม (volume guide) คือกลุ่มข้อมูลที่ระบุ
ลำดับเล่มที่ของหนังสือ และคำหรืออักษรของเรื่องที่เริ่มต้นและจบในแต่ละเล่ม มักปรากฎที่สันหนังสือของ
หนังสือหลายเล่มจบ
    5.3 อักษรนำ/คำนำทาง (running head/guide word) คืออักษรหรือคำที่
ปรากฎอยู่มุมบนหรือมุมล่างซ้าย ในหน้ากระดาษเลขคู่ และมุมบนหรือมุมล่างขวาในหน้ากระดาษเลขคี่ คำที่
ปรากฎคือคำแรก และ/หรือคำสุดท้าย เนื้อหาในหน้านั้น ๆ ของหนังสือ
    5.4) ดรรชนีหน้ากระดาษ (thumb index) คือ ส่วนที่เจาะเว้าริมกระดาษ
ด้านตรงข้ามกับสันหนังสือ เป็นรูปครึ่งวงกลม และมีตัวอักษรกำกับ หรืออาจเป็นแถบดำและมีตัวอักษรกำกับ
  6) การจัดบริการ ถ้าเป็นหนังสืออ้างอิงที่อยู่ในสถาบันบริการสารสนเทศจะมีสัญลักษณ์
อ (ย่อมาจากคำว่าอ้างอิง) และ R หรือ Ref (ย่อมาจากคำว่า Reference) อย่างใดอย่างหนึ่งปรากฎบนเลข
เรียกหนังสือ ซึ่งไม่อนุญาตให้ยืมออก เนื่องจากอาจเป็นหนังสือหายาก ราคาสูง หรือเป็นหนังสือที่ไม่ต้องอ่าน
เนื้อหาตลอดเล่ม
     
     
4.1
  ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
  เพื่อการอ้างอิง
4.2
  ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
4.3
  การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
4.4
  การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
     
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 4