ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (ต่อ)
   
  การนำเสนอเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิง สามารถจำแนกได้ 10 ประเภท ดังนี้
    1. พจนานุกรม (dictionaries)
    2. สารานุกรม (encyclopedias)
    3. หนังสือรายปี (yearbooks,almanace,annuals)
    4. หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ (geographical sources)
    5. คู่มือทางวิชาการ (hadbooks, manuals)
    6. อักขรานุกรมชีวประวัติ (biographical dictionaries)
    7. นามานุกรม (dierctories)
    8. สิ่งพิมพ์รัฐบาล (government publications)
    9. บรรณานุกรม (bibligraphies)
    10. ดรรชนี (indexes)
    แต่ละประเภทมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
     
  พจนานุกรม
  พจนานุกรม เป็นสารสนเทศอ้างอิงที่เรียงเนื้อหาตามลำดับอักษรของคำ ให้ความรู้เกี่ยว
กับคำศัพท์ เช่น ความหมาย การสะกดคำ ชนิดของคำ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคำที่มีความหมายตรง
ข้าม ประวัติคำ หรือตัวอย่างการใช้คำ เป็นต้น พจนานุกรมจัดเป็นแหล่งสารสนเทศที่สำคัญสำหรับการเลือกใช้
คำในการสื่อสารทางการพูด และการเขียน รวมทั้งการแปลความหมายของภาษา เครื่องมือช่วยค้นที่มักมีการ
จัดทำในพจนานุกรม เช่น อักษรนำ หรือดรรชนี นิ้วหัวแม่มือ รูปเล่มของพจนานุกรม มักมีความแข็งแรง
ทนทานต่อการใช้ เนื้อหาในเล่มอาจเป็นหนังสือเล่มเดียวจบหรือหนังสือชุด ขึ้นอยู่กับจำนวนศัพท์ที่รวบรวม
หากเป็นหนังสือหลายเล่มจบจะมีสัญลักษณ์ประจำเล่มปรากฎที่สันหนังสือหรือปกนอกของหนังสือแต่ละเล่ม
พจนานุกรม บางเล่มอาจมีภาพสำคัญๆ ประกอบ หรือมีรายละเอียดอื่นๆ เช่น สัญลักษณ์ต่างๆ มาตราชั่ง ตวง
วัด ปรากฏ ท้ายเล่ม
     
  สารานุกรม
  สารานุกรมเป็นสารสนเทศอ้างอิงที่มีการเรียงเนื้อหาตามลำดับอักษรของเรื่อง หรือสาขา
วิชา สารานุกรมให้ข้อมูลที่เป็นความรู้พื้นฐานในเรื่องต่างๆ ซึ่งเขียนหรือเรียบเรียงโดยผู้เชียวชาญในแต่ละสาขา
ท้ายเรื่องจะมีชื่อหรือชื่อย่อของผู้เขียนกำกับ พร้อมบรรณานุกรมรายชื่อหนังสือและสื่ออื่นๆ ที่ประกอบการเขียน
เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม เนื้อหาที่นำเสนอในสารานุกรมมีความทันสมัยเพราะมีการปรับปรุงแก้ไขอย่าง
สม่ำเสมอ เครื่องมือช่วยค้นที่จัดทำในสารานุกรม ได้แก่ ดรรชนีท้ายเล่มของหนังสือ หรือจัดทำเป็นหนังสือ
ดรรชนี แยกเล่มต่างหาก สารานุกรมบางเล่มมีอักษรนำช่วยค้นหาเนื้อเรื่อง ถ้าเป็นสารานุกรมหลายเล่มจบจะมี
สัญลักษณ์ประจำเล่ม รูปเล่มของหนังสือสารานุกรมมักจัดทำอย่างแข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน สารานุกรม
แบ่งเป็นสารานุกรมทั่วไป และสารานุกรมเฉพาะวิชาการ สารานุกรมมีความแตกต่างจากพจนานุกรม เพราะ
พจนานุกรมให้ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์โดยเฉพาะ ความหมายของคำ แต่ สารานุกรมให้ความรู้ทั้งความหมาย
และคำอธิบายหลายประการ
     
  หนังสือรายปี
  หนังสือรายปีเป็นสารสนเทศอ้างอิงที่มีกำหนดออกเป็นรายปี จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวม
ความรู้และข้อเท็จจริง เหตุการณ์ความเคลื่อนไหวที่สำคัญ สถิติ ภาพเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของประเทศ
และภูมิภาคต่างๆ ของโลก โดยไม่มีการแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ หนังสือรายปีจึงเป็นแหล่ง
สารสนเทศที่นำเสนอข้อมูลใหม่ๆ การจัดเรียงเนื้อหาของหนังสือรายปีอาจเรียงตามลำดับหัวข้อใหญ่และหัวข้อ
ย่อยเช่นเดียวกับหนังสือทั่วไป หรือจัดเรียงตามลำดับ วัน เดือน ปี ของเหตุการณ์ต่างๆ เครื่องมือช่วยค้นพบใน
หนังสือรายปี คือ สารบัญ หรือดรรชนีท้ายเล่ม หนังสือรายปีจัดแบ่งได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย
    1. หนังสือสมพัตรสรหรือปูมปฏิทิน (almanac) นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้
ข้อเท็จจริง เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา รวมทั้งสถิติที่สำคัญ ๆ ซึ่งอาจนำเสนอเฉพาะเรื่องหรือ
จำกัดเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง
    2. หนังสือรายปีของสารานุกรม (encyclopedia supplement) จัดทำขึ้น
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาของหนังสือสารานุกรมชุดให้ทันสมัย เพื่อมุ่งเสนอความรู้ใหม่ๆ หรือ ความก้าวหน้าทาง
วิชาการในด้านต่างๆ ในรอบปีที่ผ่านมา อาจมีการเสนอสถิติ ประวัติ บุคคล เพิ่มเติม
    3. รายงานประจำปี (yearbook, annual report) จัดทำขึ้นโดยหน่วยงาน
ของภาครัฐและเอกชน เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของหน่วยงานในรอบปีที่ผ่านมา หรือรายงานความ
ก้าวหน้าทางวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่งของหน่วยงาน
     
4.1
  ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
  เพื่อการอ้างอิง
4.2
  ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
4.3
  การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
4.4
  การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
     
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 4