ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (ต่อ)
   
  แหล่งอ้างอิงทางภูมิศาสตร์
  แหล่งอ้างอิงทางภูมิศาสตร์เป็นสารสนเทศอ้างอิงที่มีการเรียบเรียงเนื้อหาเพื่อนำเสนอ
ข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในสถานที่ต่างๆ การจัด
เรียงเนื้อหาอาจเรียงตามลำดับอักษรของชื่อสถานที่ หรือที่ตั้ง การนำเสนอเนื้อหาอาจเป็นภาพลายเส้น แผนที่
หรือภาพประกอบการบรรยาย เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจมากขึ้น แหล่งอ้างอิงทางภูมิศาสตร์แบ่งออกเป็น 3
ประเภท คือ
    1. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์หรือพจนานุกรมภูมิศาสตร์ (gazetters) เป็น
แหล่งอ้างอิงที่ให้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อสถานที่ที่ถูกต้อง ตำแหน่งพิกัด แม่น้ำ ภูเขา และลักษณะทาง
กายภาพ บางครั้งอาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ ประชากร เศรษฐกิจ และสถิติ
    2. แผนที่หรือหนังสือแผนที่ (maps,atlases) เป็นแหล่งอ้างอิงให้ข้อมูลเกี่ยว
กับภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น ลักษณะของผิวโลก ที่ตั้งของประเทศ เมือง ตำบล เส้นทางคมนาคม ทิศทาง
กระแสน้ำ โดยแสดงลงบนพื้นแบบราบด้วยการย่อขนาดให้เล็กลงตามอัตราส่วนที่ต้องการและกำหนด
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แทนลักษณะทางภูมิศาสตร์ความแตกต่างของแผนที่และหนังสือแผนที่เป็นลักษณะ
ทางกายภาพ กล่างคือ แผนที่เป็นแผ่นแสดงข้อมูล แต่หนังสือแผนที่เป็นการนำแผนที่หลายๆ แผ่นมาเย็บรวม
ในหนังสือเล่มเดียว
    3. หนังสือนำเที่ยว (guide books) เป็นแหล่งอ้างอิงให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่
ท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆ ทั้งเป็นภาคหรือจังหวัด สาระที่นำเสนอในหนังสือนำเที่ยวประกอบด้วย ข้อมูลทาง
ภูมิศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เส้นทางการเดินทาง ภาพประกอบ สินค้าพื้นเมือง อาจมีรายชื่อที่พัก หรือ
ร้านอาหาร เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว
     
  คู่มือทางวิชาการ
    เป็นแหล่งอ้างอิงที่รวบรวมเรื่องราวหรือข้อเท็จจริงเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งอย่างกะทัดรัด
เพื่อใช้เป็นคู่มือในการศึกษาเรื่องที่สนใจหรือประกอบการปฏิบัติงาน
     
  อักขรานุกรมชีวประวัติ
    เป็นแหล่งอ้างอิงที่รวบรวมชีวประวัติบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการต่างๆ
สำหรับ ใช้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคล รายละเอียดจึงประกอบด้วย ชื่อ-สกุล ของเจ้าของชีวประวัติ วัน เดือน
ปีเกิด (และปีตาย) ประวัติส่วนตัวโดยสังเขป หน้าที่การงานและผลงานดีเด่น ขอบเขตเนื้อหาของอักขรานุกรม
ชีวประวัติอาจนำเสนอชีวประวัติบุคคลที่มีชื่อเสียงทั่วไปของโลก ประเทศ หรือภูมิภาค หรืออาจเป็นชีวประวัติ
ของบุคคลสำคัญเฉพาะวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง
     
  นามานุกรม
    เป็นแหล่งอ้างอิงที่รวบรวมรายชื่อบุคคล สถาบัน องค์กร สมาคม หน่วยราชการที่ให้
ราย ละเอียดเกี่ยวกับชื่อและที่อยู่สำหรับใช้ติดต่อสื่อสาร ข้อมูลในนามานุกรมจึงประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล
สถานที่อยู่ ตำแหน่งหน้าที่การงาน หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร หรือ อี-เมล์ เป็นต้น ขอบเขตของนามานุกรม
อาจจัดทำในระดับท้องถิ่น ราชการ สถาบัน กลุ่มบุคคลในอาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือด้านธุรกิจการค้า บางครั้ง
เรียกทำเนียบนาม หรือ นางสงเคราะห์
     
  สิ่งพิมพ์รัฐบาล
    เป็นแหล่งอ้างอิงที่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจต่างๆ จัดทำเพื่อเผยแพร่สารสนเทศที่
เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้น ๆ โดยอาจจัดทำเพื่อจำหน่าย หรือแจกให้เปล่าแก่หน่วยงานอื่นๆ หรือ ประชาชน
ทั่วไปรูปแบบของสารสนเทศที่ผลิตอาจเป็นหนังสือ วารสาร จุลสาร แผ่นพับ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น
เว็บไซต์ ซีดีรอม หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สารสนเทศที่ได้จากสิ่งพิมพ์รัฐบาล สามารถใช้สืบค้นเพื่อประโยชน์
์ในด้าน ต่างๆ ดังนี้
    1. ด้านการบริหาร ทำให้ทราบเกี่ยวกับผลการดำเนินงานขององค์กรที่จัดทำ
    2. ด้านกฎหมาย ทำให้ทราบกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
    3. ด้านประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบประวัติและพัฒนาการที่สามารถศึกษาค้นคว้า
ความเป็นมาของการดำเนินงานหรือข้อมูลอื่นๆ ขององค์กรที่จัดทำ
    4. ด้านการศึกษาวิจัย ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
วิจัย ซึ่งจัดเป็นข้อมูลปฐมภูมิ
    5. ด้านการให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ให้ข้อมูลที่บรรณารักษ์
หรือ เอกสารสนเทศ สามารถใช้เป็นคู่มือในการตอบคำถามแก่ผู้ใช้ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่อาจสืบค้นจากแหล่งอื่นๆ
ไม่ได้
     
4.1
  ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
  เพื่อการอ้างอิง
4.2
  ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
4.3
  การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
4.4
  การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
     
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 4