ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (ต่อ)
   
  บรรณานุกรม
  เป็นแหล่งอ้างอิงที่ให้สารสนเทศในรูปแบบของบัญชีรายชื่อหนังสือหรือวัสดุอื่นๆ ที่มีราย
ละเอียดเกี่ยวกับผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์ ปีที่พิมพ์ อาจมีจำนวนหน้า
ราคา บรรณานิทัศน์หรือสาระสังเขปประกอบ รวมถึงการระบุ สถานที่จัดเก็บ เนื้อหาของบรรณานุกรม มีการ
จัดเรียงตามลำดับตัวอักษร ซึ่งอาจจัดเป็นหมวดหมู่ของเนื้อหาวิชา หรือชื่อผู้แต่ง การสืบค้นสารสนเทศจาก
บรรณานุกรมเป็นการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อประกอบการศึกษาวิจัยได้อย่างรวดเร็วครอบคลุมตาม
ขอบข่ายของเนื้อหาที่จัดทำ เช่น บรรณานุกรมสากล บรรณานุกรมแห่งชาติ บรรรณานุกรมเพื่อการค้า
บรรณณานุกรมเฉพาะสาขาวิชา บรรณานุกรมของห้องสมุด เป็นต้น
 
  ดรรชนีหรือดัชนี
    เป็นแหล่งอ้างอิงที่บ่งชี้ไปยังแหล่งข้อมูลที่มีเนื้อหาเต็มรูป เพราะรายละเอียดของดรรชนี
ประกอบด้วย รายการของชื่อ หัวเรื่อง มาเรียงลำดับอักษรเพื่อความสะดวกในการค้นข้อมูล ในดรรชนีเป็นตัวแทน
เนื้อหาสาระ ซึ่งเรียกว่าศัพท์ดรรชนี (index term) ปัจจุบันการจัดทำดรรชนีวารสาร และดรรชนีหนังสือพิมพ์มี
การรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์หรือให้บริการสืบค้นผ่านรายการสาธารณะ โดยวิธีออนไลน์
์หรือโอแพค (OPAC) การจัดทำดรรชนีสำหรับสืบค้นข้อมูลมี 3 ประเภท คือ
    1. ดรรชนีวารสาร (periodical index) จัดทำขึ้นเพื่อใช้สำหรับค้นคว้าหาความรู้
หรือเรื่องต่างๆ ที่มีการตีพิมพ์ในวารสาร นิตยสารฉบับล่วงหน้า โดยให้รายละเอียดว่าเรื่องหรือบทความที่ต้องการ
มีการตีพิมพ์ในวารสาร นิตยสาร ชื่ออะไร ฉบับใด ประจำเดือน ปี ใด และอยู่ในหน้าที่เท่าไหร่
    2. ดรรชนีหนังสือพิมพ์ (newspaper index) จัดทำขึ้นเพื่อใช้สำหรับค้นคว้าหา
บทความ หรือหัวข้อข่าวที่มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ต่างๆ โดยให้รายละเอียดว่าเรื่องหรือบทความที่ต้องการ
ค้นหามีรายละเอียดในหนังสือพิมพ์รายการใดบ้าง วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ และหน้าที่ปรากฎเนื้อหานั้น
    3. ดรรชนีหนังสือ (index of books) จัดทำขึ้นเพื่อใช้สำหรับค้นหาเรื่อง หรือ
บทความในหนังสือ ซึ่งอาจอยู่ส่วนท้ายของเล่มหนังสือ หรือจัดทำเป็นเล่มต่างหาก
    การใช้ดรรชนีหนังสือจะช่วยให้ทราบว่า เรื่องหรือหัวข้อที่ต้องการค้นหาจะสืบค้นได้จาก
หนังสือเล่มใดหน้าใด
    3.2 ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ เป็นทรัพยากรสารสนเทศเพื่อ
การอ้างอิงที่นำเสนอข้อเท็จจริง ลักษณะเดียวกับทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิงประเภทสิ่งพิมพ์ แต่นำเสนอ
สาระในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ ประกอบการสืบค้นประกอบด้วย
    1) ซีดีรอม เป็นการบันทึกสารสนเทศอ้างอิงลงในวัสดุที่มีลักษณะเป็นจานโพลี
คาร์บอเนต ซีดีรอม 1แผ่น สามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 250,000 หน้ากระดาษ และสามารถนำเสนอ
สารสนเทศในรูปแบบของมัลติมีเดีย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สารสนเทศที่บรรจุในซีดีรอม จึงอาจ
เป็นข้อมูลหนังสืออ้างอิงจำนวนหลายเล่ม ฐานข้อมูลสารสนเทศต่างๆ หรือข้อมูลที่เป็นเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ
อื่นๆ จุดเด่นของการสืบค้นสารสนเทศจากซีดีรอม คือ ใช้เวลาในการสืบค้นได้รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ด้านการสื่อสารรวมทั้งสามารถสืบค้นซ้ำ ๆ ได้ตามที่ต้องการ การสืบค้นสารสนเทศจากซีดีรอมต้องใช้กับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอ่านซีดีรอม
    2) ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิงทางอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งอ้างอิงที่ผู้ใช้
สามารถสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ได้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ลักษณะของ
สารสนเทศอาจเป็นบรรณานุกรม หรือเนื้อหาเต็ม ซึ่งอาจให้บริการโดยผู้ใช้เสียค่าใช้จ่ายตามอัตราที่กำหนด หรือ
เป็นสารสนเทศที่บริการแบบให้เปล่าไม่คิดค่าใช้จ่าย
    การนำเสนอเนื้อหาของทรัพยากรเพื่อการอ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดทำเหมือน
หนังสืออ้างอิง เช่น พจานานุกรม สารานุกรม หนังสือรายปี หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ คู่มือทางวิชาการ
อักขรานุกรม ชีวประวัติ นามานุกรม สิ่งพิมพ์รัฐบาล บรรณานุกรม หรือดรรชนี
     
4.1
  ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
  เพื่อการอ้างอิง
4.2
  ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
4.3
  การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
4.4
  การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ
    เพื่อการอ้างอิง
     
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 4