เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ
   
  การเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้ที่เป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือช่วย
ค้นที่เป็นสื่อหรืออุปกรณ์จากระบบค้นคืนสารสนเทศ เครื่องมือช่วยค้นจึงเป็นเสมือนสิ่งเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้
กับทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือช่วยค้นที่มีการผลิตขึ้นสำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ในการสืบค้นนั้นมีหลาย
ประเภททั้งที่อยู่ในรูปแบบสิ่งพิมพ์ และรายการข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผลลัพธ์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการสืบค้น
สารสนเทศด้วยเครื่องมือช่วยค้น อาจเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ เช่น รายละเอียดของ
หนังสือ บทความในวารสารหรือเนื้อหาในทรัพยากรสารสนเทศ เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องมือ
ช่วยค้นที่ใช้ในการสืบค้น
  ประเภทของเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ
  การผลิตเครื่องมือช่วยค้นสำหรับผู้ใช้ในการสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการสามารถจำแนกได้เป็น
  1.รายการข้อมูลบรรณานุกรมในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น บรรณานุกรม และ ดรรชนีวารสาร
  1.1 บรรณานุกรม เป็นบัญชีรายชื่อของทรัพยากรสารสนเทศ ที่นำมาเป็นเครื่องมือช่วยค้น
สำหรับค้นหาหัวข้อเรื่องที่ต้องการ โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับผู้แต่ง ผู้แปลหรือผู้รวบรวม ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์
สำนักพิมพ์ ปีพิมพ์ จำนวนหน้า ราคา จุดเข้าถึง หรือสถานที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศรายการนั้นๆ เป็นต้น
บางรายการอามีบรรณานิทัศน์ระบุขอบเขตเนื้อหาอย่างสั้นๆ ปัจจุบันบรรณานุกรมมีบทบาทสำคัญในการชี้นำ
ผู้ใช้ไปสู่ความรู้ที่มีปริมาณทรัพยากรสารสนเทศจำนวนมหาศาลเพราะผู้ใช้สามารถตรวจสอบข้อมูลรายละเอียด
ของรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่นำมาจัดเรียงตามลำดับอักษร โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของ
บรรณานุกรม
  1.2 ดรรชนีวารสาร เป็นเครื่องมือช่วยค้นบทความในวารสารที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
บทความที่พิมพ์ในวารสาร เช่น ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เลขหน้า เป็นต้น ดรรชนีวารสาร 1 รายการ
ให้รายละเอียดของบทความ 1 บท ดรรชนีวารสารมีการจัดทำหลายรูปแบบ เช่น สิ่งพิมพ์ดรรชนีวารสาร และ
ฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร
    1) สิ่งพิมพ์ดรรชนีวารสาร เป็นการจัดทำดรรชนีวารสารที่เป็นรูปเล่มสำหรับใช้เป็น
เครื่องมือช่วยค้นบทความวารสาร ซึ่งอาจเป็นวารสารชื่อใดชื่อหนึ่ง หรือกลุ่มวารสารในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
ดรรชนีวารสารประเภทนี้มีการจัดพิมพ์และเผยแพร่โดยหน่วยงานหรือสำนักพิมพ์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้นิยมจัดทำ
เนื่องจากมีค่ามีค่าใช้จ่ายสูง แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นฐานข้อมูลดรรชนีวารสารที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จาก
เว็บไซต์ของผู้ผลิตหรือผู้เผยแพร่ฐานข้อมูลหรือาจจัดทำในรูปฐานข้อมูลซีดีรอม
     
     
7.1
  ความสำคัญของการสืบค้นสารสนเทศ
7.2
แนวคิดในการสืบค้นสารสนเทศ
7.3
เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ
7.4
กลวิธีในการสืบค้นสารสนเทศ
7.5
  การสืบค้นสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 7