การสืบค้นสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์
   
  จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ส่งผลให้การจัดเก็บสารสนเทศที่มีการผลิตในปริมาณ
มากมาย ถูกปรับเปลี่ยนสภาพสารสนเทศให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่บันทึกเนื้อหาสาระลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อ
ประโยชน์ในการจัดเก็บและการสืบค้น ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้สะดวกและรวดเร็ว ด้วยวิธีการสืบค้น
ต่างๆ โดยเฉพาะการใช้คำสำคัญเป็นจุดเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ ซึ่งใช้เวลาไม่มากนัก หรือใช้วิธีการอื่นๆ
สืบค้น เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง สาระเขป เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการค้นคืนสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ สามารถ
สืบค้นได้ 2 วิธีคือ
  1.การสืบค้นแบบลำดับ (sequential search) เป็นวิธีการสืบค้นไปทีละส่วนของสารสนเทศ โดย
เรียงตามลำดับจากจุดเริ่มต้นของแฟ้มข้อมูล วิธีนี้เหมาะสำหรับการสืบค้นสารสนเทศที่มีสาระมากๆ หรือมีการ
รหัสสืบค้นหลายตอน หลายระเบียน
  2. การสืบค้นโดยใช้ดรรชนี (index search) เป็นวิธีการสืบค้นโดยใช้ดรรชนีที่มีแฟ้มดรรชนี
ประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นคำสำคัญและตำแหน่งที่บันทึกเนื้อหาสาระของสารสนเทศภายในแฟ้มข้อมูล การตั้งแฟ้ม
ดรรชนีจะจัดทำแยกจากแฟ้มข้อมูลหลักที่ช่วยให้การสืบค้นใช้เวลาน้อย
  การสืบค้นสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญสำหรับการศึกษาค้นคว้าในปัจจุบันประกอบด้วยการ
สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต และซีดีรอม ซึ่งมีกลวิธีในการค้นคืน ดังนี้
    1. การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (internet) เป็นการสืบค้นสารสนเทศที่มีความ
หลากหลายทั้ง รูปแบบการนำเสนอ ขอบเขตเนื้อหา และศาสตร์ต่างๆ ที่น่าสนใจไว้อย่างมากมาย บริการค้นคืน
สารสนเทศบน อินเตอร์เน็ต สามารถสืบค้นจากเวิลด์ไวด์เว็บ (word wide web : www) หรือเรียกชื่อสั้นๆ ว่าเว็บ
(web) ซึ่งเป็น แหล่งรวมสารสนเทศที่เป็นข้อความ ภาพ และสื่อประสมเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีการเชื่อมโยงหลายมิติ
(hyperlink)ในการส่งข้อมูลข่าวสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปที่หลากหลายมิติ (hyperlink) การสืบค้น
สารสนเทศบน อินเทอร์เน็ตมีข้อดีและข้อด้อยต่อการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
    ข้อดีของการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
    1. สามารถค้นคว้าสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง หลากหลาย และไว้พรมแดน
    2. สารสนเทศที่ได้จากการสืบค้นมีความทันสมัย เนื่องจากผู้จัดทำข้อมูลสามารถแก้ไขปรับปรุง
ได้ง่ายและทำได้ตลอดเวลา
    3. มีความสะดวกในการสืบค้นเพราะไม่มีข้อดีจำกัดด้านเวลาและสถานที่ ผู้สืบค้นสามารถทำ
การค้นคืนได้ตลอดเวลาในทุกสถานที่ (anytime anywhere)
    4. สามารถสืบค้นได้ง่ายและรวดเร็วโดยใช้โปรแกรมค้นหา ในการค้นคืน
    5. ประหยัดเวลาในการได้รับสารสนเทศเมื่อเทียบกับการส่งด้วยวิธีการอื่นๆ
    6. สามารถนำไปสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยนำสารสนเทศที่ได้มาจัดหมวดหมู่เป็นฐานข้อมูล
    7. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self directed learning) และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอด
ชีวิต (life long learning) จากการสืบค้นบนอินเทอร์เน็ตจึงเปรียบได้เป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  ข้อด้อยของการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
    1. สารสนเทศที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตมีความหลากหลาย ไร้พรมแดนทำให้ผู้สืบค้นที่ไม่มีทักษะ
การสืบค้นอาจเกิดปัญหาจากการสืบค้นสารสนเทศไม่ตรงกับความต้องการเป็นปริมาณมากๆ ทำให้เสียเวลาในการ
คัดกรอง
    2. การตรวจสอบรายการอ้างอิงสารสนเทศ ทำได้ลำบากหากมีการปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ
เพราะมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเอกสารใหม่ๆ ตลอดเวลา
    3. ความน่าเชื่อถือของสารสนเทศที่ได้ ต้องมีการตรวจสอบแหล่งที่มาว่ามีความน่าเชื่อถือใน
ระดับใด สำหรับการนำไปอ้างอิง
    จากการที่เวิลด์ไวด์เว็บ มี เว็บเพจ (web page) ที่เก็บสะสมสารสนเทศอย่างมากมายและมี
การขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกวันแต่มักถูกจัดเก็บรวมไว้อย่างไม่เป็นระเบียบ ทำให้การสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการเป็น
ไปด้วยความยากลำบาก การกำหนดกลยุทธ์ในการค้นหาและใช้ความรู้ด้านเครื่องมือช่วยค้นมาใช้ในการสืบค้น
สารสนเทศย่อมทำให้ผู้ใช้ได้สารสนเทศกับความต้องการ
    หลักการค้นคืนสารสนเทศบนอินทอร์เน็ต ในการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
ผู้สืบคนควรปฏิบัติ ดังนี้
    1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสืบค้น โดยตั้งวัตถุประสงค์ของการสืบค้นให้ชัดเจนว่า
ต้องการ สารสนเทศเรื่องอะไร เพื่อให้การกำหนดขอบเขตของแหล่งสารสนเทศที่จะสืบค้นแคบลง รวมทั้งระยะเวลา
ของ สารสนเทศที่ต้องการ
    2. เลือกประเภทของสารสนเทศที่สืบค้น สารสนเทศที่มีบริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลาย
รูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว หรือมัลติมีเดีย ซึ่งผู้สืบค้นควรเลือกประเภทของสารสนเทศให้ตรง
กับลักษณะการนำไปใช้ แต่การสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดคือ การสืบค้นสารสนเทศประเภทข้อความ
    3. เลือกใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมค้นหา ในการสืบค้นสารสนเทศนิยมใช้โปรแกรมค้นดู
เว็บ เช่น Internet Explorer Opera หรือ Netscape แล้วเรียกใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บประกอบกับการใช้
โปรแกรมค้นหา (search engine) ซึ่งมีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ตในการสืบค้นประกอบด้วย
    4. เลือกใช้คำค้น เช่น คำสำคัญ (keyword) หัวเรื่อง (subject heading) ที่เกี่ยวข้องกับ
เนื้อหาที่ต้องการ และกำหนดขอบเขตของคำค้นโดยใช้ตัวเชื่อมบูลีน เช่น AND OR NOT NEAR BEFORE
เป็นต้น หรือการค้นด้วยวลี (phrase searching) การตัดคำหรือการใช้คำเหมือน
    5. ประเมินความน่าเชื่อถือของสารสนเทศ หลังการสืบค้นสารสนเทศที่ได้จากการค้นคืน
ผู้สืบค้นควรประเมินความน่าเชื่อถือของสารสนเทศดังกล่าวว่าตรงกับเรื่องที่ต้องการหรือไม่ เนื้อหาที่ได้ไม่ขัดต่อ
กฎหมาย ศีลธรรมหรือจริยธรรม มีการระบุชื่อผู้เขียนบทความ หรือ ผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์ มีรายการอ้างอิงหรือระบุ
ที่มาของข้อมูลปรากฎบนเว็บไซต์ มีการระบุวันเวลาในการเผยแพร่หรือการปรับปรุงข้อมูล
     
     
7.1
  ความสำคัญของการสืบค้นสารสนเทศ
7.2
แนวคิดในการสืบค้นสารสนเทศ
7.3
7.4
กลวิธีในการสืบค้นสารสนเทศ
7.5
  การสืบค้นสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 7