กลวิธีในการสืบค้นสารสนเทศ
   
  การสืบค้นสารสนเทศ ผู้ใช้ควรมีความรู้และทักษะในการสืบค้นประเภทต่างๆ เพื่อ นำไปเลือกใช้ให้
เหมาะสม โดยทั่วไปวิธีการสืบค้น ประกอบด้วย
  1.การสืบค้นแบบพื้นฐาน (basic search) เป็นการสืบค้นแบบเรียงตามลำดับตัวอักษรแรกของ
คำค้นที่นิยมวิธีการหนึ่ง โดยใช้รายการสำคัญต่างๆ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หัวเรื่อง ชื่อชุด เลขเรียกหนังสือหรือ
รหัสประจำตัวของทรัพยากรสารสนเทศ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ หรือเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร
  1.1 การสืบค้นด้วยชื่อเรื่อง (title, title alphabetical, title starting with) เป็นวิธี
การสืบค้นโดยใช้ชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อวารสาร ชื่อหนังสือพิมพ์ ชื่อเทปโทรทัศน์
ชื่อซีดีรอม เป็นต้น
  1.2 การสืบค้นด้วยชื่อผู้แต่ง (author, author alphabetical, corporate names)
เป็นวิธีการสืบค้นจากชื่อผู้แต่ง บรรณาธิการ ผู้แปล ผู้ผลิตวัสดุ หรือผู้รับผิดชอบในการตัดทำแนวทางในการสืบค้น
  1.3 การสืบค้นด้วยหัวเรื่อง (subject, subject alphabetical, subject heading)
เป็นวิธีการสืบค้นโดยใช้คำ วลี หรือชื่อบุคคล ที่ใช้เป็นหัวเรื่องแทนเนื้อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ การสืบค้น
ด้วยวิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง หรือชื่อเรื่องแต่ทราบสาระสำคัญของเรื่อง ข้อจำกัดของการสืบค้นด้วย
หัวเรื่อง คือ การกำหนดคำ หรือวลี ที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ใช้กับหัวเรื่องที่กำหนดขึ้นใช้
  1.4 การสืบค้นด้วยชื่อชุด (series alphabetical) เป็นวิธีการสืบค้นโดยใช้ชื่อชุดของ
หนังสือ หรือชื่อชุดทรัพยากรสารสนเทศเป็นรายการสืบค้นที่เหมาะสมสำหรับการสืบค้นรายการทุกรายการที่ตีพิมพ์
เผยแพร่ในชุดนั้น โดยทั่วไปชื่อชุดมักปรากฏที่ปกนอก ปกใน หรือหน้าลิขสิทธิ์ของหนังสือ
  1.5 การสืบค้นด้วยเลขเรียกหนังสือ (call number) เป็นวิธีการสืบค้นโดยใช้เลขเรียก
หนังสือ หรือรหัสทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ เป็นจุดเข้าถึง
  1.6 การสืบค้นด้วยเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) และเลขมาตรฐานสากล
ประจำวารสาร (ISSN) เป็นวิธีการสืบค้นโดยใช้เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือหรือเลขมาตรฐานสากล
ประจำวารสาร ในการตรวจสอบรายการทางบรรณานุกรมเพื่อสั่งซื้อกับสำนักพิมพ์อาจใส่เครื่องหมาย -
หรือไม่ใส่ก็ได้
  2. การสืบค้นด้วยคำสำคัญ (keyword search) เป็นการสืบค้นด้วยการใช้คำสำคัญซึ่งจัดอยู่ใน
คำศัพท์แบบไม่ควบคุม (uncontrolled vocabularies) หรือเรียกอีกชื่อว่าเป็นภาษาธรรมชาติ (natural
language) ที่ผู้สืบค้นสามารถกำหนดคำค้นใดๆ ในการสืบค้นได้อย่างหลากหลายไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ ในการ
กำหนดคำเหมือนหัวเรื่อง ดังนั้น การใช้คำสำคัญในการสืบค้น ผู้ใช้ควรมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสืบค้น
    2.1 การใช้วิธีการตัดคำ (truncation) เป็นการสืบค้นโดยละตัวอักษรบางตัวของคำศัพท์
และแทนที่ด้วยเครื่องหมายดอกจัน (asterisk) หรือเครื่องหมายปรัศนี (question mark) ต่อท้ายคำ วิธีการนี้
จะใช้ในกรณีที่ผู้สืบค้นไม่สามารถสะกดคำได้ถูกต้องหรือครบถ้วน การใช้วิธีการนี้ ไม่ควรตัดคำที่สั้นจนเกินไป
เพราะจะทำให้ได้ผลการสืบค้นไม่ตรงกับความต้องการ
    2.2 การใช้เครื่องหมายอัญประกาศ (quatation marks) เป็นการสืบค้นโดยใช้
เครื่องหมายอัญประกาศ "...." กำกับคำสำคัญที่มีมากกว่า 1 คำ สำหรับใช้กำหนดขอบเขตของเรื่องที่ต้องการ
สืบค้นให้แคบลงหรือเฉพาะเจาะจง
    2.3 การใช้ตรรกะบูลีน (boolean logic) เป็นการสืบค้นขั้นสูงที่ใช้การเชื่อมคำเช่น AND
OR NOT เชื่อมระหว่างคำสำคัญ สำหรับใช้ค้นสารสนเทศที่มีคำสำคัญมากกว่า 1 ชุด หรือมีความต้องการในการ
ค้นคืนมากกว่า 1 เงื่อนไข โดยมีความแตกต่างในการใช้สืบค้นดังนี้
   
  AND ใช้เชื่อมระหว่างคำค้น เพื่อให้ได้เรื่องที่แคบลง และตรงกับเรื่องที่ต้องการมากขึ้น
  OR ใช้เชื่อมระหว่างคำค้นเพื่อให้ได้เรื่องที่มีขอบเขตกว้างมากขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับ
    การใช้ AND ในการสืบค้น
  NOT ใช้หน้าคำค้นที่ไม่ต้องการเป็นการสืบค้น เพื่อให้ได้สารสนเทศเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
     
     
7.1
  ความสำคัญของการสืบค้นสารสนเทศ
7.2
แนวคิดในการสืบค้นสารสนเทศ
7.3
7.4
กลวิธีในการสืบค้นสารสนเทศ
7.5
  การสืบค้นสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์
     
     
     
     
หน้าหลักบทที่ 7