|
|
|
ประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้า |
|
|
|
|
|
|
1. ทำให้รู้จักการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง การมอบหมายให้นักศึกษารู้จักการทำรายงาน หรืองาน |
เขียนทางวิชาการอื่นๆ ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า จัดเป็นกระบวนการฝึกฝนให้รู้จักค้นคว้าหาข้อมูลได้ด้วย |
ตัวเอง เพื่อเป็นทักษะพื้นฐานในการแสวงหาสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ได้กับชีวิตประจำวันต่อไป |
ละหัวข้อเป็นช่วงเวลาสั้น ซึ่งต้องเสร็จสิ้นภายในภาคเรียนที่มีการเรียนการสอนในรายวิชานั้นๆ |
|
2. ทำให้รู้จักใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล ด้วยการกำหนดขั้นตอนในการแสวงหาสารสนเทศ |
ประกอบการเขียนงานอย่างเป็นระบบ และรู้จักใช้เหตุผลในการคัดเลือกข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบการเขียนผลงาน |
อันเป็นการสร้างทักษะในการแก้ไขปัญหาต่างๆ |
|
3. ทำให้รู้จักการถ่ายทอดความรู้ให้ปรากฎเป็นลักษณ์อักษร การนำเสนอผลงาน จัดเป็นการ |
เพิ่มพูนทักษะในการเขียนงานวิชาการ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการอื่นๆ ต่อไป |
|
4. ทำให้เกิดความรู้ลุ่มลึก นอกเหนือจากการฟังคำบรรยายในห้องเรียนเพราะนักศึกษา จะมีโอกาส |
ในการศึกษาความรู้ที่ลึกซึ้งในเรื่องที่ทำการศึกษาค้นคว้าเนื่องจากมีการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ อย่าง |
กว้างขวางและครอบคลุม |
|
5. ทำให้เกิดพัฒนาทางวิชาการในสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่เป็น |
ประเด็นใหม่ๆ ซึ่งอาจมีการค้นพบหลักการ หรือแนวคิดที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการและยังไม่มีการกล่าวถึง |
มาก่อน |
|
6. ทำให้เกิดความรู้หรือทฤษฎีใหม่ๆ อันเป็นผลจากการแสวงหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง |
อย่างเป็นระบบ มีเหตุผลและเที่ยงตรง ความรู้ที่ค้นพบเป็นข้อมูลพื้นฐานที่พัฒนาเป็นทฤษฎีใหม่ๆ ทางวิชาการ |
ได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะผลการทดลอง หรือผลการวิจัย |
|
7. ทำให้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลนักศึกษาว่า |
มีความรู้ในสาขาวิชานั้นระดับใด หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่กำลังประสบอยู่ |
|
|
|
|
|
จากประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่ได้กล่าวมาทำให้การเขียนผลงานวิชาการได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง |
ของระบบการศึกษาในปัจจุบัน |
|
|
|
|